Haijai.com


อาการแบบนี้เลือกอาหารลดโรคอย่างไร


 
เปิดอ่าน 1245

อาหารลดโรค กินเสริมภูมิ

 

 

ใครบ้างที่กำลังประสบปัญหาพัดโรคมารุมเร้า เป็นๆ หายๆ ไม่หายขาดเสียที บ้างก็ไปหาหมอแต่ก็ได้แค่บรรเทาได้ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น นั่นอาจเป็นเพราะอาหารการทานของคุณก็เป็นได้ ดั่งคำกล่าวที่ว่า “You are what you eat” การรับประทานอาหารให้ถูกกับโรค จึงเป็นทางออกที่ต้นเหตุ แต่จะมีอาหารอะไรบ้างที่ทำให้สารพัดโรคของคุณนั้นหายไป ไปดูกันเลย

 

 

 ความดันโลหิตต่ำ

 

ความดันโลหิตต่ำมีได้หลายสาเหตุ อาจเกิดจากการได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ดังนั้น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน หรือเสริมด้วยวิตามิน และเกลือแร่อย่าง วิตามินซี วิตามินบี กรดโฟลิก และธาตุเหล็ก ก็ช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ หลอดเลือด และเม็ดเลือด ให้อาการดีขึ้นได้ นอกจากนี้การแพทย์แผนจีนกล่าวไว้ว่า อาหารบางอย่างอาจส่งผลให้ความดันลดลง เช่น เซเลอรี ฟักเขียว มะระ หอมหัวใหญ่ สาหร่ายทะเล หัวไชเท้า เป็นต้น

 

 

 ความดันโลหิตสูง

 

ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แนะนำให้รับประทานโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารที่ผ่านกระบวนการเพื่อให้เก็บได้นาน เช่น ปลาแดดเดียว หมูแดดเดียว กุนเชียง หมูยอ เนื่องจากอาหารเหล่านี้ จะมีปริมาณโซเดียมสูง รวมไปถึงสารปรุงแต่งรส ไม่ว่าจะเป็นซอส ซีอิ้ว น้ำปลา ซุปก้อน ซุปผง น้ำจิ้มต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีปริมาณโซเดียมสูงทั้งสิ้น ต้องให้ความระมัดระวังในการรับประทาน นอกจากนี้ควรลดและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ด้วย เพราะไขมันเหล่านี้จะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นตามไปด้วยได้

 

 

สำหรับอาหารที่เหมาะกับผู้มีความดันโลหิตสูงนั้น มองหาผักและผลไม้สด อาหารสดที่ไม่ผ่านการแปรรูป มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยทั้งในด้านใยอาหารที่มีมากในผัก รวมไปถึงวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ ควรรับประทานผักสดอย่างน้อย 3 ถ้วยตวงต่อวันและหลากหลายสี เพื่อให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายกลุ่ม และเพิ่มการรับประทานปลาทะเลน้ำลึกที่มีกรดโอเมก้า 3 ที่มีประโยชน์ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย

 

 

 อาการปวดท้อง

 

อาการปวดท้องหรือปวดกระเพาะอาหารเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งระบบย่อยอาหารทำงานไม่สมบูรณ์ ทั้งระบบย่อยอาหารทำงานไม่สมบูรณ์ หรือได้รับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคก็อาจเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ หากปวดท้องจากการได้รับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค จนเกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย ควรรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ เป็นประเภทออาหารอ่อน ย่อยง่าย กากใยน้อย เพื่อลดการทำงานของลำไส้ ร่วมกับการดื่มเกลือแร่ชดเชย เกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป หากปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย ท้องอืด แน่น จุกเสียด อาจเกิดจากระบบย่อยทำงานไม่ดี ลองรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการย่อย เช่น แอปเปิ้ล มะละกอ ร่วมกับหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ชา กาแฟ น้ำอัดลม จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน

 

 

 อาการปวดท้อง

 

อาการปวดหัวที่เกิดจากความเครียด นอกจากจะต้องแก้ปัญหาที่สาเหตุแล้ว การจัดการกับภาวะทางอารมณ์ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ต้องทำร่วมด้วย อาหารเป็นอีกปัจจัยที่มีส่วนช่วยให้ความเครียดลดลง ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาะทะเลน้ำลึก จะช่วยลดการอักเสบ ลดอาการปวดได้ กลุ่มธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่วเมล็ดแห้ง มีใยอาหาร วิตามิน และเกลือแร่สูง ช่วยชะลอระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยให้สารสื่อประสาททำงานได้เป็นปกติ ผัก ผลไม้สด โดยเฉพาะที่มีสีเข้ม ไม่ว่าจะเป็นเขียวเข้ม แดงเข้ม ม่วงเข้ม มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเครียดที่เกิดกับร่างกายได้ นอกจากนี้หากเสริมด้วยอาหารที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น กล้วย นม ที่มีทรปโตฟานสูง จะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ลดอาการปวดหัวได้ สุดท้ายการดื่มน้ำเปล่าที่อุณหภูมิปติจะช่วยให้ระบบทำงานของร่างกายในภาวะเครียดดีขึ้นด้วย

 

 

 อาการปวดหัว

 

