Haijai.com


โรคกระเพาะอาหาร คืออะไร


 
เปิดอ่าน 7491

โรคกระเพาะอาหาร คืออะไร

 

 

โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง สภาวะที่กระเพาะมีแผลเยื่อบุภายใน และลำไส้ก็ถูกทำลายไปด้วย บางครั้ง อาจจะเรียกว่าร่วมไปกันไปก็ได้ เช่น โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ โรคกระเพาะอาหารนี้พบได้ในทุกเพศทุกวัย

 

 

โรคแผลในกระเพาะอาหารมักพบได้บ่อย ๆ ในประชากรวัยทำงาน และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการสำคัญของโรคนี้ก็เช่น มีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ และมักจะสัมพันธ์กับการกินอาหาร อาการจะดีขึ้น เมื่อรับประทานอาหาร ยาลดกรด อาการมักเป็นๆ หายๆ อาจจะเป็นช่วงแรก ไม่นานแล้วก็หายไป แล้วเป็นใหม่อีกครั้ง  จนกลายเป็นแผลเรื้อรัง บางครั้งอาจมีผลแทรกซ้อน จนทำให้มีเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร หรืออาการหนักมาก คือ แผลนั้นทะลุจนเกิดการอักเสบในช่องท้อง ต้องเข้ารับการผ่าตัด ฉุกเฉินก็เป็นได้

 

 

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

 

 สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมาย แต่เชื่อกันว่า สาเหตุส่วนใหญ่ มักเกิดจากการมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง

 

 

 สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้ กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก เช่น เกิดจากความเครียด วิตกกังวล และอารมณ์

 

 

 การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก

 

 

 การสูบบุหรี่ ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามากจนทำให้เป็นโรคกระเพาะ

 

 

 การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู

 

 

 การกินอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้กระเพาะเป็นแผล

 

 

 มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจากการกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์

 

 

การป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร

 

 รับประทานอาหารอย่างช้าๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด

 

 

 ระหว่างรับประทานอาหาร อย่าเคร่งเครียด

 

 

 ให้รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ และให้รับประทานอาหารว่างระหว่างมื้อ อย่าให้เกิดภาวะที่หิวมาก หรืออิ่มมากเกินไป

 

 

 หลังรับประทานอาหารอย่าเพิ่งนอน ให้นั่ง หรือเดินไป-มา อย่างน้อย 1 ชั่วโมง

 

 

 ไม่ควรดื่มนมหรือครีมมากเกินไป เพราะจะทำให้กรดหลั่งมากในกระเพาะอาหาร

 

 

 อย่ารับประทานอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง เพราะอาหารมื้อนั้น จะทำให้กรดหลั่งออกมามากจนเกินไป

 

 

 เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ และงดเครื่องดื่มบางอย่าง เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะเขือเทศ น้ำมะนาว เป็นต้น

 

 

 ยาน้ำลดกรด ควรรับประทานให้ถูก โดยรับประทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง และหลังอาหาร 3 ชั่วโมง และก่อนนอน

 

 

การให้ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ต้องกินยาอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลาที่แพทย์กำหนด ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย

 

 

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

 

 

วิธีการรักษาโรคกระเพาะอาหาร ด้วยการกำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่

 

 กินอาหารให้เป็นเวลา อย่าปล่อยให้ท้องว่างเด็ดขาด

 

 

 งดอาหารสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด

 

 

 งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร

 

 

 งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร

 

 

 พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ตึงเครียดมากเกินไป

 

 

วิธีการรักษาโรคกระเพาะอาหารด้วยยา ได้แก่

 

การให้ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ต้องกินยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวนและระยะเวลาที่แพทย์กำหนด ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้น ห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์ต้องแน่ใจว่า แผลในกระเพาะอาหารหายขาดแล้ว จึงจะลดยาได้

 

 

ในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

 

1.ยาลดกรด (antacid)

 

 

2.ยาลดการหลั่งกรด (acid-suppressing drugs)

 

 

3.ยาปฏิชีวนะ เช่น metronidazole, tetracycline, clarithromycin และ amoxicillin

 

 

4.ยาเคลือบกระเพาะ (Stomach-lining protector) เช่น bismuth subsalicylate.sucralfate

 

 

วิธีการรักษาโรคกระเพาะอาหารด้วยการผ่าตัด ได้แก่

 

หากรักษาโรคกระเพาะอาหารด้วยการใช้ยา แล้วอาการไม่ดีขึ้น ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน อาทิ เช่น ไม่สามารถทำให้หยุดเลือดไหลได้ แผลกระเพาะอาหารและล้ำไส้เล็กเกิดการทะลุ และกระเพาะอาหารมีการอุดตัน เป็นต้น

(Some images used under license from Shutterstock.com.)