© 2017 Copyright - Haijai.com
อาการชักที่ไม่ธรรมดา
เมื่อลูกน้อยมีอาการชักกระตุก คุณพ่อคุณแม่อาจจะตกใจจนทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้ว่าอาการชักแบบนี้เกิดจากสาเหตุอะไร พลอยทำให้ลืมวิธีปฏิบัติที่ควรทำ หรือคุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะยังไม่เคยรู้ เกร็ดความรู้และวิธีเตรียมรับมือกับอาการชักของลูกน้อยมาฝากค่ะ
เริ่มต้นที่นี่
1.เจ้าตัวเล็กมีอาการไข้หรือไม่
• มีไข้สูงเกิน 39 องศา
• อุณหภูมิปกติ 37 องศา
2.เจ้าตัวเล็กมีอาการชักแบบใด
• ชักไปทั้งตัว หรือชักเฉพาะแขนขาซีกเดียว
• เกิดการเกร็งชักกระตุกของกล้ามเนื้อ แขนขาหรือใบหน้า
3.ระยะเวลาในการชักเป็นแบบใด
• ชักนานไม่เกิน 15 นาทีหรือมากกว่า
• ชักนานประมาณ 3-4 นาที
4.เจ้าตัวเล็กมีอาการแบบนี้หรือไม่
• ไม่ทานข้าว เซื่องซึม แขนขากระตุก
• ปวดศีรษะ อาเจียนหลายครั้ง
• ชักซ้ำหลายๆ ครั้ง
5.ความเป็นไปได้
• ชักจากไข้สูง
• การติดเชื้อในระบบประสาท
• โรคลมชัก
6.ข้อควรปฏิบัติ
หลังจากลูกหยุดชัก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของอาการชักและทำการรักษาทันที
ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการชักจากไข้สูง
อาการชักจากไข้สูง คือภาวะชักที่เกิดจากการมีไข้สูง มักพบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือน-5 ปี โดยพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง อาการชักมีหลายรูปแบบส่วนใหญ่ที่พบคือ จะเป็นการชักแบบชักเกร็ง หรือกระตุกระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่นาที แต่บางรายจะชักเฉพาะแขนขาข้างใดข้างหนึ่งหรืออาจชักนานเกิน 15 นาที หรือมีชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง
7.ข้อควรปฏิบัติ
รีบพาไปพบแพทย์ด่วน
8.ข้อควรปฏิบัติ
หลังจากลูกหยุดชัก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของอาการชักและทำการรักษาทันที
ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก
โรคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู เกิดจากการทำงานของเซลล์สมองที่ไม่สัมพันธ์กันไปชั่วขณะหนึ่ง แล้วกลับมาสู่สภาพปกติได้เอง โดยขณะที่เกิดลมชักนั้นเซลล์สมองกลุ่มหนึ่งจะส่งคลื่นไฟฟ้าออกมามากเกินกว่าปกติ จนทำให้เกิดสะดุ้ง มีอาการเกร็งหรือการกระตุกของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง บางคนอาจจะมีอาการเหม่อลอยไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก บางรายขณะชักอาจจะมีอุจจาระ ปัสสาวะราดร่วมด้วย โรคลมชักที่เกิดในเด็ก มีบางส่วนที่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์และรอยโรคในสมอง โดยไม่ค่อยพบว่าเกิดจากเนื้องอกในสมอง
เมื่อลูกชัก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ
• อันดับแรกตั้งสติให้ดีค่ะ อย่าตกใจเป็นกระต่ายตื่นตูม เพราะหลายครั้งที่ความตกใจของคุณทำให้เกิดอันตรายต่อลูกได้ เช่น การเขย่าตัวแรงๆ การบีบหรือนวดหน้าอก
• จัดให้ลูกนอนตะแคง ถ้ามีเศษอาหาร น้ำลาย หรือเสมหะให้เช็ดหรือดูดออก เพื่อป้องกันการอุดตันของทางเดินหายใจ
• ใช้ผ้าหนาๆ นุ่มๆ ห่อปลายช้อนแล้วสอดใส่ปากลูก เพื่อป้องกันการกัดลิ้นตัวเอง ห้ามใช้นิ้ว ช้อน หรือวัตถุใดๆ แยงเข้าไปในปากของลูกโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ฟันหักหลุดลงไปในหลอดลมได้
• ถอดเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มของลูกให้เหลือน้อยชิ้นมากที่สุด
• สังเกตอาการชักของลูกว่าเป็นอย่างไร เพื่อแจ้งให้คุณหมอทราบและนำไปเป็นข้อมูลในการตรวจและรักษาต่อไป
การชักซ้ำๆ ชักบ่อยๆ ชักนานๆ ส่งผลให้สมองขาดออกซิเจนไปเลี้ยง ทำให้มีผลต่อสมองและสติปัญญาของลูก อาจทำให้พัฒนาการสมองช้าหรือสติปัญญาอ่อนได้
ปัจจัยที่บ่งชี้ว่าเด็กจะมีโอกาสชักซ้ำ
• ชักครั้งแรกเกิดเมื่ออายุน้อยกว่า 1 ปี
• การชักครั้งแรกเกิดขึ้นขณะมีไข้สูง
• มีประวัติคนในครอบครัวเคยชักมาก่อน
• ช่วงระยะเวลาที่มีไข้ก่อนที่จะชัก ถ้าช่วงนี้สั้นมากก็ยิ่งมีโอกาสชักซ้ำได้ง่าย
นพ.ถิรชัย ตันสันติวงศ์
กุมารแพทย์ สาขาประสาทวิทยาในเด็ก
โรงพยาบาล BNH
(Some images used under license from Shutterstock.com.)