Haijai.com


บริจาคอุจจาระรักษาอาการท้องเสียเรื้อรัง


 
เปิดอ่าน 1946

บริจาคอุจจาระ

 

 

ผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาท้องเสียเรื้อรังจนสุขภาพทรุดโทรม ทั้งที่กินยาก็แล้ว แต่ก็ไม่หายสักที วันนี้เรามีวิธีใหม่ที่ทดลองแล้ว พบว่าได้ผลมานำเสนอ ด้วยการใช้อุจจาระในการรักษา

 

 

ผู้ที่เป็นโรคท้องเสียส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทุกชนิด รวมถึงแบคทีเรียที่ชื่อว่า Clostridium Difficile ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียนั่นเอง แต่เมื่อใดที่ร่างกายได้รับยาปฏิชีวนะนานมากเกินไป จากที่ตัวยาจะเข้าไปช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ไม่ดีเพียงอย่างเดียว ก็อาจไปยับยั้งและทำลายแบคทีเรียที่ดีในร่างกายเข้าไปด้วย ซึ่งกลายเป็นช่วยเร่งการเจริญเติบโตให้กับ Clostridium difficile เข้าไปอีก จึงส่งผลให้ร่งกายมีสุขภาพที่แย่ลง แม้แต่ยาปฏิชีวนะก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้แล้ว ซึ่งต้องใช้วิธีอื่นที่ช่วยในการรักษานั้นก็คือ “การปลูกถ่ายอุจจาระ”

 

 

จากการทดลองพบว่า วิธีการรักษาอาการท้องเสียเรื้อรัง โดยการปลูกถ่ายอุจจาระนั้น ได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะในอุจจาระของผู้ที่มีสุขภาพที่ดีจะมีจุลินทรีย์ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของแบคทีเรียตัวดีที่เสียหายจากการใช้ยาปฏิชีวนะได้ โดยจะนำจุลินทรีย์ที่ได้จากอุจจาระเข้าไปในลำไส้ของผู้ป่วยอย่างรวดเร็วและไม่เจ็บปวด แต่การปลูกถ่ายอุจจาระนั้นทำได้ยากมาก เนื่องจากยังขาดแคลนผู้บริจาคอุจจาระ ด้วยเหตุนี้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Open Biome จึงสร้างธนาคารเก็บอุจจาระเป็นเจ้าแรก โดยมีการแช่แข็งอุจจาระกว่า 2,000 ชุด ไว้ที่โรงพยาบาล 185 แห่งทั่วอเมริกา ที่สำคัญยังช่วยสร้างรายได้ให้แก่ผู้บริจาคอุจจาระอีกด้วย โดยหากบริจาคเป็นประจำจะสร้างรายได้กว่า 420,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว เห็นแบบนี้แล้วคงจะอยากหันมาบริจาคอุจจาระกันใหญ่ แต่ใช่ว่าจะบริจาคกันง่ายๆ นะ เพราะเมื่อปีที่แล้ว อุจจาระที่สามารถนำมาใช้ได้มีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

 

 

ส่วนขั้นตอนของผู้ที่สนใจจะบริจาคอุจจาระนั่นก็คือ ต้องผ่านการตรวจว่า ไม่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ B และ C HIV ปรสิต และซิฟิลิส รวมทั้งต้องได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ที่สำคัญต้องไม่มีอาการท้องร่วงเรื้อรัง ปัญหาทางเดินระบบอาหาร มะเร็ง และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใดๆ เมื่อผ่านการตรวจแล้วพบว่ามีสุขภาพที่ดี ผู้บริจาคจะต้องเก็บอุจจาระประมาณ 1 กำมือ ในการอุจจาระตอนเช้าและปั่นรวมกับน้ำเกลือก จากนั้นให้กรองเศษที่เหลือออก แล้วเก็บใส่ภาชนะพลาสติกไว้ในที่เย็น ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 6 ชั่วโมง ในการสร้างจุลินทรีย์ แล้วจึงนำมาบริจาคได้

(Some images used under license from Shutterstock.com.)