![Haijai.com](https://www.haijai.com/my/logo/20150326_logo.png?t=2017-02-22)
© 2017 Copyright - Haijai.com
หายขาดมะเร็งเต้านมด้วยวิวัฒนาการที่ทันสมัย
ปัจจุบันการรักษามะเร็งมีตั้งแต่การผ่าตัด การฉายแสง การให้ยาทั้งยาเคมี ยาต้านฮอร์โมน และยามุ่งเป้า โดยเฉพาะการรักษาโรคมะเร็งเต้านม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็มีวิวัฒนาการที่ดีมาโดยตลอด
1.การตรวจวินิจฉัย สมัยก่อนใช้การคลำตรวจอย่างเดียว จนพัฒนาเราเห็นก้อนขนาดเกิน 2 ชม. และช่วยแยกว่าก้อนใดสงสัยว่าเป็นมะเร็งได้ แต่ปัจจุบันมีการตรวจ MRI คือ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถห้การวินิจฉัยเพิ่มมากขึ้น ในก้อนขนาดเล็กหรือระยะก่อนมะเร็ง วิเคราะห์เนื้อมะเร็งเต้านมส่วนอื่นๆ เพื่อวางแผนการผ่าตัดต่อไป
2.การผ่าตัด สมัยก่อนเรารู้ดีว่า หากเป็นมะเร็งเต้านมนั้น ต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันการแพร่ของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น จนปัจจุบันสามารถเก็บเต้านมไว้บางส่วนได้ หรือจะผ่าตัดร่วมกับการเสริมเต้านมใหม่ก็ได้ และการเลาะต่อมน้ำเหลือง ปัจจุบันมีการฉีดสีเข้าไปที่มะเร็งดูการกระจายตัวของมะเร็ง หากมะเร็งไม่มีการกระจายไปยังบริเวณต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ก็ไม่จำเป็นต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองออก ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดจะลดลงมาก
3.การฉายแสง แพทย์จะทำการฉายแสงก็ต่อเมื่อมะเร็งมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง หรือตัวก้อนที่ทำผ่าตัดใกล้กับผนังหน้าอกมาก และไม่สามารถเลาะออกได้ทั้งหมดขณะผ่าตัดหรือก้อนขนาดใหญ่ แต่เดิมเป็นการฉายแบบ 2 มิติ ใช้สารตั้งต้นเป็นโคบอล ทำให้ผิวหนังไหม้ เกิดพังผืดจนกางแขนไม่ได้ ปัจจุบันมีเครื่องฉายแสงแบบ 3 มิติ IMRT ชนิดไลแน็คส์ สามารถควบคุมปรับระดับแสงได้ หรือฉายแสงแบบเฉพาะเจาะจงไปที่แผลผ่าตัดได้ เพื่อการป้องกันแสงไม่ให้กระทบกับอวัยวะส่วนอื่น
4.การให้ยา
• ยาเคมี มีประสิทธิภาพและการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น โดยลดอาการกลับมาเกิดซ้ำ อาการข้างเคียงลดลง สมัยก่อนการให้ยาทำให้คนไข้อาเจียนตลอดเวลา ปัจจุบันมียาแก้คลื่นไส้อาเจียนที่มีประสิทธิภาพ และการให้ยาปัจจุบันเป็นการให้ยาที่เฉพาะเจาะจงกับคนไข้แต่ละประเภทที่แตกต่างกัน แม้จะเป็นมะเร็งชนิดเดียวกัน ก็จะได้ยาคนละสูตรกันขึ้นอยู่กับชนิดเนื้อของคนไข้เป็นหลัก
• ยาต้านฮอร์โมน การส่งตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติม เพื่อดูว่ามีการย้อมติดสีตัวรับฮอร์โมนหรือไม่ ถ้ามีการย้อมติด แปลว่ามะเร็งเต้านมของคนไข้เจริญเติบโต โดยใช้ฮอร์โมนเพศหญิงเป็นตัวกระตุ้น การรักษาจึงต้องให้ยาต้านฮอร์โมนร่วมด้วยหลังจากผ่าตัด
• ยาต้านเฮอร์ทู นอกจากนี้ปัจจุบันได้ค้นพบว่า มะเร็งเต้านมมีตัวรับพิเศษตัวใหม่ที่ชื่อว่า “เฮอร์ทู” เป็นตัวผลิตตัวกระตุ้นให้มะเร็งเกิดการแบ่งตัวได้เอง ปัจจุบันมีการใช้ยาต้านเฮอร์ทู เพื่อไม่ให้มีการทำงานหลังจากการย้อมชิ้นเนื้อแล้ว ตรวจพบว่ามีตัวรับเฮอร์ทูอยู่บนผิวมะเร็ง
ผู้ป่วยโรคมะเร็งในปัจจุบันจึงมีโอกาสหายขาดเพิ่มมากขึ้น มีการตอบสนองต่อการรักษามากขึ้น ทำให้การควบคุมโรคยาวนานขึ้น โดยมีอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาน้อยลงมา
นายแพทย์ณัฐชดล กิตติวรารัตน์
อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาและเคมีบำบัด
โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
(Some images used under license from Shutterstock.com.)