© 2017 Copyright - Haijai.com
เบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้อย่างไร
• ตับอ่อนอาจจะทำงานผิดปกติตั้งแต่แรก
• มีภาวะบางอย่างที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับอ่อน หรือกรรมพันธุ์บางอย่างที่ทำให้มีการใช้น้ำตาลผิดปกติ
• มีฮอร์โมนมาต้านฤทธิ์หรือรบกวนการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินระหว่างการตั้งครรภ์
เนื่องจากการที่เด็กนอนแช่อยู่ในเลือดแม่ที่มีน้ำตาลสูงจะเป็นผลเสียกับเด็ก ทำให้เด็กสร้างอินซูลินไปเก็บน้ำตาล เมื่อเก็บไปแล้วก็สะสมไปเป็นไขมัน เด็กก็จะอ้วนฉุตั้งแต่อยู่ในท้อง ปอดเด็กซึ่งมีเซลล์บางอย่างในการสร้างโปรตีนบางอย่าง ที่ทำให้ปอดสมบูรณ์เร็วก็จะช้าลง ปอดก็จะสมบูรณ์ช้า จากที่เคยมีน้ำตาลเลี้ยงตัวเองอยู่เยอะในครรภ์ เมื่อออกมาจะขาดน้ำตาล อินซูลินทำงานมาก ทำให้น้ำตาลจะต่ำ เกลือแร่ในเลือดบางอย่างก็ผิดปกติ เช่น แคลเซียมในเลือดต่ำ ตัวเหลือง ปอดสมบูรณ์ช้าทำให้มีปัญหาทางการหายใจ แพทย์จึงต้องกำหนดเวลาคลอดให้เหมาะสม เพื่อเลี่ยงการเข้าตู้อบหรือใช้เครื่องช่วยหายใจหลังคลอด
คุณแม่บางคนสนใจแต่น้ำตาลในเลือดของตัวเอง รับประทานน้อย กลัวอ้วน ทำให้เด็กในครรภ์ได้รับสารอาหารน้อย ทำให้เด็กไม่โต ซึ่งแพทย์จะคำนวณอาหารให้ว่าควรทานประเภทใด ใดส่วนเท่าไหร่ ซึ่งการทานอาหารก็จะแบ่งเป็นมื้อๆ ไม่เหมือนคนทั่วไป คือ คนทั่วไปทาน 3 มื้อ แต่สำรหับคุณแม่ตั้งครรภ์จะให้ทาน 3 มื้อ แต่มีอาหารว่างอีก 1 มื้อ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในร่างกายสม่ำเสมอ ซึ่งหลังคลอดแล้วฮอร์โมนที่รกสร้างขึ้นมา ต้านอินซูลินก็จะหายไป การควบคุมเบาหวานจะง่ายขึ้น แต่ถ้าเป็นคนไข้ที่ขาดอินซูลินมาก คนไข้ก็จะยังเป็นเบาหวานเหมือนเดิม
พล.ร.ต. ใช่สกุล บุญยวิโรจ
สูตินรีแพทย์, มะเร็งนรีเวช, ผ่าตัดผ่านกล้อง
โรงพยาบาลพญาไท 1
(Some images used under license from Shutterstock.com.)