อาการปวดข้อจากโรคข้อเสื่อม หรือข้ออักเสบเรื้อรัง อาหารที่ช่วยการอักเสบ คือ อาหารกลุ่มที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ได้แก่ กลุ่มปลาทะเลน้ำลึก กรดไขมันนี้จะช่วยลดอาการอักเสบ ลดการปวด โดยรับประทาน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ผักผลไม้สด โดยเฉพาะผักใบเขียวมีสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และสารต้านอนุมูลอิสระในผักและผลไม้จะช่วยชะลอการเสื่อม ช่วยให้การปวดข้อดีขึ้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด และอาหารที่ผ่านกระบวนการขัดสีขนขาว เช่น น้ำตาล เป็นต้น

 

 

 อาการปวดประจำเดือน

 

อีกหนึ่งปัญหาของสาวๆ ก็คือ อาการปวดประจำเดือนอย่างทรมาน อาหารที่ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ได้แก่ ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มีสารไฟโตเอสโตรเจนสูง ช่วยปรับระดับฮอร์โมน ลดอาการปวดได้ อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง จะเพิ่มการผลิตฮอร์โมนพรอสตาแกรนติสน์ ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ลดอาการปวด พบในปลาทะเลน้ำลึก เพิ่มการรับประทานผักผลไม้สด เพื่อเพิ่มแร่ธาตุแมกนีเซียมและวิตามินบี 6 ลดอาการปวดเกร็งในช่องท้อง ลดความเครียด ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ กาแฟ อาหารที่มีโซเดียมสูง และเนื้อสัตว์ มีงานวิจัยพบว่า หากลดการรับประทานเนื้อสัตว์ลง อาการปวดท้องและบวมน้ำจะลดลงด้วย

 

 

 ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง

 

ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและกรดโฟลิกสูง เช่น ตับ เนื้อแดง เลือดหมู ผักที่มีสีเขียวเข้ม ไข่แดง ฟักทอง ถั่ว โดยรับประทานร่วมกับอาหรที่มีวิตามินซีสูง เช่น แกงส้ม น้ำพริกมะขาม น้ำส้ม น้ำมะนาว ผลไม้สด เช่น ส้ม มะม่วง สับปะรด เนื่องจากวิตามินซีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮีโมโกลบิน เสริมอาหารที่มีวิตามินบี 12 สูง เพื่อเสริมการทำงานของไขกระดูก และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ลดการทำงานหรือลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ได้แก่ ชา กาแฟ ผักโขม ใบชะพลู เมี่ยง รวมไปถึงอาหารที่มีน้ำตาล เกลือและไขมันสูงและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม ร่วมกับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เนื่องจากแคลเซียมจะไปยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก

 

 

อาการแบบนี้เลือกอาหารอย่างไรดี

 

อาการ

ควรรับประทาน

ควรเลี่ยง

ความดันโลหิตต่ำ

อาหารให้ครบ 5 ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน หรือเสริมด้วยวิตามิน และเกลือแร่อย่าง วิตามินซี วิตามินบี กรดโฟลิก และธาตุเหล็ก

เซเลอรี ฟักเขียว มะระ หอมหัวใหญ่ สาหร่ายทะเล หัวไชเท้า

ความดันโลหิตสูง

รับประทานโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ผักและผลไม้สด อาหารสดที่ไม่ผ่านการแปรรูปปลาทะเลน้ำลึก

อาหารหมักดอง อาหารที่ผ่านกระบวนการเพื่อให้เก็บได้นาน เช่น ปลาแดดเดียว หมูแดดเดียว กุนเชียง หมูยอ รวมไปถึงสารปรุงแต่งรส อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง

อาการปวดท้อง ท้องเสีย จากการได้รับเชื้อ

อาหารปรุงสุกใหม่ เป็นประเภทอาหารอ่อน ย่อยง่าย กากใยน้อย ร่วมกับการดื่มเกลือแร่ชดเชย

อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารย่อยยาก

ปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย ท้องอืด แน่น จุกเสียด

อาหารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการย่อย เช่น แอปเปิ้ล มะละกอ

อาหารรสจัด ชา กาแฟ น้ำอัดลม

อาการปวดหัวที่เกิดจากความเครียด

อาหารที่มีโปรตีนและโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาทะเลน้ำลึกกลุ่มธัญพืชไม่ขัดสี ผัก ผลไม้สด โดยเฉพาะที่สีเข้ม อาหารที่มีทริปโตฟานสูง และดื่มน้ำเปล่า

อาหารที่ผ่านกระบวนการขัดสี ของดอง อาหารที่มีน้ำตาลสูง

อาการปวดข้อจากโรคข้อเสื่อม หรือข้ออักเสบเรื้อรัง

ไขมันโอเมก้า 3 สูง ผักผลไม้สด โดยเฉพาะผักใบเขียว

อาหารไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด และอาหารที่ผ่านกระบวนการขัดสีจนขาว

อาการปวดประจำเดือน

ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจนสูง อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ผักผลไม้สดและวิตามินบี 6

กาแฟ อาหารที่มีโซเดียมสูง และเนื้อสัตว์

ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง

อาหารที่มีธาตุเหล็ก และกรดโฟลิกสูง ผักที่มีสีเขียวเข้ม อาหารที่มีวิตามินซีสูง ผลไม้สด อาหารที่มี วิตามินบี 12 และดื่มน้ำสะอาด

ชา กาแฟ ผักโขม ใบชะพลู เมี่ยง รวมไปถึงอาหารที่มีน้ำตาล เกลือและไขมันสูง อาหารที่มีแคลเซียมสูง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

 

 

คุณสรินทร พัฒอำพันธ์

นักโภชนาการ

โรงพยาบาลมิชชั่น

(Some images used under license from Shutterstock.com.)