Haijai.com


การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด


 
เปิดอ่าน 19835

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

 

 

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน สามารถใช้ตรวจในผู้ที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงเพื่อใช้คัดกรองความเสี่ยงของโรคเบาหวาน และใช้ตรวจติดตามระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม เพื่อชะลอภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและระบบประสาทเสื่อม เบาหวานขึ้นตา หรือโรคไตจากเบาหวาน

 

 

การตรวจวัดระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร

 

การตรวจวัดค่าน้ำตาลหลังอดอาหารหรือ Fasting Blood Sugar (FBS) ทำได้โดยงดอาหารนาน 8 ชั่วโมง เพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยผู้ที่มีอาการแสดงหรือมีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนั้นยังใช้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อประเมินผลการรักษาและตรวจติดตามผู้ป่วยเบาหวาน

 

 

ควรตรวจน้ำตาลบ่อยแค่ไหน

 

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดนี้ใช้ตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงการเป็นเบาหวาน เนื่องจากโรคเบาหวานอาจไม่แสดงอาการของโรค สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน น้ำหนักเกินหรืออ้วน (BMI > หรือ = 25 kg/m ยกกำลัง 2) และอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจเป็นประจำทุกปี หากผลการตรวจปกติให้ตรวจอย่างน้อยทุกปีหรือตามดุลยพินิจของแพทย์

 

 

การแปลผลการตรวจ

 

 ค่าที่ตรวจได้น้อยกว่า 100 mb/dL แปลผลว่า ปกติไม่เป็นเบาหวาน

 

 

 ค่าที่ตรวจได้อยู่ระหว่าง 100 ถึง 125 mg/dL แสดงว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน แนะนำให้ควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และตรวจติดตามระดับน้ำตาลเป็นประจำ

 

 

 ค่าที่ตรวจได้มากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg/dL แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจจยืนยันซ้ำหากพบว่าเป็นโรคเบาหวาน แนะนำให้เข้ารับการรักษาร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนกับอวัยวะในร่างกาย เช่น ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท

 

 

 สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแล้ว ค่าเป้าหมายในการรักษาอยู่ระหว่าง 70 ถึง 1310 mg/dL

 

 

การเตรียมตัวก่อนเจาะเลือดและวิธีการเจาะลือดด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา (Blood Glucose Meter หรือ BGM)

 

 งดน้ำ งดอาหาร อย่างน้อย 8 ชั่วโมง

 

 

 ล้างมือให้สะอาดก่อนเจาะเลือด นวดคลึงปลายนิ้วที่จะเจาะเลือดและเช็ดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ รอให้แห้ง

 

 

 ใช้เข็มใบมีด หรือปากกาที่หัวเข็มเจาะที่ด้านข้างของปลายนิ้ว

 

 

 เช็ดเลือดหยดแรกทิ้งไป นำเลือดหยดที่ 2 ใส่แถบวัด และรอจนเครื่องอ่านค่า

 

 

 ใช้สำลีซับปลายนิ้วที่มีเลือดออก

 

 

นพ.คมน์สิทธิ์ เดชะรินทร์

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

(Some images used under license from Shutterstock.com.)