Haijai.com


โรคภูมิแพ้อากาศในเด็ก


 
เปิดอ่าน 4430

โรคภูมิแพ้อากาศ

 

 

ฮัด..ด ชิ้ว..ว... เอ...เจ้าจอมยุ่งเป็นหวัดตั้งนานแล้วทำไมยังไม่หายอีกน๊า??? หากเจ้าตัวเล็กของคุณมีอาการน้ำมูกไหลเรื้อรัง เป็นได้ทุกฤดูกาล ทั้งร้อน ฝน หนาว ไม่เค๊ย... ไม่เคยห่างหายจากน้ำมูกไหลซักที แบบนี้ให้คุณเปลี่ยนความคิดใหม่นะคะ เพราะอาการที่เป็นอาจไม่ใช่แค่หวัดธรรมดาซะแล้ว แต่เจ้าตัวเล็กอาจเป็น โรคภูมิแพ้อากาศ ก็ได้ค่ะ

 

 

ก่อนอื่นเรามาทำเข้าใจกับโรคภูมิแพ้อากาศกันก่อนค่ะ โรคภูมิแพ้อากาศ หรือโรคเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) มักพบบ่อยในเด็กอายุ 5-15 ปี และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ค่ะ

 

 

โรคภูมิแพ้อากาศกับหวัด อาการแตกต่างกันอย่างไร

 

อาการของโรคภูมิแพ้อากาศ

อาการของโรคหวัด

มีอาการคัดจมูก หรือมีน้ำมูกใสๆ อยู่เรื่อยๆ เป็นมากในช่วงเช้า ช่วงบ่ายจะดีขึ้น

จาม ไอมากเวลากลางดึก

สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกฤดูกาล

มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกไหล บางครั้งอาจมีสีเหลือง เขียว

จาม ไอ

หายภายใน 1-2 สัปดาห์

เป็นบ่อยในช่วงหน้าหนาว หน้าฝน หรือช่วงที่มีอากาศเย็น

 

 

โรคภูมิแพ้อากาศมีสาเหตุจากอะไร

 

สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้อากาศในเด็ก ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง ตา หูและจมูก ซึ่งมีอยู่รอบๆ ตัว มีดังนี้ค่ะ

 

 ไรฝุ่นที่อยู่ในที่นอน หมอน และตุ๊กตา

 

 

 ซากแมลงสาบ ขนสัตว์เลี้ยง เช่น หมา แมว

 

 

 เกสรดอกไม้, หญ้า

 

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยเป็นโรคภูมิแพ้อากาศ

 

 คุณพ่อคุณแม่ควรหาสารก่อภูมิแพ้ที่ลูกแพ้ให้เจอก่อน โดยอาจจะจดบันทึกหรือสังเกตกิจกรรมที่ลูกทำอยู่ขณะเกิดอาการแพ้ขึ้น สังเกตสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวลูก เป็นต้น และพยายามพาลูกหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้น

 

 

 จัดห้องนอน ห้องนั่งเล่นของลูกให้โปร่ง โล่ง สบาย มีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีแสงแดดส่องถึง

 

 

 เลือกใช้ที่นอน หมอนที่ผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ หลีกเลี่ยงเครื่องนอน ตุ๊กตาที่ทำจากนุ่นหรือสำลี เพราะเป็นตัวสะสมไรฝุ่นชั้นเยี่ยม ในปัจจุบันมีเครื่องนอนที่สามารถป้องกันไรฝุ่นจำหน่าย แต่ราคาค่อนข้างแพงให้เลือกใช้ตามสะดวกใจและสะดวกกระเป๋าค่ะ

 

 

 หมั่นซักที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ทุกๆ สัปดาห์ และซักผ้าม่านทุกๆ เดือน

 

 

 หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปในที่ที่มีควันบุหรี่ หรือมลพิษสูง

 

 

 และอย่าลืม ส่งเสริมให้ลูกน้อยออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอนะคะ

 

 

แพทย์หญิงกอบกุล วัฒนะวงษ์

กุมารแพทย์ สาขาระบบทางเดินหายใจ

โรงพยาบาล BNH

(Some images used under license from Shutterstock.com.)