Haijai.com


ภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้า


 
เปิดอ่าน 6618

โรคซึมเศร้า คืออะไร

 

 

โรคซึมเศร้า เป็นการป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจและความคิดจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เช่น การหลับนอน การรับประทานอาหาร การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ไม่สามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ ฯลฯ  และที่สำคัญ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และไม่ได้รับการรักษาทางการแพทย์ที่ถูกต้องทั้งๆ ที่ในปัจจุบันนี้ มียาและวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมาก

 

 

โรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีการสูญเสีย หรืออาจจะเกิดในคนที่มีประสบการณ์สะเทือนใจฉับพลัน หรืออาจจะเกิดในคนที่มีโรคร้ายแรง หรืออาจจะเกิดในคนปกติทั่วไปก็เป็นได้ จากการประเมินคร่าวๆ พบว่าประชากร 9% ป่วยเป็นโรคนี้ ในระยะเวลา 1 ปี นั่น จึงทำให้ประเทศชาติสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากมาย และผู้ป่วยยังสูญเสียคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ โรคซึมเศร้าจะทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลง และเกิดความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิด

 

 

ในผู้ชายจะพบโรคซึมเศร้าได้น้อยกว่าผู้หญิง แต่อัตราการฆ่าตัวตายของผู้ชายจะสูงกว่าของผู้หญิง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าในเพศชาย มักจะใช้บุหรี่ สุรา และยาเสพติดเป็นตัวแก้ไขปัญหา

 

 

เราสามารถแบ่งแยกโรคซึมเศร้าตามระดับความรุนแรง ได้ดังนี้

 

 dysthymia เป็นภาวะที่โรคมีความรุนแรง และเป็นมานานจนเรื้อรัง จนทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความรู้สึกที่ดีในการดำเนินชีวิต ขาดมนุษย์สัมพันธ์ต่อบุคคลรอบข้าง และขาดความสามารถในการประกอบอาชีพ

 

 

 bipolar disorder หรือ manic-depressive illness เมื่อถึงขั้นนี้ ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ซึ่งส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดเก่ง กระฉับกระเฉงมากเกินเหตุ ในช่วง mania นี้ ผู้ป่วยจะได้รับผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจมาก เพราะจะมีผลกระทบต่อระบบความคิด ระบบการตัดสินใจ และระบบพฤติกรรมโดยรวม หากไม่รักษาผู้ป่วยก็อาจจะกลายเป็นโรคจิตได้

 

 

อาการต่างๆ ของโรคซึมเศร้ามีดังนี้ (อาจจะไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกอย่าง บางคนก็มีบางอย่างเท่านั้น)

 

 

อาการของโรคซึมเศร้าแบบ depression

 

 รู้สึกซึมเศร้า สิ้นหวัง วิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา

 

 

 เบื่ออาหาร น้ำหนักลด แต่บางคนก็เจริญอาหาร น้ำหนักเพิ่ม

 

 

 มีอาการปวดศีรษะ แต่ก็รักษาด้วยยาธรรมดาไม่หาย

 

 

 ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ย่ำแย่

 

 

 โกรธง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว

 

 

 กระวนกระวาย มองโลกแต่ในแง่ร้าย

 

 

 รู้สึกว่าตัวเองผิด รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า

 

 

 ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม ติดสินใจอะไรไม่ค่อยได้

 

 

 นอนไม่หลับ หรือบางรายก็หลับมากเกินไป

 

 

 ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบกาย งดงานอดิเรก หรือกิจกรรมสนทนาการที่เคยทำ

 

 

 อ่อนเพลียเหมือนไม่มีพลังกายและพลังใจ จนทำให้การทำงานแย่ลง

 

 

 มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง และพยายามทำร้ายตัวเอง

 

 

อาการของโรคซึมเศร้าแบบ mania

 

 สนุกสนานร่าเริงเกินกว่าเหตุ

 

 

 หงุดหงิดโมโหง่าย

 

 

 หลงผิดคิดว่าตัวเองเก่งกว่าใครๆ

 

 

 พูดมากกว่าปกติ

 

 

 มีพลังงานมากกว่าเดิม แต่การตัดสินใจไม่ดี

 

 

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคซึมเศร้า

 

 มีรายงานพบว่า โรคซึมเศร้าชนิด bipolar disorder มักจะเป็นในครอบครัว และต้องมีสิ่งเร่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดโรคนี้ขึ้น เช่น ความเครียด ความกดดัน ความเบื่อหน่าย เป็นต้น โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมองมีผลต่ออารมณ์ ซึมเศร้าของบุคคลนั้นๆ และทำให้เป็นผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง

 

 

 โรคร้ายแรงทางกายบางอย่าง ก็สามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง เป็นต้น

 

 

 มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในเลือด เช่น ในสตรีวัยทอง หรือหลังคลอด ก็สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้เช่นกัน

 

 

 ความเครียดที่เกิดจากการประสบปัญหาต่างๆ ในการดำเนินชีวิต อาทิเช่น สูญเสียเงิน ตกงาน ปัญหาทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว เป็นต้น

 

 

 ผู้ที่มีนิสัยเก็บกดอารมณ์ของตัวเอง ไม่เคยแสดงอารมณ์ออกมา ไม่ว่าจะเป็นดีใจ เสียหรืออารมณ์โกรธ บุคคลประเภทนี้ จะไม่ค่อยพูด ไม่มีเพื่อนสนิท และชอบเก็บตัว นิสัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัวก่อโรคซึมเศร้าได้ทั้งสิ้น

 

 

