Haijai.com


โบท็อกซ์ รักษาอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ


 
เปิดอ่าน 3983

โบท็อกซ์ รักษาอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ

 

 

จริงๆ แล้วโบท็อกซ์ หรือโบทูลินัมท็อกซิน ชนิด เอ (Botulinum toxin Type A) เองก็มีหลายชนิดเลยทีเดียว แต่ละชนิดก็มีข้อดีและเสียแตกต่างกันไป ซึ่งชนิด A เป็นชนิดที่ดีและเหมาะสมที่สุด จึงมีคนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย การใช้โบท็อกซ์รักษาผู้ที่มีอาการความเคลื่อนไหวผิดปกตินั้น สำหรับผู้ที่รักษ่าด้วยการใช้ยาแล้วยังไม่ได้ผล ขนาดยาจะขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อว่าจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อมัดใหญ่หรือเล็ก ปริมาณยาและความเข้มข้นจึงแตกต่างกัน ซึ่งโรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ จะประกอบไปด้วย

 

 

โรคพาร์กินสัน

 

จริงๆ แล้ว การรักษาโรคพาร์กินสันที่ดีที่สุดคือ “การให้ยา” แต่จะมีอาการบางอาการที่ยา อาจไม่สามารถควบคุมอาการได้ เช่น อาการสั่นในพาร์กินสันในกรณีที่สั่นมากๆ น้ำลายไหล ลืมตาลำบาก แพทย์จะทำการฉีดโบท็อกซ์โดยฉีดลงไปบริเวณกล้ามเนื้อที่มีอาการสั่น เพื่อรักษาให้อาการต่างๆ สงบลงหรือฉีดไปที่ต่อมน้ำลาย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลืนได้สะดวกมากขึ้น มีการสร้างน้ำลายลดลง

 

 

ตำแหน่งที่ฉีด

 

ต้องพิจารณาผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ว่าบริเวณใดที่กล้ามเนื้อกระตุกมากๆ เช่น ขอบตาด้านนอก-ใน เป็นต้น หรือโรคคอเอียงและมีการดึงกลับของกล้ามเนื้อทำให้มีอาการสั่น หรือคอกระตุก ซึ่งการรักษามีทั้งการรับประทานยา การฉีดโบท็อกซ์ และการผ่าตัด

 

 

โรคกล้ามเนื้อเกร็ง

 

หนังตาผู้ป่วยเกิดการดึงรั้ง เกิดกล้ามเนื้อกระตุกผิดปกติ วิธีแรกแพทยอาจจะให้ผู้ป่วยลองรับประทานยาก่อน อาการจะดีขึ้นได้ ประมาณ 20-30% หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาการฉีดสารโบทูลินัม ท็อกซิน ชนิด เอ (โบท็อกซ์) ซึ่งอาการจะเห็นผลดีได้ประมาณ 80-100% หากผู้ป่วยบางรายมีความผิดปกติของเส้นเลือดสมองที่กระทบกับเส้นประสาท ก็จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อแยกเส้นประสาทกับเส้นเลือดออกจากกัน ซึ่งก็ต้องระวังผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดอย่างมาก

 

 

โรคกล้ามเนื้อเกร็งจากอัมพาต

 

กล้ามเนื้อเกร็งทำให้ข้อศอกติดยึด ข้อมือพับลง เอ็นหดตัวทำให้เหยียดไม่ได้ การดูแลรักษาความสะอาดจึงยากขึ้น เมื่อมือเกร็งกำมืออยู่แบไม่ได้ ทำให้ฝ่ามือชิ้นจนเกิดเชื้อรา มีการอักเสบ มีกลิ่นเหม็น การฉีดโบท็อกซ์จะทำให้กล้ามเนื้อเหยียดออกได้ง่าย และทำกายภาพบำบัดได้ง่ายขึ้นด้วย

 

 

สำหรับผู้ที่มีเหงื่อออกมากผิดปกติ เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ หรือจากกรรมพันธุ์ แม้จะพบได้น้อยแต่ก็สร้งความลำบากใจแก่ผู้ป่วยได้ไม่น้อยทีเดียว การรักษาจะฉีดบริเวณปลายนิ้ว ข้อเสียคือการฉีดที่ปลายนิ้วจะทำให้เจ็บมาก โบทูลินัม ท็อกซิน ชนิด เอ จะทำให้เหงื่อแห้งลง หรือสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

 

 

ผลข้างเคียงของการฉีดโบท็อกซ์

 

 กล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณที่ฉีด

 

 

 หากฉีดที่หนังตา อาจมีผลข้างเคียงให้หนังตาตกได้

 

 

 เป็นจ้ำ ช้ำบริเวณที่ฉีด

 

 

 ตาแห้ง มองเห็นภาพซ้อน

 

 

 เหงื่อออกน้อยลง

 

 

 ปวดบริเวณที่ฉีด

 

 

ในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้ยาอาจมีผื่นคัน แดง

 

 

นายแพทย์อภิชาติ พิศาลพงศ์

อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท

โรงพยาบาลกรุงเทพ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)