© 2017 Copyright - Haijai.com
8 ข้อดีของการผ่าตัดคลอด
หากลองคลอดธรรมชาติแล้วคลอดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นปากมดลูกเปิดช้า ศีรษะเด็กไม่ได้สัดส่วนกับอุ้งเชิงกราน เชิงกรานแคบ เบ่งคลอดแล้วไม่คลอด คลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด เช่น ใช้คีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศแล้วไม่สำเร็จ
1.ตรวจพบว่าทารกในครรภ์มีภาวะขาดออกซิเจน
2.มดลูกมีแผลจากการผ่าตัดหรือเคยผ่าตัดคลอดมาก่อน
3.ทารกเป็นเด็กท่าก้น ท่าขวาง ท่าเงยหน้า หรือท่าผิดปกติอื่นๆ
4.มีการตกเลือดก่อนคลอดจากภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
5.มีการอุดตันช่องทางคลอด เช่น มีเนื้องอกปากมดลูก หรือเนื้องอกมดลูกขนาดใหญ่
6.มีไวรัสเริมที่ปากช่องคลอด ซึ่งอาจติดสู่ทารกที่คลอดทางช่องคลอดได้
7.ตั้งครรภ์แฝด ทารกในครรภ์ไม่ได้อยู่ในท่าศีรษะตามปกติ ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายจากการคลอดธรรมชาติ
8.ภาวะใดๆ ก็ตามที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าผ่าตัดคลอดจะเป็นประโยชน์กว่าการคลอดตามธรรมชาติ เช่น มีอักเสบติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ ทารกคลอดก่อนกำหนดมากๆ มารดามีอาการครรภ์เป็นพิษ มารดาสติปัญญาบกพร่อง หรือเป็นโรคจิตไม่สามารถให้ความร่วมมือในการคลอดธรรมชาติได้ ฯลฯ
แม้องค์การอนามัยโลกจะแนะนำ อัตราผ่าตัดคลอดควรอยู่ที่ร้อยละ 20 แต่ความเป็นจริงของสังคมไทย อัตราผ่าตัดคลอดในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 40-50 เหตุผลคือ มารดาปัจจุบันตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก มีการผ่าคัดคลอดตามความต้องการของมารดา (Maternal Request) ฯลฯ
คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก คือ หากมารดาต้องการผ่าตัดคลอดตามความต้องการ แพทย์ควรอธิบายถึงข้อดีของการคลอดธรรมชาติ หากยืนยันอยากผ่าตัดคลอดถือว่าเป็นสิทธิ์ของมารดา แต่ควรผ่าตัดคลอดที่อายุครรภ์ไม่ต่ำกว่า 39 สัปดาห์ เพราะเด็กทารกที่ผ่าคลอดก่อนอายุครรภ์ 39 สัปดาห์มักมีปัญหาของระบบหายใจสูง
พญ.ธัญวลี ศรีสุโข
สูติ-นรีแพทย์
โรงพยาบาลประจำจังหวัดพิจิตร
(Some images used under license from Shutterstock.com.)