Haijai.com


โรคไต ป้องกันได้แค่ดูแลการเลือกอาหาร


 
เปิดอ่าน 8620

โรคไต ป้องกันได้แค่ดูแลการเลือกอาหาร

 

 

โรคไต เป็น 1 ในโรคเรื้อรัง ที่เริ่มพบผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นในประเทศไทย และมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ คนไข้ที่มีอาการไตวายในระยะสุดท้าย หรือในระยะที่ 5 พบเพิ่มขึ้น 15-20% ทุกปี ปัจจุบันมีคนไข้ที่ต้องฟอกเลือด และล้างไตทางช่องท้องทั่วประเทสอยู่ที่ประมาณ 50,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่อยู่ที่ประมาณ 40,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย และสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไตเพิ่มมากขึ้น คือ ประชาชนยังขาดความรู้ ในการดูแลตัวเอง

 

 

ทำความเข้าใจ ไต ของเรา

 

ไต เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย หน้าที่ของไตหลักๆ คือ

 

1.ทำหน้าที่ในการขับของเสียที่เกิดจากการรับประทานอาหาร ออกจากร่างกาย เช่น ยูเรีย ซึ่งเป็นสารส่วนเกินที่เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทโปรตีน โดยขับออกมากับปัสสาวะ

 

 

2.ทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณโซเดียมให้พอเหมาะ ถึงแม้ว่าโซเดียมเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกาย ที่อยู่ในเลือด ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ แต่การรับประทานควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมน้อยไปก็ไม่ดี สูญเสียโซเดียมมากไปก็ไม่ดี หากสูญเสียโซเดียมมากเกินไป จะทำให้ความดันเลือดตก และถ้ามีปริมาณโซเดียมน้อยไป (เช่น เสียเหงื่อมากๆ) จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง รุนแรงถึงขั้นเป็นตะคริว และอาเจียนได้ โดยปกติแล้ว เราได้รับโซเดียมจากอาหารที่เรารับประทานกันทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพราะอาหารเหล่านั้นมีส่วนผสมของเกลือ, น้ำปลา, ซีอิ้วขาว, ซอสปรุงรส อยู่ด้วยแทบทั้งสิ้น โซเดียมมีข้อดี คือ ช่วยถนอมอาหารให้อยู่ได้นานๆ อาทิ เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม เนื้อแดดเดียว เป็นต้น

 

 

3.ไตมีหน้าที่สำคัญในการสร้างฮอร์โมนเม็ดเลือดแดง ดังนั้น คนที่เป็นโรคไต หรือ ไตวาย ก็จะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเม็ดเลือดแดงได้ เม็ดเลือดแดงก็จะน้อยลง ทำให้ผิวพรรณดูซีดเซียว มีภาวะโลหิตจาง ผิวแห้ง ผมร่วง มีอาการบวม เป็นต้น

 

 

4.ไตยังทำหน้าที่ในการควบคุมความดันโลหิต ควบคุมปริมาณเกลือที่เข้าสู่ร่างกายให้พอเหมาะ ถ้าไตมีอาการผิดปกติ ปริมาณเกลือก็จะสูงหรือคั่ง ก็จะทำให้เกิดความดันโลหิต และมักจะเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต

 

 

ดูแลอาหารปัจจัยสำคัญห่างไกลโรคไต

 

ปัจจุบันอาหารทุกอย่างมีส่วนผสมของเกลือ เช่น พวกอาหารฝรั่ง อาหารไทยก็ใส่เยอะ แต่ของเราไม่ได้รับประทานในรูปของเกลือเพียงอย่างเดียว เราจะมีน้ำปลา (น้ำที่ได้จากการนำเอาปลามาหมักกับเกลือ) ซีอิ้วขาว ซอสปรุงรส เพราะฉะนั้นถ้ารับประทานเค็มมากๆ ไตก็จะทำงานหนัก เพื่อทำการขับเกลือส่วนเกินออกไป เมื่อไตทำงานหนักไปสักระยะหนึ่ง จะมีอาการไตเสื่อมและไตวายตามมา

 

 

บางคนรับประทานสมุนไพร หรืออาหารเสริมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพรจีนในหลายๆตัว หรือสมุนไพรไทยบางชนิด ยกตัวอย่างเช่น ไคร้เครือ ที่ปัจจุบันองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาประกาศระงับใช้ เพราะมีฤทธิ์ที่มีพิษต่อไต ถ้ารับประทานเข้าไปนานๆ จะทำให้เกิดอาการไตวาย รวมไปถึงยาฝรั่งเช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนก เมฟินามิคแอซิด ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น อาการปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ แก้ปวดข้อ แก้เส้นเอ็นอักเสบ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่ายาเหล่านี้ ต้องรับประทานหลังอาหารทันที เพราะไม่อย่างนั้น ยาจะกัดกระเพาะอีกทั้งเป็นพิษต่อไตได้ หากรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 1 สัปดาห์ และสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเป็นโรคไต ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 3 วัน

