
© 2017 Copyright - Haijai.com
กลื่นยาลำบาก แก้ไขอย่างไร
คนส่วนมากไม่มีปัญหาในการกลืนยาเม็ด แต่คนบางคนมีปัญหามาก ปัญหานี้ส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางจิตใจ บางคนกลัวจะสำลัก บางคนมีประสบการณ์กลืนยาแล้วสำลักมาก่อนในวัยเยาว์ ทำให้เกิดความขยาด พอจะกลืนยาจึงทำให้ช่องคอเกร็งตีบตันขึ้นมาทันที ทำให้มีปัญหากลืนยาไม่ลง เป็นผลให้มีปัญหาในการรักษา ปัญหาแบบนี้ทำให้มทั้งหมอและพยาบาลปวดหัวได้มาก
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ด้วยความเข้าใจและการฝึกเพียงเล็กน้อย สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ในการกลืนเม็ดยาได้ไม่ยาก โดยแนะนำว่า
• ทำตัวผ่อนคลาย ก่อนกินยาพยายามเตรียมจิตใจ โดยการหายใจลึกๆ และบอกตัวเองว่าเม็ดยานี้มีขนาดเล็กกว่าก้อนอาหาร ก้อนลูกชิ้นที่เราเคยกินเสียอีก ถ้ากลัวว่าเม็ดยาจะสำลัก (คือลงไปในหลอดลม) ก็ไม่ควรกลัว เพราะร่างกายมีกลไกอัตโนมัติป้องกันการสำลัก โดยในขณะที่เรากลืนหลอดลมจะปิดตัวมันเองโดยอัตโนมัติ
• ซ้อมก่อนกินยา คือ ลองเอาลูกกวาดหรืออาหารอย่างอื่นมาลองกลืนดูก่อน ลองจากก้อนเล็กๆ แล้วเพิ่มเป็นก้อนใหญ่ ถ้าเรากลืนมันได้ เราก็กลืนยาได้เช่นกัน
• เวลากลืนยาให้อยู่ในท่านั่ง เพื่อให้แรงโน้มถ่วงของโลกช่วยให้ยาถูกกลืนลงไปง่ายึ้น จิบน้ำดูก่อน จากนั้นเอาเม็ดยาวางบนลิ้น แล้วจิบน้ำและปล่อยให้ยาถูกกลืนลงไปพร้อมกับน้ำ
• หันหน้าไปทางใดทางหนึ่งเวลากลืนยา เพราะการทำอย่างนั้นมีส่วนช่วยให้ช่องลำคอมันเปิดกว้างมากขึ้น ทำให้ยาลงไปได้ง่าย
• ถ้าทำอย่างนั้นแล้ว ยังทำยากก็อาจจะใช้วิธีบดบังยา เช่น เอาไปฝังไว้ในซอสหรือในขนมชั้น แล้วทำการกลืนมันพร้อมกับน้ำ โดยไม่ต้องเคี้ยว
การกลืนยาสำหรับคนที่ไม่มีปัยหาในการกลืน ก็ควรระวังเรื่องการกลืนยาเม็ดใหญ่ไว้ด้วย เวลากลืนยาควรจะต้องดื่มน้ำตามไปให้เพียงพอ เพราะยาเม็ดใหญ่อาจจะลงไปครูดหลอดอาหาร ซึ่งเป็นส่วนของทางเดินอาหารจากคอถึงกระเพาะอาหาร ทำให้หลอดอาหารเป็นแผล แผลอย่างนี้มีเกิดขึ้นมากพอสมควร และทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกตรงระดับที่เป็นแผล ซึ่งถ้าตรงกับบริเวณหัวใจ ก็อาจจะทำให้คนไข้วิตกกว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือไม่ จนบางรายจำเป็นต้องส่องกล้องตรวจหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เมื่อตรวจหัวใจไม่พบความผิดปกติ
(Some images used under license from Shutterstock.com.)