 ทราบหรือไม่ว่าเด็กๆ ก็เป็นโรคซึมเศร้าได้เหมือนกันกับผู้ใหญ่ อาการส่วนมาก เด็กๆ ก็จะแสดงออกมาอย่างไม่ค่อยซับซ้อนนัก เช่น แกล้งป่วยเพื่อไม่ต้องไปโรงเรียน ติดพ่อติดแม่ มีปัญหากับเพื่อนที่โรงเรียน มองโลกแต่ในแง่ร้าย อย่างไรก็ตามพฤติกรรมของเด็กมีความผันผวนเปลี่ยนแปรได้ง่าย ดังนั้น จึงยากแก่การวินิจฉัยว่าเด็กเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ทางที่ดีควรปรึกษากุมารแพทย์ ก็จะเป็นการช่วยเหลือที่ดีที่สุด

 

 

 ในผู้ชายจะพบโรคซึมเศร้าได้น้อยกว่าผู้หญิง แต่อัตราการฆ่าตัวตายของผู้ชายจะสูงกว่าของผู้หญิง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าในเพศชายมักจะใช้บุหรี่ สุรา และยาเสพติดเป็นตัวแก้ปัญหา ผู้ป่วยบางคนแม้ว่าจะรู้ว่าเป็นโรคซึมเศร้า แต่ก็มักจะปฏิเสธการรักษา

 

 

 เชื่อกันว่า โรคซึมเศร้าในผู้หญิง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน อาทิเช่น การแท้งลูก ช่วงเวลาหลังคลอด การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ สตรีวัยทอง เป็นต้น และผู้หญิงจะเป็นโรคซึมเศร้า ได้มากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า นอกจากนั้น ยังอาจจะเกิดจากความเคร่งเครียด ที่ต้องรับผิดชอบการงานมากเสียจนเกินไป

 

 

 ผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า ส่วนใหญ่มักจะมาจากอาการเจ็บป่วยทางกาย เช่น อัมพาต มะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ หรือ อาจจะเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาโรค

 

 

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก ตามัว วิงเวียนศีรษะ ง่วงเหงาหาวนอน ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ หงุดหงิด กระวนกระวาย

 

 

การป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า

 

เนื่องจากโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิต ดังนั้น ทางการแพทย์จึงแนะนำให้ดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีที่สุด เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนทุกหมวดหมู่ งดเครื่องดื่มมึนเมาและไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเวลาว่าง กับสภาพร่างกายและอายุของตนเอง นอกจากนี้ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง ไม่ควรเคร่งเครียดกับหน้าที่การงานมากเกินไป รู้จักปล่อยวางไม่ยึดติดกับสิ่งต่างๆ รอบตัว และจากผลการเก็บข้อมูลจากชายวัยกลางคน ชาวอังกฤษนับพันๆ คนก็พบว่า การวิ่งออกกำลังกายสม่ำเสมอในสวนสาธารณะ นอกจากเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจแล้ว ยังดีต่อสุขภาพจิตด้วย เพราะทำให้ไม่ค่อยวิตกกังวล และเป็นโรคซึมเศร้า ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่งหรือเล่นฟุตบอล มักวิตกกังวลหรือซึมเศร้า น้อยกว่าคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย นักวิจัยสันนิษฐานว่า การออกกำลังกาย อาจส่งผลโดยตรงต่อภาวะซึมเศร้า โดยไปมีผลต่อสารเคมีบางตัวในสมองนั่นเอง

 

 

และรู้หรือไม่ว่าแสงแดดนั้น ก็สามารถช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้ บางครั้งธรรมชาติบำบัด โดยเฉพาะการบำบัดด้วยแสงแดดตอนเช้า เป็นเวลา 30-60 นาที ก็จะช่วยรักษาอาการเหล่านี้ได้ แสงแดดอ่อนๆ จะช่วยลดฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากต่อมไพเนียเมลาโทนินนั้น จะถูกกระตุ้นด้วยความมืด และจะได้รับการยับยั้งด้วยแสงสว่าง ดังนั้น การได้รับแสงแดดยามเช้า จึงช่วยให้สดชื่นและกระปรี้กระเปร่าขึ้นได้

 

 

การรักษาโรคซึมเศร้า

 

 ใช้ยาต้านโทมนัส โดยยาที่ใช้รักษามีด้วยกันหลายกลุ่ม ได้แก่ selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) tricyclics monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) ผู้ที่รับประทานยากลุ่มนี้ จะต้องระวังอาหาร ที่มีส่วนผสมของ tyramine ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูง อาหารดังกล่าว ได้แก่ ชีส ไวน์ และยาลดน้ำมูก

 

 

 แพทย์อาจจะเลือกใช้ยาตัวใดตัวหนึ่ง หรือแพทย์อาจจะใช้ยาหลายๆ ชนิดรวมกัน ในการรักษา โดยมากจะเริ่มเห็นผลใน 2-3 สัปดาห์ และให้ผู้ป่วยรับประทานต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน ยาจะออกฤทธิ์เต็มที่

 

 

 ช๊อดไฟฟ้า Electroconvulsive therapy (ECT) เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นรุนแรง หรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานยาต้านโทมนัส หรือใช้ยาแล้วไม่ได้ผลอะไรเลย

 

 

ผลข้างเคียง พบได้ไม่รุนแรงมากนัก และมักจะหายไปเองได้ แต่หากเกิดผลข้างเคียง ที่รบกวนคุณภาพชีวิตให้ปรึกษาแพทย์ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก ตามัว วิงเวียนศีรษะ ง่วงเหงงาหาวนอน ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ หงุดหงิด กระวนกระวาย เป็นต้น

(Some images used under license from Shutterstock.com.)