© 2017 Copyright - Haijai.com
โรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์)
โรคสมองเสื่อม คืออะไร
โรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) เป็นโรคชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยมากที่สุด และเป็นแล้วไม่มีวันหาย โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วน ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกผิดแยกถูก มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา มีปัญหาในเรื่องการปรานงานของกล้ามเนื้อ ความทรงจำเสื่อมถอย จนกระทั่งในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด
อนึ่ง อาการที่โดดเด่นของ “โรคอัลไซเมอร์” ก็คือ ความจำในระยะสั้นๆ เสื่อม หรือหลงลืมเรื่องที่เพิ่งจะเกิดไปสักครู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมว่าทานข้าวไปแล้ว ลืมปิดเตารีด ลืมกินยา ใครมาพบวันนี้ก็จำไม่ได้ ลืมชื่อคน ลืมของ หาของใช้ส่วนตัวไม่พบ พูดซ้ำ ถามคำถามซ้ำ จำคำตอบไม่ได้ คิดคำศัพท์บางคำไม่ออก ใช้คำใกล้เคียงแทน สติปัญญาลดลง ทักษะต่างๆ จะเริ่มสูญไป จนทำให้อารมณ์หงุดหงิด และอาจท้อแท้ในการใช้ชีวิต
โรคสมองเสื่อมมักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีอายุราว 65 ปี แต่บางรายก็อาจจะเป็นได้เร็วกว่านั้น อาการเริ่มเป็นใหม่ๆ จะมีอาการขี้ลืม สูญเสียสมาธิ การดำเนินโรคจะค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป และทรุดลงในช่วงระยะ 1-3 ปี เริ่มมีปัญหาในการจดจำในเรื่องวัน เวลา และสถานที่ อาจหลงทาง ลืมชื่อญาติ สับสน หวาดระแวง นอนไม่หลับ มีพฤติกรรมก้าวร้าว คิดคำนวณไม่ได้ ใช้จ่ายทอนเงินไม่ถูก ต่อมาอาการจะยิ่งทรุดหนักขึ้นเรื่อยๆ ความจำเลวลงมาก จำใครไม่ได้เลย เคลื่อนไหวช้า ลังเล ลืมอาบน้ำ ลืมแปรงฟัน ลืมรับประทานอาหาร พูดไม่เป็นประโยค กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ในที่สุดต้องมีคนดูแลตลอดเวลา
โรคสมองเสื่อมสามารถป้องกันได้ ด้วยอาหารหลายชนิด เช่น ผักและผลไม้ ที่มีวิตามิน อี ซี ซึ่งมีอยู่มากในผักและผลไม้ จำพวกมะเขือเทศ แครอท คะน้า และผักโขม
ในวงการแพทย์ได้แบ่งระยะของโรคสมองเสื่อมไว้ 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่หนึ่ง
ผู้ป่วยจะเป็นคนขี้ลืม ลืมนั่นลืมนี้ ลืมปิดประตู ลืมชื่อคน ลืมรับประทานยา ต้องเขียนจดเป็นรายการว่า ในวันหนึ่งๆ จะต้องทำอะไรบ้าง
ระยะที่สอง
ผู้ป่วยจะสูญเสียความจำ ในเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ๆ แต่อาจจะจำเรื่องราวในอดีตได้ อารมณ์จะแปรปรวน และเริ่มใช้คำพูดไม่คล่องแคล่วเหมือยเดิม
ระยะที่สาม
ผู้ป่วยจะสับสนมากขึ้น ไม่รู้วันรู้เดือน ไม่สนใจตนเอง บางรายมีอาการหลงผิด จนเกิดภาพหลอน บางรายอาจจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้
Dr. Alois Alzheimer แพทย์ชาวเยอรมัน ได้กล่าวถึงโรคนี้เอาไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1906 แล้ว ต่อมาผู้ที่เคยเป็นผู้นำประเทศอย่าง โรนัลด์เรแกน ก็ป่วยเป็นโรคนี้ และทำให้เกิดความกระตือรือร้น ในการค้นคว้าหายารักษาโรคนี้ขึ้นมา จนในปัจจุบันมีฤทธิ์ที่ ช่วยทำให้อาการของอัลไซเมอร์ดีขึ้น ในสหรัฐประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้กว่า 3 ล้านคน และจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก เนื่องจากในสมัยปัจจุบัน ประชากรชาวโลกมีอายุยืนยาวขึ้น ดังนั้น จึงมีผู้ป่วยสมองเสื่อมมากยิ่งขึ้นเป็นเงาตามตัว ในประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 5% ของผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคสมองเสื่อม
ปัจจัยเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม ได้แก่
• อายุ เราอาจจะกล่าวได้ว่า อายุยิ่งมากขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมได้มากขึ้น
• กรรมพันธุ์ ถ้ามีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม โอกาสที่ลูกหลานหรือเครือญาติจะเป็นก็มีมากขึ้น
• ความดันโลหิตสูง การที่มีโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ทำให้มีโอกาสเป็นโรคความจำเสื่อมมากขึ้น
การป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
ในทางการแพทย์นั้น ยังไม่แนะนำให้ทานยาใดๆ เพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม และในปัจจุบันยาสมุนไพร และอาหารเสริมส่วนมาก จะมีราคาแพง และมักโฆษณาเกินความเป็นจริง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าในปัจจุบัน โรคสมองเสื่อมจะยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่เราสามารถชะลอสภาวะการทำงานของสมอง ไม่ให้เสื่อมลงไปกว่าเดิมได้ อาทิเช่น การหลีกเลี่ยงจากมลพิษ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดดื่มเหล้าสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงความเครียด และหมั่นฝึกสมาธิ เป็นต้น
