© 2017 Copyright - Haijai.com
ห้ามหญิงตั้งครรภ์เข้าพิธีสังฆกรรมญัตติ
คนโบราณท่านห้ามหญิงตั้งครรภ์เข้าพิธีสังฆกรรมญัตติ
โบราณห้ามเป็นเด็ดขาดว่า เมื่อเวลาพระสงฆ์ท่านทำสังฆกรรมสวดญัตติ ห้ามหญิงตั้งครรภ์เข้าไปภายในพิธีเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าจะไม่เป็นผลดีกับทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหญิงหรือทางพิธีกรรมเอง
พิธีกรรมนั้นต้องการความบริสุทธิ์ ซึ่งเมื่อหญิงที่ตั้งครรภ์เข้าไป จะทำให้พิธีกรรมไม่บริสุทธิ์ ถือเป็นมลทินแก่พิธีกรรม และเป็นสาเหตุทำพิธีนั้นไม่เสร็จสมบูรณ์
ส่วนฝ่ายหญิงที่ตั้งครรภ์ เชื่อว่าจะทำให้คลอดลูกยาก เพราะถือคำว่า ญัตติ เป็นคำว่า ยัด ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า ออก เป็นเหตุให้หญิงตั้งครรภ์คลอดลูกยา
ความุ่งหมายที่แท้จริง (ห้ามหญิงตั้งครรภ์เข้าพิธีสังฆกรรมญัตติ)
เพื่อเป็นการป้องกันหญิงมีครรภ์นั่งนาน อาจจะทำให้ปวดเมื่อยและเป็นอันตรายต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์ได้ เพราะพิธีกรรมนี้ต้องใช้เวลานาน ที่สำคัญต้องการความสงบด้วย ซึ่งหญิงมีครรภ์อาจเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย อาจทำให้เกะกะผู้อื่น หรือเกิดความรำคาญต่อคนนั่งข้างๆ ได้
ไม่ว่าพิธีกรรมใดก็ตาม จึงไม่เหมาะสำหรับหญิงตั้งท้องจะเข้าไปร่วมด้วย ยิ่งกว่านั้น ก็คือ ถ้าหากครรภ์แก่มากใกล้คลอดแล้ว เกิดปวดท้องจะคลอดกะทันหันขึ้นมา หรือจะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม ทำให้เธอมีอันต้องคลอดในวันนั้น จะไม่ยุ่งยากกันใหญ่หรือ
เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ โบราณท่านจึงห้ามไว้
(Some images used under license from Shutterstock.com.)