
© 2017 Copyright - Haijai.com
ภัยเงียบจากโรคลมชัก หากไม่ป้องกัน อันตรายถึงชีวิต
โรคลมชักพบได้ในทุกเพศทุกวัย ในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยโรคลมชักราว 6-7 แสนคน หรือพบเป็นโรคลมชัก 1 คนในทุก 100 คน ทั้งนี้เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าภายในสมอง ทำให้ลัดวงจรและเกิดอาการชักตามมา โดยมีความหลากหลายทางอาการมาก อยู่ที่ภาวะผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมองไปผิดปกติในส่วนใด และรุนแรงแค่ไหน
บางอาการสังเกตยากมาก ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคลมชัก เช่น ภาวะเหม่อลอย ภาวะวูบไป ภาวะเบลอจำอะไรไม่ได้ชั่วขณะ ผู้ป่วยที่มีอาการวูบด้วย จะค่อนข้างชัดเจน แต่บางคนที่ไม่มีอาการก็จะไม่คิดว่าตัวเองเป็นโรคลมชัก
ซึ่งการมีอาการเหล่านี้ซ้ำๆ ค่อนข้างอันตราย หรือผู้ป่วยลมชักหลายคนมาด้วยอาการแปลกๆ เช่น เห็นภาพหมุน ภาพเคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติ บางคนเห็นภาพหลอน หูแว่ว และหลายคนมาด้วยอาการทางจิตประสาท ต่อเมื่อมีการตรวจคลื่นไฟฟ้า จึงทราบว่ามีอาการของโรคลมชัก แม้จะไม่มีอาการเกร็ง ชัก กระตุก ก็ควรมาพบแพทย์ เพราะการซักอาการ ทั้งประวัติรวมทั้งการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) จะช่วยบอกได้ว่าเป็นภาวะของโรคลมชักหรือไม่
พ.อ. (พิเศษ) ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านอายุรกรรมสมองและระบบประสาท
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
(Some images used under license from Shutterstock.com.)