Haijai.com


กินอาหารอย่างรู้งาน 7 ประการ


 
เปิดอ่าน 1242

กินอย่างรู้งาน 7 ประการ

 

 

นักจิตวิทยาบอกว่า คุณสามารถหยุดยั่งการกินตามอารมณ์ได้ไม่ยาก

 

 

จากการค้นคว้าที่เพิ่มพูนมากขึ้น พบว่าการกินอย่างรู้งานจัดเป็นวิธีการพึงกระทำ ถ้าอยากมีน้ำหนักตัวอันควร คนที่กินอย่างรู้งาน คือ คนที่กินเวลาหิวและหยุดเมื่อรู้สึกว่ากินพอแล้ว จะรื่นรมย์กับการกินอาหารหลากหลาย โดยไม่รู้สึกผิด มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงกว่าและปลื้มกับชีวิตมากกว่าพวกที่ต้องไดเอต

 

 

แต่ถ้าคุณเป็นอดีตนักไดเอตลดอาหาร ซึ่งใช้เวลาทั้งชีวิตทุกข์ทรมานกับการนับปริมาณขนาดอาหาร ปริมาณแคลอรีและไขมัน ทนหิวโหยมาแล้วนั้น การปรับอาหาร ใจและกายจัดว่าง่ายดายยิ่งนัก

 

 

ข่าวดีคือคุณสามารถหวนกลับไปสัมผัสสัญญาณความหิวตามธรรมชาติและยอมรับเวลาที่กินมากพอแล้ว การทำตนเป็นนักกินอย่างรู้งานจะทำให้คุณก้าวไปถูกทางมากยิ่งขึ้นไปอีก

 

 

1.กินเมื่อคุณหิว

 

เวลาร่างกายต้องการเชื้อเพลิง ความรู้สึกของเราตอนหิว คือ วิธีขอเชื้อเพลิงนี้ แต่การไดเอตมานานปีอาจหมายถึงคุณไม่สามารถจับคิวความหิวและไม่ค่อยไว้ใจร่างกายตัวเอง และมักเมินคิวการกินไปซะ

 

 

ให้หวนกลับไปสัมผัสกับร่างกายด้วยการใส่ใจว่า ความหิวเป็นอย่างไง คนแต่ละคนต่างกันไป คุณอาจรู้สึกท้องว่างเปล่า หรือท้องร้องคราง ขณะคนอื่นอาจขาดสมาธิ วอกแวก ถ้าคุณไม่แน่ใจให้หวนคิดว่าคุณกินครั้งสุดท้ายเมื่อใด ถ้าไม่ได้กินอาหารมาเกินสามชั่วโมงแล้ว ก็น่าจะมีสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายต้องการพลังงานและถึงเวลากินอาหารแล้ว

 

 

2.อย่าทนหิวเกินควร

 

คุณจะกินไมยั้งเวลาหิวโหยสุดขีด ทางที่ถูกคือ ควรกินตั้งแต่สัญญาณบ่งบอกแรกว่าหิว พร้อมจะกินอาหารแล้ว สิ่งสำคัญในการปรับคิวการกินคือพัฒนาความตระหนักในตัว จดบันทึกเวลาที่คุณกิน สิ่งที่กินแล้วให้คะแนนระดับความหิวของคุณว่าหิวมากขนาดไหน หิวจัดอยู่ในระดับ 0 คือ กลางๆ ไม่หิวหรืออิ่ม อิ่มแปล้อยู่ ระดับ 5 ซึ่งคุณกินมากเกินไป

 

 

การจดสัญญาณนี้เพื่อดูว่าคุณเปลี่ยนจาก 5 เป็น 4 และ 3 ความรู้สึกหิวคือสัญญาณบ่งบอกว่าถึงเวลาต้องกินแล้ว ถ้าปล่อยให้ความหิวขึ้นไประดับ 2 จะเริ่มหิวแบบอึดอัด และ 1-0 คุณ หิวโหย ให้ตั้งเป้ากินอาหารเมื่อหิวถึงระดับ 3

 

 

3.ใส่ใจเวลากิน

 

ถ้าคุณดูทีวี ทำงานหรือเล่นเฟซบุคขณะกิน คุณอาจพลาดสัญญาณบ่งบอกว่าอิ่ม แล้วกินมากเกินควรได้ ให้ตั้งเป้าว่าจะมุ่งเน้นเรื่องอาหาร กินด้วยความตระหนัก ปิดทีวี ปิดคอมพิวเตอร์ เปิดเพลงเบาๆ จัดโต๊ะอาหาร นั่งลงแล้วให้คุณค่ากับอาหารแม้จะเป็นแค่สลัด กินช้าๆ ดื่มด่ำกับทุกคำ

 

 

4.สัมผัสความอิ่ม

 

คุณอาจอธิบายรายละเอียดได้ดีว่าความอิ่มแปล้เป็นไง? ถ้าไม่รู้ก็ต้องพัฒนาความตระหนักเรื่องการกินซะ

 

 

คราวหน้าขณะกำลังกินอาหารหรือของว่าง ให้หยุดแล้วสำรวจร่างกายดู ถามตัวเองว่าระดับความหิวและอิ่มของชั้นอยู่ระดับไหน? ถ้ายังหิวให้กินต่อไป เมื่อกินเสร็จให้จดโน้ตระดับความอิ่มว่าอยู่ระดับใด อิ่มสบายๆ หรือแปร้ไปแล้วขนาดไหน? ปานกลางอยู่ระดับ 5,6,7 จัดว่าอิ่มพอใจแล้ว ระดับ 8 คือ เต็มที่ ระดับ 9 คือมากเกินไป และระดับ 10 จะเริ่มไม่สาย ให้ตั้งเป้าคำสุดท้ายไว้ที่ระดับ 6 พอ ถึงระดับนี้ให้หยุด วางช้อนส้อม ผลักจานออกไปเป็นการเตือนตัวเองว่า จะหยุดกินแล้ว

 

 

5.กินสิ่งที่คุณต้องการ

 

ยากจะเชื่อได้ว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของใบสั่งในการรักษาน้ำหนักอันควร แต่จัดเป็นสิ่งสำคัญในการกินอย่างรู้งาน เมื่อยอมให้ตัวเองกินสิ่งที่อยากกิน อร่อยกับอาหารนั้นเท่ากับคุณสลัดความรู้สึกผิดและรู้สึกพึงพอใจ มีความสุขแทนที่จะกินมากเกินควร

 

 

เช่นคราวหน้าถ้ารู้สึกอยากกินชิป  มันฝรั่งเป็นอาหารกลางวัน ก็กินไปเถอะ กินอย่างใส่ใจและสังเกตว่ารู้สึกอิ่มแค่ไหน การกินสิ่งที่อยากกินจัดเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเลือกสลัด ซึ่งส่งผลให้ท้องร้องตลอดบ่ายด้วยความหิว ดังนั้น ควรเลือกอาหารที่ชอบดีกว่า

 

 

6.กินบ่อยๆ เท่าที่ต้องการ

 

การกินอย่างรู้งานจะทำให้คุณเป็นมิตรกับอาหารได้ ตอนนี้กินได้โดยไร้เงื่อนไขและมากเท่าที่จำเป็น เพื่อสนองร่างกาย จะพบว่าเมื่อปรับตนเข้ากับร่างกาย โดยกินอาหารมื้อเล็กๆ หกเจ็ดมื้อ ทุกสองชั่วโมง แทนการกินมื้อใหญ่ห่างกัน ห้าชั่วโมง ซึ่งทำให้คุณอึดอัดแสบท้อง ให้ดูว่าเวลาเท่าไรที่เหมาะกับร่างกายตัวเอง กินเฉพาะเมื่อหิวและหยุดเมื่อพอใจว่าอิ่มกำลังดีแล้ว

 

 

7.รับรู้อารมณ์ความอยากอาหารของตน

 

ไม่ได้ช่วยอะไรเลยกับการใช้อาหารเป็นตัวเติมช่องว่างทางอารมณ์ให้เต็ม หรือเพื่อเลี่ยงการรับมือกับอารมณ์รวดร้าว ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแถมการกินมาเกินควรทำให้น้ำหนักเพิ่ม คุณจะไม่ต้องการอาหารดับอารมณ์อีกต่อไป ถ้าเรียนรู้วิธีรับมือกับความรู้สึกยุ่งยากนี้

 

 

ให้รับรู้พลังผลักดันของตนในการกินมากเกินควรนั้น ซึ่งจะเกิดเมื่อคุณรันทดจากอารมณ์ไม่สบายใจอึดอัด แทนที่จะเลี่ยงอารมณ์นี้ด้วยการกิน ให้ดูว่าคุณสามารถสำรวจว่าอารมณ์นี้ซ่อนอยู่ตรงไหนในตัวคุณ อย่าตีความรู้สึกตัวเองว่า “ดี” หรือ “ไม่ดี” แค่มีความตระหนักก็พอ ถามตัวเองว่ามีความรู้สึกพิเศษไหนที่กระตุ้นความทรงจำ หรือความเชื่อมโยงหรือบทสนทนาเฉพาะ พยายามจับความรู้สึกนั้น โดยไม่ต้องกิน แค่นั่งคิดถึงความรู้สึกหนึ่งนาที อาจยาวนานพอที่จะช่วยลดความหนักหนาสาหัสและค้นพบทางแก้ไขได้

(Some images used under license from Shutterstock.com.)