
© 2017 Copyright - Haijai.com
เฮลท์ตี้กว่า เมื่ออ่านฉลากอาหารเป็น
หลายคนสารภาพว่า เมื่อเลือกซื้ออาหารไม่ว่าจะในร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ต ไม่เคยอ่านฉลากอาหารหรือฉลากโภชนาการเลย บ้างก็ว่าอาหารก็เหมือนๆ กันแหล่ะ ถึงอ่านไปก็ซื้ออยู่ดี บ้างก็ตามใจปากกันจนเคยตัว แต่หากได้ลองอ่านดู บางทีคุณอาจจะเปลี่ยนใจและเปลี่ยนพฤติกรรมไปเลย รวมถึงอาจเปลี่ยนสุขภาพของคุณให้เฮลท์ตี้ขึ้นก็ได้
ความหมายของคำบนฉลากอาหาร เข้าใจตรงกันไหม
แม้จะมีฉลากโภชนาการคอยย้ำกับเราเสมอ เรื่องปริมาณสารอาหารต่างๆ ที่เราเลือกซื้อแต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า คำแต่ละคำบนฉลากมีความหมายอย่างไร ควรบริโภคปริมาณเท่าไรและแค่ไหนจะเป็นโทษต่อสุขภาพ ไปดูกันเลย
• Use by
คำว่า “Use By” ใช้กับอาหารสดที่หมดอายุเร็ว เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อ หรือสลัดพร้อมรับประทาน หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่เปิดรับประทานไปแล้ว ควรมองหาฉลากที่จะมีกำกับไว้เสมอว่า หลังรับประทานแล้วจะเก็บได้นานเท่าไร เพราะหากบริโภคเข้าไปหลัง Use By ล่ะก็ คงไม่พ้นอาหารเป็นพิษแน่ๆ เมื่อซื้อมาแล้วต้องอย่าลืมเก็บแช่ในตู้เย็นเพื่อเก็บรักษาอาหารนั้นๆ ให้อยู่ได้นานมากยิ่งขึ้น และหากเป็นอาหารแพ็คพร้อมรับประทานที่แช่แข็งไว้ หลังละลายน้ำแข็งแล้วต้องรับประทานภายใน 24 ชั่วโมง
• Best Before
ส่วนใหญ่คำๆนี้จะปรากฏอยู่ในฉลากอาหารประเภทแช่แข็ง อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และอื่นๆ อีกข้อแตกต่างระหว่าง Best Before และ Use By คือ “Best Before” มีความหมายในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัย นั่นหมายความว่า แม้ระยะเวลาที่กำหนดใน Best Before จะผ่านเลยไปแล้วก็ไม่ได้แปลว่าจะหมดอายุหรือจะเป็นอันตราย แต่หมายถึงจะทำให้อาหารเสียรสชาติและมีคุณภาพที่เปลี่ยนไป
อย่างไรก็ตาม “ไข่” เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่สามารถรับประทานได้แม้หลังระยะเวลาของ Best Befor ผ่านพ้นไปแล้ว ตราบใดที่ไข่ขาวและไข่แดงนั้นสุก การทำให้สุกเป็นการฆ่าแบคทีเรียซาลโมเนลลา (Salmonella)
• Low fat
โลว์ แฟต หรือไม่โลว์ แฟต วัดจากอะไร หากผลิตภัณฑ์นั้นกำกับไว้ว่า Low Fat เมื่อไรล่ะก็ ต้องมีไขมันไม่เกิน 3 กรัม ต่อ 100 กรัม สำหรับอาหารเหลว และ 1.5 กรัม ต่อ 100 กรัม สำหรับอาหารแข็ง หรือ 1.8 กรัม ต่อ 100 กรัม สำหรับนมกึ่งพร่องมันเนย
No ADDED SUGAR & UNSWEETENED
ไม่ว่าจะน้ำตาลหรือสารให้ความหวานก็เป็นหนึ่งในส่วนผสม เพื่อให้รสชาติอาหารเหมือนกัน ซึ่งไม่ได้แปลว่าอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น จะไม่มีน้ำตาลเลย “No Added Sugar” และ “Unsweetened” เป็นเพียงการบอกถึงวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ รวมถึงชนิดของน้ำตาลและสารให้ความหวานเท่านั้น
• No added sugar
ในที่นี้จะหมายถึงไม่นำน้ำตาลเป็นส่วนผสมเพิ่มเติม เนื่องจากอาหารดังกล่าวยังคงมีรสหวานและมีน้ำตาลอยู่บ้างแล้ว น้ำตาลจากธรรมชาติเราสามารถหาได้จากผลไม้และนม ซึ่งโดยมากเขาจะไม่ตัดรสหวานธรรมชาตินี้ออกไป ซึ่งอาหารที่ไม่เติมน้ำตาลก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีปริมาณน้ำตาลต่ำ เนื่องจากในอาหารอาจมีปริมาณน้ำตาลสูงตามธรรมชาติ เช่น ผลไม้ หรือนมที่มีแลคโตส
• Unsweetened
เช่นเดียวกันกับคำว่า No Added Sugar ด้วยการไม่ใส่สารให้ความหวานเพิ่มเติม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอาหารชนิดนั้นจะไม่มีน้ำตาลธรรมชาติอยู่
• Energy
พลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน เรียกว่า “แคลอรี” มีหน่วยเป็นกิโลจูลและกิโลแคลอรี ซึ่งผู้ชายต้องการพลังงานต่อวันประมาณ 10,500 กิโลจูล (2,500 กิโลแคลอรี) สำหรับผู้หญิงต้องการพลังงานต่อวันประมาณ 8,400 กิโลจูล (2,000 กิโลแคลอรี)
ตัวเลขแบบไหนเริ่ดต่อสุขภาพ
• Total fat (ไขมัน)
สูง : มากกว่า 17.5 กรัม ต่อไขมัน 100 กรัม
ต่ำ : น้อยกว่า 3 กรัม ต่อไขมัน 100 กรัม
• Saturated fat (ไขมันอิ่มตัว)
สูง : มากกว่า 5 กรัม ต่อปริมาณไขมันอิ่มตัว 100 กรัม
ต่ำ : 1.5 กรัม หรือน้อยกว่าปริมาณไขมันอิ่มตัว ต่อ 100 กรัม
• Sugars (น้ำตาล)
สูง : มากกว่า 22.5 กรัม ของปริมาณน้ำตาลทั้งหมด 100 กรัม
ต่ำ : 5 กรัม หรือน้อยกว่า ต่อปริมาณน้ำตาลทั้งหมด 100 กรัม
• Salt (เกลือและโซเดียม)
สูง : มากกว่า 1.5 กรัม ต่อปริมาณเกลือ 100 กรัม (หรือ 0.6 กรัม ของปริมาณโซเดียม)
ต่ำ : 0.3 กรัม หรือน้อยกว่า ต่อปริมาณเกลือ 100 กรัม (หรือ 0.1 กรัม ของปริมาณโซเดียม)
ยกตัวอย่างง่ายๆ หากต้องการลดปริมาณไขมันอิ่มตัวลง ให้ลดปริมาณการทานลงให้ได้น้อยกว่า 5 กรัม ต่อไขมันอิ่มตัว 100 กรัม และอย่าลืมอ่านฉลากโภชนาการทุกครั้งก่อนซื้อนะคะ
(Some images used under license from Shutterstock.com.)