Haijai.com


วิธีการใช้ยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง


 
เปิดอ่าน 3364

รู้จักพาราเซตามอลดีแค่ไหน

 

 

หลายต่อหลายครั้งที่เรามักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ยา เช่น ยาสามัญประจำบ้านที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่แท้จริงแล้วความเข้าใจ อาจจะผิดไปจากข้อเท็จจริง โดยเฉพาะ พาราเซตามอล ดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อให้การใช้ยาเกิดประโยชน์และมีความปลอดภัยมากที่สุด

 

 

พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือมีชื่อทางยาอีกชื่อว่า “อะเซตามิโนเฟน” (Acetaminophen) เป็นยาที่หลายคนรู้จักดี ในรูปแบบยาเม็ดในแผงบรรจุเสร็จแผงละ 10 เม็ด ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถหาซ้อได้ทั่วไป หรือในรูปยาเม็ดที่บรรจุในกระปุกทั้งขนาด 325 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัม ต่อ 1 เม็ด นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบยาน้ำเชื่อมหรือยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทานของเด็ก ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปด้วย

 

 

การรับประทานยาพาราเซตามอลในผู้ใหญ่

 

คำแนะนำโดยทั่วไปสำหรับยาเม็ด 500 มิลลิกรัม ให้รับประทาน 1-2 เม็ดทุก 4-6 ชั่วโมง เวลามีไข้หรือมีอาการปวด และไม่รับประทานติดต่อกันเกิน 5 วัน ซึ่งหากรับประทาน 1 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมงใน 1 วัน เราอาจรับประทานยาถึง 6 เม็ด (3,000 มิลลิกรัม) และถ้าหากรับประทานครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง ใน 1 วัน เราอาจได้รับยามากถึง 12 เม็ด (6,000 มิลลิกรัม) ซึ่งเป็นขนาดยาที่สูงเกินกว่าขนาดยาสูงสุดที่ให้ใช้ได้ต่อวัน (ขนาดยาสูงสุดของยาพาราเซตามอลคือไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม ได้ไม่เกินวันละ 8 เม็ด) ทั้งนี้เนื่องจากยาพาราเซตามอลมีผลพิษต่อตับ การรับประทานยาปริมาณมากในระยะเวลาสั้นๆ ตับไม่สามารถกำจัดสารพิษจากยาได้ทัน จึงทำให้เกิดพิษต่อตับได้ จึงเป็นที่มาของคำแนะนำที่ไม่ควรรับประทานยาติดต่อกันเกิน 5 วัน ปัญหาพิษต่อตับจากยาพาราเซตามอลนี้ ในประเทศพัฒนาแล้วอย่างอเมริกา ก็พบปัญหาการใช้ยาเกินขนาดจนเกิดปัญหาพิษต่อตับ จนกระทั่งองค์การอาหารและยาของอเมริกาได้เปลี่ยนแปลงคำแนะนำโดย ให้ใช้ยาที่มีพาราเซตามอลไม่เกิน 325 มิลลิกรัมต่อเม็ด รับประทานครั้งละ 650 มิลลิกรัม และยังกำหนดขนาดยาสูงสุดสำหรับประชาชนทั่วไป ให้ใช้ไม่เกินวันละ 3,250 มิลลิกรัม ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลพิษต่อตับจากยา สำหรับประเทศไทยถึงตอนนี้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำแนะนำสำหรับขนาดยาพาราเซตามอลออกมาอย่างเป็นทางการ ดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับขนาดและวิธีการใช้ยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง ใช้ยาเมื่อจำเป็น และไม่รับประทานเกินขนาดสูงสุดต่อวัน คือ 4,000 มิลลิกรัม ในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้สูอายุ หรือผู้ที่เคยเป็นโรคตับมาก่อน เราอาจพิจารณาเลือกใช้ยาเม็ดขนาด 325 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2 เม็ด (650 มิลลิกรัม) แทนการใช้ยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม 2 เม็ด (1,000 มิลลิกรัม) เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลพิษต่อตับ

 

 

การรับประทานยาพาราเซตามอลในเด็ก

 

