© 2017 Copyright - Haijai.com
การดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก
เพื่อสุขภาพฟันดีในอนาคต
ทัศนคติที่ดีในการรักษาทันตกรรมต้องเริ่มตั้งแต่ขวบปีแรก เพราะการดูแลลูกน้อยสุขภาพปากและฟันอย่างถูกต้องตั้งแต่เด็ก เป็นการลงทุนเพื่อสุขภาพฟันที่ดีในอนาคต ทันตแพทย์จึงแนะนำให้มีการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป เพื่อตรวจและสอนวิธีการดูแลสุขภาพช่องปาก ทำให้เด็กมีโอกาสฟันผุน้อยที่สุด และลดโอกาสเกิดความเสียหายแก่ฟันในเรื่องต่างๆ ในอนาคตอีกด้วย
• แรกเกิด ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดบริเวณช่องปาก ทารกหลังดูดนมทุกครั้ง
• 3-6 เดือน เลือกรับประทานอาหารเสริมที่เหมาะกับวัย คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เด็กจะเลิกนมมื้อดึก
• 6 เดือน เริ่มกินฟลูออไรด์เสริมก่อนฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น
• 6 เดือน – 1 ปี เป็นช่วงเริ่มฝึกให้เด็กดื่มนมจากถ้วย โดยเริ่มฝึกจากน้ำเปล่า เพื่อให้เด็กพร้อมที่จะเลิกนมขวดได้ก่อนอายุ 1 ปีครึ่ง
• 1 ปี แนะนำพบทันตแพทย์เด็กครั้งแรก และพบอย่างน้อยทุก 6 เดือน เพื่อรับการตรวจแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก
• 6 เดือน – 3 ปี ฟันน้ำนมซี่แรก ขึ้นเมื่ออายุ 6 เดือน และขึ้นครบเมื่ออายุ 2 ปีครึ่ง – 3 ปี แปรงด้วยแปรงสีฟันขนอ่อน เมื่อมีฟันน้ำนมขึ้น 4-8 ซี่ อาจมีเหงือกบวมบริเวณฟันที่จะขึ้น และเหงือกมีลักษณะใสๆ หรือมีสีม่วงคล้ำ เป็นอาการปกติ
• 3-4 ปี แนะนำพบทันตแพทย์ เพื่อรับการเคลือบฟลูออไรด์ และเคลือลหลุมร่องฟันกรามน้ำนม
• 1-6 ปี กรณีเกิดอุบัติเหตุกระแทกฟันน้ำนม พบได้บ่อยในวัยที่กำลังหัดเดิน ควรปรึกษาทันตแพทย์เด็ก
• 6-7 ปี ฟันแท้ซี่แรกขึ้นที่บริเวณฟันซี่หน้าล่าง บางครั้งอาจพบฟันแท้ขึ้นซ้อนโดยฟันน้ำนมยังไม่หลุด
• 6-13 ปี ฟันแท้ย่อยขึ้นจนครบ 28 ซี่ เมื่ออายุ 13 ปี ควรรับการเคลือบร่องฟันกราม
• 7-8 ปี ถ้าพบฟันแท้บริเวณฟันหน้าบนซ้อนเก ให้ปรึกษาทันตแพทย์เด็กหรือทันตแพทย์จัดฟัน
• 16-18 ปี พบทันตแพทย์เพื่อเอกซเรย์ เช็คว่ามีฟันคุดหรือไม่ เพราะฟันกราม 4 ซี่สุดท้ายที่ขึ้นมา อาจเป็นฟันคุดได้
ช่วงอายุสำคัญที่ควรปรึกษาทันตแพทย์
ศูนย์ทันตกรรม
โรงพยาบาลนนทเวช
(Some images used under license from Shutterstock.com.)