Haijai.com


วัคซีนนี้เพื่อลูกตัวน้อย


 
เปิดอ่าน 2733

วัคซีนนี้เพื่อลูกตัวน้อย

 

 

เจ้าหนูตัวเล็กเมื่อแรกเกิดก็ต้องเจอเรื่องเจ็บตัวเข้าซะแล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งตกใจกันไปค่ะ เพราะที่บอกว่าลูกต้องเจ็บตัวนั้น ก็เพราะเจ้าหนูตัวเล็กจำเป็นต้องได้รับวัคซีน นั่นก็เพราะร่างกายของลูกยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงดีพอที่จะรับมือกับเชื้อโรคต่างๆ  จึงจำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดได้ และก็จำเป็นต้องได้รับตั้งแต่แรกเกิด (ตารางการรับวัคซีนของทารก สามารถดูได้จากสมุดประจำตัวลูกแรกเกิด ว่าควรต้องได้รับวัคซีนไปจนถึงอายุเท่าไหร่)

 

 

วัคซีนที่ทารกควรได้รับตั้งแต่แรกเกิด- 12 เดือน

 

 

อายุ

วัคซีน

จำนวนครั้ง

แรกเกิด

1 เดือน

2 เดือน

4 เดือน

6 เดือน

9 เดือน

12 เดือน

วัคซีนวัณโรค (BCG)

1 ครั้ง

ครั้งที่ 1

 

 

 

 

 

 

วัคซีนตับอักเสบบี (HBV)

3 ครั้ง

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

 

ครั้งที่ 3

วัคซีนคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก (DPT)

3 ครั้ง

 

 

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

 

 

วัคซีนโปลิโอ

3 ครั้ง

 

 

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

 

 

วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR)

1 ครั้ง ตั้งแต่ อายุ 9 เดือน

 

 

 

 

 

ครั้งที่ 1

วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) ชนิดเชื้ออ่อนฤทธิ์

1 ครั้ง ตั้งแต่ อายุ 9 เดือน

 

 

 

 

 

ครั้งที่ 1

วัคซีนเสริม

วัคซีนเยื่อหุ้มสมองฮิบ (Hib)

3 ครั้ง

 

 

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

 

 

วัคซีนนิวโมคอคคัส (IPD)

3 ครั้ง ตั้งแต่ อายุ 2 เดือน

 

 

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

 

 

วัคซีนโรตา (Rota)

2 ครั้ง

 

 

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

 

 

 

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

2 ครั้ง

 

 

 

 

ครั้งที่ 1และครั้งที่ 2

วัคซีนสุกใส (Varicella)

1 ครั้ง

 

 

 

 

 

 

ครั้งที่ 1

 

 

 

ข้อควรทราบเกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิด

 

 

วัคซีนวัณโรค (BCG)

 

หลังฉีดประมาณร้อยละ 1-2 อาจจะพบปฏิกิริยาเป็นฝีหนอง ต่อมน้ำเหลืองโตเฉพาะที่ และตำแหน่งที่ฉีดเป็นตุ่มนูนแจกเป็นแผล ปฎิกิริยานี้จะอยู่นานประมาณ 3 เดือน และมักมีรอยแผลเป็นเกิดขึ้น

 

 

วัคซีนตับอักเสบบี (HBV)

 

อาจจะพบว่ามีอาการปวดบวมบริเวณที่ฉีดหรือไข้ ซึ่งมักจะเริ่มเป็นหลังจากฉีดได้ 3-4 ชั่วโมง และเป็นไม่เกิน 24 ชั่วโมง ควรให้ยาลดไข้แก่เด็กที่มีไข้หรือร้องกวน และอาจจะมีอาการอื่นได้บ้างเช่น ครั่นตัว อ่อนเพลีย ไม่มีผลกับการเกิดภาวะทารกตายฉับพลัน (Sudden infant death syndrome, SIDs)   

 

 

วัคซีนคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก (DPT)

 

มีวัคซีนที่รวมโปลิโอไว้ด้วย และ มีวัคซีนรวมที่รวมทั้งโปลิโอและไวรัสตับอักเสบบีไว้ด้วยสำหรับอายุ 6 เดือน เมื่อได้รับวัคซีนครบตามกำหนดภูมิคุ้มกันจะเริ่มเกิดประมาณ 2 สัปดาห์หลังได้รับวัคซีนเข็มแรก มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโรคคอตียได้ร้อยละ 95 โรคบาดทะยักได้ร้อยละ 100 โรคไอกรนได้ร้อยละ 50-90 โดยภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ และบาดทะยักอยู่ได้นาน 10 ปี โรคไอกรนอยู่ได้นาน 5-7 ปี หลังจากฉีดอาจจะพบอาการ ปวด บวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีด ไข้ ร้องกวน แนะนำให้ประคบเย็นและให้ยาลดไข้บรเทาปวด หากมีปฎิกิริยาแพ้ที่รุนแรงแนะนำให้รีบไปพบแพทย์

 

 

วัคซีนโปลิโอ

 

มีทั้งชนิดที่หยอดให้รับประทานและชนิดฉีดที่รวมกับวัคซีนคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก  ในกรณีที่ใช้ชนิดกินต้องระวังผลข้างเคียงที่อาจจะทำให้เกิดอัมพาต (Vaccine-associated paralytic poliomyelitis, VAPP)ได้ในอัตรา 1:24 ล้านโด๊ส และห้ามให้หากในครอบครัวมีคนที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ ในกรณีที่ใช้แบบฉีดอาจจะเจ็บปวดเฉพาะบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย ไม่มีปฎิกิริยารุนแรง ไม่ควรให้กับเด็กที่มีประวัติแพ้ยาฆ่าเชื้อ  Sterptomycin, Neomycin หรือ Polymycin B ซึ่งเป็นส่วนผสมในวัคซีน