ในเด็กทารกและเด็กเล็ก (แรกเกิดจนถึง 6 ปี) จะให้ยาตามน้ำหนักตัว แต่บางครั้งผู้ปกครองที่ซื้อยาให้เด็กรับประทานเอง และป้อนยาตามขนาดยาที่แนะนำบนฉลากข้างขวดยา ซึ่งเป็นขนาดยาแบบประมาณกว้างๆ ซึ่งไม่เที่ยงตรง และอาจเสี่ยงต่อการได้รับยาเกินขนาดได้ ในกรณีที่เด็กมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ การใช้ยาพาราเซตามอลในเด็ก มีขนาดยาที่แนะนำดังนี้

 

 เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี ให้รับประทานครั้งละ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้ซ้ำได้ทุก 4 ชั่วโมง แต่ไม่ควรให้รับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง และขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 75 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ใน 1 วัน (ตัวอย่างเช่น เด็กน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัม ให้รับประทานครั้งละ 100-150 มิลลิกรัม ใน 1 วัน ไม่เกิน 750 มิลลิกรัม)

 

 

 เด็กอายุ 6-11 ปี อาจให้ตามน้ำหนักตัว 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว หรือรับประทานยาเม็ดขนาด 325 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด โดยขนาดยาสูงสุดต่อวันไม่ควรเกิน 1,625 มิลลิกรัม และรับประทานติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน เว้นแต่แพทย์สั่ง

 

 

 เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป สามารถรับประทานขนาดยาตามแบบผู้ใหญ่ได้

 

 

นอกจากเรื่องของขนาดยาที่รับประทานแล้ว ความเข้มข้นหรือความแรงของยาพาราเซตามอลน้ำที่มีใช้ ก็มีความหลากหลาย เวลาเลือกใช้ยา ควรเลือกชนิดที่มีความเข้มข้นที่เหมาะสม เช่น ยาน้ำชนิดเข้มข้น 100 มิลลิกรัม ต่อ 1 มิลลิลิตร จะเหมาะสำหรับเด็กทารก เพราะปริมาณยาที่ป้อนจะน้อยมาก ทำให้ป้อนยาง่าย ส่วนยาน้ำความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ต่อ 5 มิลลิลิตร (5 มิลลิลิตร เท่ากับ 1 ช้อนชา) จะเหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวที่มากขึ้น เพราะจะใช้ปริมาณยาที่ป้อนต่อมื้อน้อยกว่ายาน้ำความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ต่อ 5 มิลลิลิตร พึงระมัดระวังการนำยาชนิดเข้มข้น (100 มิลลิกรัม ต่อ 1 มิลลิลิตร) มาป้อนเป็นช้อนชา อาจทำให้เด็กได้รับยาเกินขนาดได้

 

 

สิ่งสำคัญอีกเรื่องที่เกี่ยวกับยาพาราเซตามอล คือ ตัวยาพาราเซตามอล อาจมีผสมอยู่ในยาสูตรตำรับต่างๆ นอกเหนือจากยาพาราเซตามอลเดี่ยวๆ เช่น ยาคล้ายกล้ามเนื้อบางสูตร, ยาแก้ไขหวัดชนิดแผงบรรจุเสร็จ 4 เม็ด, หรือยาแก้ปวดบางสูตร เป็นต้น ยาเหล่านี้อาจมีตัวยาพาราเซตามอลผสมอยู่ในปริมาณ ตั้งแต่ 325-500 มิลลิกรัม ต่อเม็ด ซึ่งถ้าเรารับประทานควบคู่กับยาพาราเซตามอลเดี่ยวๆ โดยที่ไม่ทราบว่าตัวยาซ้ำซ้อนกัน ก็อาจเกิดความเสี่ยงได้รับยาเกินขนาดจนเกิดพิษต่อตับได้เช่นกัน ดังนั้น หากจำเป็นต้องใช้ยาที่มีพาราเซตามอลผสมอู่ด้วยหลายรายการร่วมกัน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เพื่อพิจารณาว่าขนาดยาพาราเซตามอลที่ได้รับ จะเกินไปจนเป็นปัญหาหรือไม่

 

 