มีงานวิจัยทางการแพทย์มากมาย พบว่าโรคสมองเสื่อมสามารถป้องกันได้ ด้วยอาหารหลายชนิด เช่น ผักและผลไม้ที่มีวิตามิน อี ซี ซึ่งมีอยู่มากในผักและผลไม้ จำพวกมะเขือเทศ แครอท คะน้า และผักโขม เนื่องจากผักผลไม้เหล่านี้ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ทำให้ช่วยป้องกันเซลล์สมองจากการถูกทำลาย นอกจากนี้แล้ว DHA ที่มีในไขมันจากปลาทะเล ก็ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ให้กับเซลล์สมองได้เช่นเดียวกัน
ขณะนี้ ยังไม่สามารถป้องกัน และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การดูแล ความเห็นอกเห็นใจ และความเข้าใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วย
รับประทานอาหารจำพวกผลิตภัณฑ์จากนม ปลา ถั่วต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เนื่องจากมีสารโดปามีน (Dopamine) ซึ่งจะช่วยเรื่องเกี่ยวข้องกับสมาธิ ความสนใจ และการเรียนรู้ ในขณะเดียวกัน ก็มีผลต่อคามรู้สึกตื่นตัวอีกด้วย
นอกจากนี้ ขอให้รับประทานสารอาหารคาร์โบไฮเดรต จำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว พาสต้า ผักประเภทหัว ธัญพืช และขนมปัง เนื่องจากอาหารเหล่านี้มี “ซีโรโตนิน (Serotonin)” ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก และควบคุมวงจรการนอนหลับ โดยซีโรโตนิน จะทำงานเฉพาะในบริเวณสมองส่วนกลาง (brain rewards system)
และหมั่นรับประทานอาหารจำพวกไข่แดง ถั่ว ข้าวไม่ขัดสี ตับ เนื้อสัตว์ต่างๆ ปลา นม เนยแข็ง และผัก โดยเฉพาะกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และบร็อคโคลี เนื่องจากอาหารเหล่านี้มี “อะซิทิลโคลีน (Acetylcholine)” ซึ่งมันจะทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์ประสาท ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสร้างความจำอีกด้วย
เนื้อสัตว์ เป็นแหล่งของโปรตีนที่เป็นโครงสร้างของสมอง อีกทั้งยังใช้ในการสร้างสารสื่อประสาท ที่ช่วยในการทำงานของสมอง เนื้อสัตว์มีกรดอะมิโน ที่มีผลต่อการสร้างสารสื่อประสาท ทริปโตแฟน (tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง
อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่มีโปรตีนสูง เช่น อาหารทะเล ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ และนม จะช่วยให้สมองกระฉับกระเฉงและตื่นตัวมากขึ้น
งา และขนมหวาน จะช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และอารมณ์ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามควรพยายามรักษาระดับน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป จะมีผลต่อการทำงานของสมอง จนทำให้เกิดอาการมึนหัว สับสน และอาจถึงกับเป็นลมชักหมดสติได้
ผักและผลไม้ที่มีกากใบ จะช่วยในการดูดซึมน้ำตาล จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ไม่เพิ่มสูงเร็วเกินไป
ไขมัน ร้อยละ 60 เป็นไขมันที่หุ้มเส้นใยประสาท ทำให้เพิ่มความเร็วในการขนส่งกระแสประสาทในสมอง และช่วยเพิ่มความจำด้วย กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ประกอบด้วย EPA (eicosapentaenoic acid) และ DHA (docosahexaenoic acid) มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง มีมากในปลาทะเลทุกชนิด เช่น ปราแซลมอน ปลาทูน่า และปลาซาร์ดีน เป็นต้น
การรักษาโรคสมองเสื่อม
การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในการรักษาโรคสมองเสื่อมนี้ เริ่มมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น จากการวิจัยในต่างประเทศพบว่า ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจน มีโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมน้อยกว่า และเป็นโรคช้ากว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยานี้ นอกจากนี้ จากรายงานทางการแพทย์ยากลุ่มต้านการอักเสบที่เรียกว่า NSAID ก็พบว่า อาจมีบทบาทลดการเกิดของโรคสมองเสื่อม เนื่องจากพบว่า ผู้ที่ป่วยโรคสมองเสื่อมมีประวัติใช้ยากลุ่มนี้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็น นอกจากนี้ ยาหรือสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ เช่น วิตามิน C และ E รวมถึงใบแปะก๊วย ก็กำลังอยู่ในความสนใจ และมีการศึกษากันอย่างกว้างขวางว่า อาจจะช่วยรักษาฟื้นฟู หรือป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
อย่างไรก็ดีขอให้พึงระลึกเอาไว้ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถป้องกัน และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การดูแล ความเห็นอกเห็นใจ และความเข้าใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วย
(Some images used under license from Shutterstock.com.)