 

 

สัญญาณเตือน เสี่ยงเป็นโรคไต

 

1.ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะเปลี่ยนสี มีสีแดง สีชา มีสีขุ่น เพราะมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ หรือปัสสาวะมีฟองมากกว่าปกติ

 

2.มีอาการบวม เช่น หน้าบวม เท้าบวม ตาบวม กดผิวหนังแล้วบุ๋มไม่เด้งตัวขึ้นมา

 

 

3.ผมร่วง ผิวแห้ง หรือเกิดภาวะโลหิตจาง โดยไม่ทราบสาเหตุ

 

 

4.มีอาการปวดที่เอว โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคนิ่วในไตอยู่แล้ว จะเจอบ่อย จะมีอาการปวดบิด ปัสสาวะเปลี่ยนสี มีไข้ และมีการติดเชื้อร่วมด้วย

 

 

ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

 

1.คนที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว เช่น คนที่เป็นเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง

 

 

2.คนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เพราะไตจะเริ่มเสื่อมตามวัย

 

 

3.คนที่ทานยาประเภทยาสมุนไพรเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น สมุนไพรจีน สมุนไพรไทย (บางชนิด) ยาฝรั่ง ถ้าทานต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตด้วย

 

 

4.คนที่มีประวัติญาติ หรือ พี่น้อง เป็นโรคไตมาก่อน

 

 

5.คนที่เป็นโรคแพ้ภูมิต้านทานตัวเอง หรือโรคเอส แอล อี

 

 

6.คนที่เป็นโรคเก๊าท์ เนื่องมาจากกรดยูริกจะไปตกตะกอนที่ไต ทำให้เกิดอาการไตเสื่อมหรือไตวายได้ คนที่เป็นโรคเก๊าท์ ห้ามรับประทานสัตว์ปีก ยอดผัก เพราะมีกรดยูริกอยู่ในปริมาณสูง กรดพวกนี้จะไปตกตะกอนที่ข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หากตกตะกอนที่ไต ก็จะทำให้ไตอักเสบ

 

 

ไลฟ์สไตล์ที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคไต

 

 คนที่ไม่ออกกำลังกาย

 

 

 คนที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน

 

 

 คนที่มีไขมันในเลือดสูง

 

 

 คนที่ดื่มน้ำน้อย เพราะการดื่มน้ำน้อยจะทำให้สารต่างๆ ในปัสสาวะเข้มข้นขึ้น เช่น แคลเซียม ทำให้ตกตะกอนเป็นนิ่ว เกิดไตอักเสบ ไตเสื่อม และไตวายได้

 

 

 คนที่มีความเครียดเป็นประจำ ส่วนใหญ่ก็มีโอกาสที่จะเป็นความดันโลหิตสง หากทิ้งไว้นานๆ ไตก็สามารถเสื่อมได้ เพราะความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้ไตทำงานหนัก

 

 

 รับประทานอาหารเค็มเป็นประจำ หรืออาหารที่มีความมันมากเกินไป

 

 

 การรับประทานแต่เนื้อสัตว์มากไป เพราะจะทำให้ค่าความเป็นกรดของปัสสาวะมากขึ้น เมื่อเป็นกรดมากๆ ทำให้มีโอกาสเป็นนิ่วชนิดกรดยูริกสูง

 

 

 ในส่วนของวิตามินเสริม วิตามินที่ควรระวังในการรับประทานอย่างต่อเนื่อง คือ วิตามินซี เพราะถ้าทานมากเกินขนาด จะทำให้ตกตะกอนเป็นนิ่วในไตได้

 

 

การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มเป็นสิ่งดี หากไม่อยากเป็นโรคไต ควรดูแลตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ และสำหรับคนที่มีความเสี่ยง การพบแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ ควรจะมาพบแพทย์ปีละ 1 ครั้ง เพื่อทำการตรวจคัดกรอง ดูว่าเป็นโรคไตหรือมีความผิดปกติใดๆ หรือไม่ ปีนี้ตรวจอาจจะยังไม่เป็น แต่ปีหน้าอาจจะเป็นก็ได้

 

 

5 ระยะของโรคไต

 

 ระยะที่ 1-2 คือ ระยะเริ่มต้น

 

 

 ระยะที่ 3 คือ ระยะไตเสื่อมปานกลาง

 

 

 ระยะที่ 4 คือ ไตเสื่อมมาก (เป็นมาก)

 

 

 ระยะที่ 5 คือ ระยะสุดท้ายที่เรียกว่า ไตวาย

 

 

ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ

ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

โรงพยาบาลรามาธิบดี

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความน่ารู้ romrawin รมย์รวินท์ ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex