© 2017 Copyright - Haijai.com
วิธีรับมือเมื่อลูกร้องไห้
สำหรับเด็กทารกแล้ว เสียงร้องไห้เปรียบเหมือนกระจกเงาสะท้อนอารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ ที่ลูกต้องการจะสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่ทราบว่า ???
หนูหิว ด้วยเสียงร้องที่สั้น และต่อเนื่อง เสียงร้องจะดังถี่ๆ จนถึงระดับเสียงปานกลาง พร้อมกับผงกศีรษะไปข้างหน้า และข้างๆ ด้วยปากที่เปิดรอนมแม่ให้เข้าไปในปาก
อารมณ์เบื่อๆ ลูกจะร้องเหมือนครางออกมา พร้อมกับมองหาใครสักคนด้วยตา และศีรษะจนกระทั่งมีใครมาอุ้ม มาเล่นด้วย ลูกจึงหยุดร้อง
หนูเหนื่อยแล้วนะ อาจเริ่มต้นด้วยการร้องเบาๆ จนเพิ่มดีกรีเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพาลูกมานอนในห้องเงียบๆ หรือบริเวณที่ไม่มีสิ่งกระตุ้นมากนัก ลูกจะเปลี่ยนเสียงร้องเป็นเสียงสะอื้น และเงียบลง
รู้สึกอึดอัด ลูกจะร้องแบบเดี๋ยวก็ร้องเดี๋ยวก็หยุด แต่เสียงจะดังหนักแน่น เหมือนเป็นเครื่องยืนยันว่า หนูอึดอัดนะ
รู้สึกเจ็บปวด เสียงร้องจะแหลม ทำหน้าผากย่น ส่วนแขนขาจะตึงแข็ง
นั่นคือ ภาษา เสียง อย่างแท้จริงที่ลูกต้องการจะสื่อสาร และส่งข้อความบางอย่าง แต่การร้องไห้ทุกรูปแบบ และทุกการสื่อสารของลูกย่อมทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่สบายใจ หรือกังวลใจ เมื่อลูกร้องไห้ น้ำตาไหลริน
คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยร้องไห้
• พายามหาสาเหตุด้วยการแปลภาษาเสียงของลูกให้ออกว่า ลูกพยายามจะบอกอะไร เช่น อาจจะถึงเวลานอน หรือเวลาหม่ำแล้ว เป็นต้น
• อุ้มลูกเข้ามากอด ให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และสบายใจอยู่ในอ้อมกอด
• อุ้มพาลูกเดิน พร้อมกับโยกเบาๆ เหมือนการไกวเปลค่อยๆ
• ลองนวดแขน ขา ของลูกเบาๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย
• ร้องเพลง หรือกล่อมลูกเบาๆ เพื่อเป็นการปลอบประโลมอย่างนุ่มนวล
อ้อมกอด สายตา ภาษาร่างกายที่อบอุ่นของคุณพ่อคุณแม่ สามารถปลอบโยนภาษาเสียงหรือเสียงร้องของลูกให้เงียบลงได้อย่างน่าอัศจรรย์ ก็เพราะ เด็กเล็กๆ ถึงจะยังส่งภาษาพูดไม่ได้ แต่ภาษากายที่แสดงถึงความรักที่ถึงส่งมาจากพ่อกับแม่ ลูกๆ เค้าแปลออก และเข้าใจได้เป็นอย่างดีเลยละคะ
(Some images used under license from Shutterstock.com.)