 

 

วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR)

 

หลังฉีดอาจจะพบอาการ ไข้ ผื่น ซึ่งมักเกิดหลังฉีดวัคซีน 6-12 วัน ไข้มักอยู่เพียง 1-2 วัน ต่อมน้ำเหลืองโต เกร็ดเลือดต่ำซึ่งจะหายได้เอง เป็นต้น และวัคซีนนี้ไม่ทำให้เด็กเป็นโรคออทิสติก

 

 

วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE)

 

หากเป็นวัคซีนเชื้อตาย แนะนำให้เริ่มฉีดเข็มที่ 1 ที่อายุ 12 เดือน และเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-4 สัปดาห์ และเข็มกระตุ้นห่างจากเข็มแรก 1 ปี  หากเป็นวัคซีนเชื้ออ่อนฤทธิ์ เริ่มฉีดที่อายุ 9-12 เดือน และเข็มกระตุ้นห่างจากเข็มแรก 3-12 เดือน หลังฉีดอาจจะพบว่ามี ไข้ ผื่น ปวด บวมบริเวณที่ฉีดได้

 

 

วัคซีนเยื่อหุ้มสมองฮิบ (Hib)

 

หลังฉีดอาจจะพบว่ามี ไข้ ผื่น กระสับกระส่าย ปวด บวมบริเวณที่ฉีดได้ เมื่อฉีดพร้อมกับวัคซีนคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก จะไม่ทำให้ปฎิกิริยาเพิ่มขึ้น

 

 

วัคซีนนิวโมคอคคัส (IPD)

 

หลังฉีดวัคซีนอาจบพว่าบริเวณที่ฉีดมีอาการปวด บวมแดง ผื่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ถ่ายเหลว และมีไข้ 1-2 วันหลังฉีดได้บ้าง

 

 

วัคซีนโรตา (Rota)

 

วัคซีนโรตาของบางบริษัทสามารถหยอดพียง 2 ครั้ง บางบริษัทต้องหยอด 3 ครั้ง ปฎิกิริยาหลังจากฉีดวัคซีนอาจพบได้บ้างแต่ไม่มาก เช่น ไข้ เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว อาเจียน งอแง ไม่ได้ทำให้เกิดภาวะลำไส้กลืนกัน (Intussusception) เพิ่มขึ้น

 

 

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

 

ในการฉีดครั้งแรกต้องฉีด 2 ครั้ง โดยแต่ละข็มจะฉีดห่างกัน 1 เดือน หลังฉีดวัคซีนอาจพบว่ามีอาการไข้ น้ำมูก ปวดศีรษะ อาเจียนปวดเมื่อย ไม่ควรให้ในเด็กที่แพ้ไข่ หรือกำลังรักษาด้วยยาแอสไพริน

 

 

วัคซีนสุกใส (Varicella)

 

เข็มแรกฉีดได้ตั้งแต่อายุ 12-18 เดือน  หลังฉีดอาจพบอาการปวด บวมแดงบริเวณที่ฉีด ผื่น ไข้ ไม่ควรให้ในคนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติหรือใช้ยากดภูมิคุ้มกัน แพ้ Gelatin หรือ ยาฆ่าเชื้อ Neomycin

 

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน

 

1.คุณพ่อคุณแม่ควรทราบว่า ลูกได้รับวัคซีนอะไรบ้างในแต่ละครั้ง และสังเกตอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากพาลูกไปฉีดวัคซีน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ให้การดูแลได้อย่างถูกต้อง

 

 

2.การฉีดวัคซีนบางชนิดต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง และต้องฉีดอีกเป็นครั้งคราวจึงจะได้ผลป้องกันโรคได้เต็มที่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกมาตามที่คุณหมอนัดทุกครั้ง

 

 

3.ในวันนัดฉีดวันซีน ถ้าลูกเป็นไข้ ควรเลื่อนไปจนกว่าลูกจะหายไข้

 

 

4.ในรายที่ไม่สามารถมาตามนัดได้ อย่าเลิกไป ควรพาลูกไปรีบวัคซีนให้ครบไม่ว่าจะเว้นไปนานเท่าไหร่ ก็ให้ต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องตั้งต้นใหม่

 

 

5.ถ้าลูกมีอาการรุนแรงหลังฉีดวัคซีน เช่น ชัก ไข้สูงมาก ควรแจ้งคุณหมอทราบก่อนฉีดครั้งต่อไป

 

 

6.การฉีดวัคซีน BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค ซึ่งเด็กแรกเกิดทุกคนจะได้รับการฉีดที่ไหล่ซ้าย หลังจากฉีดแล้วจะไม่มีแผล แต่ต่อมาประมาณ 3-4 อาทิตย์ จะเห็นเป็นตุ่มขึ้นมา บวมแดง แตก อาจมีหนองหรือไม่มีหนองก็ได้ ให้เช็ดผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาด และเช็ดให้แห้งด้วยแอลกอฮอล์ 70% ทุกครั้งที่แผลเปียก ตุ่มนี้จะค่อยๆ แห้งลง

 

 

7.หลังการฉีดวัคซีนบางชนิด เด็กอาจตัวร้อนอยู่ประมาณ 1-2 วัน ควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น และให้ยาลดไข้ตามที่คุณหมอแนะนำ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)