เภสัชกรสมเจตน์ สุวรรณศิริพัฒน์

เภสัชกรประจำแผนกเภสัชสนเทศ ฝ่ายเภสัชกรรม

ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





สิวอุดตันเกิดจาก สิวฮอร์โมน คอลลาเจน สิวไขมัน สิวหัวแข็ง AviClear AviClear Laser สิวไต สิวเสี้ยน หน้าขาวใส หน้าแพ้สาร สิวข้าวสาร หน้าใสไร้สิว หน้าไหม้แดด สิวหัวขาว หน้าแห้ง อาการนอนกรน วิธีลดไขมันทั้งตัว ผิวขาว ผิวหน้า ผู้หญิงนอนกรน หน้ากระจ่างใส วิธีลดไขมันในร่างกาย หน้าเนียนใส หน้าเนียน หน้าหมองคล้ำเกิดจาก กดสิวใกล้ฉัน กดสิวเสี้ยน กดสิว หน้าใส สิวอุดตัน หน้าหมองคล้ำ สิวอักเสบ สิว สิวหัวช้าง หน้าขาว สิวขึ้นคาง สิวผด ครีมลดรอยสิว วิธีแก้การนอนกรนผู้ชาย แก้อาการนอนกรนผู้หญิง วิธีลดหน้าท้องแบบเร่งด่วน Sculpsure ลดไขมันในร่างกาย วิธีลดไขมัน ลดไขมันต้นขา สลายไขมันหน้า ไตรกลีเซอไรด์ เซลลูไลท์ วิธีแก้นอนกรน ลดไขมัน Coolsculpting ทำกี่ครั้ง Sculpsure กับ Coolsculpting นอนกรนเกิดจาก Morpheus8 สลายไขมันหน้าท้อง วิธีลดพุงผู้หญิงเร่งด่วน 3 วัน Body Slim ลดไขมันทั้งตัว วิธีลดพุงผู้ชาย Morpheus8 กับ Ulthera ลดพุงเร่งด่วน วิธีลดไขมันต้นขา ลดพุง ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความน่ารู้ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความรักษาอาการนอนกรน บทความ Morpheus บทความ Coolsculpting บทความโปรแกรมดูแลผิวหน้า ข่าวและกิจกรรม romrawin รมย์รวินท์ Plinest Pico หลุมสิว เลเซอร์ฝ้า เลเซอร์ฝ้า กระ IV Weight Loss Thermage Body Pico Laser ราคา สิว กลืนบอลลูนราคา วิธีลดน้ำหนัก วิธีแก้อาการนอนกรน อาการนอนกรน บทความโปรแกรมรักษาอาการนอนกรน เลเซอร์รีแพร์ ดึงหน้าที่ไหนดี ผ่าตัดดึงหน้าราคา Thermage FLX ผ่าตัดดึงหน้า ดึงหน้าราคา ผ่าตัดดึงหน้าที่ไหนดี ดึงหน้า vs ร้อยไหม ศัลยกรรมดึงหน้าราคา เครื่องสลายไขมันด้วยความเย็น Ultraformer MPT ราคา ลดเซลลูไลท์ ฟิลเลอร์แก้มตอบราคา CoolSculpting vs Emsculpt ลดน้ำหนัก วิธีสลายไขมัน สลายไขมัน Alexandrite Laser Dynamic Tech Morpheus Pro สารเติมเต็ม ฟิลเลอร์แท้ ฟิลเลอร์ปลอม เลเซอร์ขนหน้าอก Coolsculpting vs Coolsculpting Elite Morpheus8 ราคา สลายไขมันด้วยความเย็นราคา สลายไขมันด้วยความเย็น ฟิลเลอร์ใต้ตาราคา ดึงหน้า Ultherapy Prime vs Ulthera SPT IPL เลเซอร์ขนแขน YAG Laser Diode Laser ไฮยาลูรอน ฟิลเลอร์น้องชายอันตรายไหม ฉีดสิว Emtone 1 week 1 Kilo ลดน้ำหนัก กลืนบอลลูน Exo Hair Reborn หลังฉีดฟิลเลอร์คาง ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม Coolsculpting Fit Firm Emsculpt Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex