
© 2017 Copyright - Haijai.com
อาการแบบนี้ คุณขาดโภชนาการอาหารรึเปล่า?
แค่ป่วยนิดเดียวทำเอาคุณโทรมไปหลายวันแล้วใช้มั้ย? คงต้องปรับโภชนาการอาหารใหม่ช่วยแล้ว ร่างกายพยายามบอกคุณเรื่องโภชนาการอาหาร นับตั้งแต่อาการปวดหัวไปถึงแผลเรื้อรัง ไม่ยอมหายรวมทั้งปัญหาสุขภาพก็เป็นตัวบอกว่าร่างกายต้องการโภชนาการอะไรมากระตุ้น
ปวดหัวบ่อย ขาดธาตุแมกนีเซียม
การขาดแมกนีเซียมเป็นเรื่องที่พบในคนที่มีอาการไมเกรน โดยเฉพาะตอนมีประจำเดือน การศึกษาพบว่าระดับแมกนีเซียมในสอมงดิ่งวูบเวลาเกิดอาการปวดหัว แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งจากการทดลองพบว่าการเพิ่มระดับโภชนาการนี้ จะช่วยป้องกันอาการปวดหัวได้ กินผักใบเขียว รวมทั้งถั่ว และโอลเกรน ปริมาณประจำวันคือ 320 มก. มีในอัลมอน์ 30 กรัม (80 มก.), ผักขมต้มสุก 1 ถ้วย (156 มก.) ถั่วแดงกระป๋อง 1 ถ้วย (70 มก.)
มีปัญหาการนอน อาจขาดวิตามินดี
การศึกษาพบว่าการขาดวิตามินดีเป็นสาเหตุความผิดปกติในการนอน และยังค้นพบว่าการนอนกลางวันยิ่งแย่หนักเข้าไปอีก ยิ่งระดับวิตามินดีของคุณต่ำยิ่งทำให้มีความเชื่อมโยงกับบทบาทวิตามินดี ในการกระจายอาการอักเสบ คุณควรรับแสงแดดอย่างพอเพียงเพราะไข่ ตับและปลามีน้ำมัน ควรทาครีมกันแดดเวลาออกไปรับแดด ส่วนระดับจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับสถานที่คุณพำนัก และสีผิวตามธรรมชาติของคุณ
ท่อปัสสาวะอักเสบบ่อย กินโปรไบโอติก
จากากรศึกษาพบว่าสตรีที่รับโปรไบโอติค เป็นประจำจะไม่ค่อยมีอาการท่อปัสสาวะอักเสบ เพราะโปรไบโอติค เข้าไปครอบครองระบบการย่อย แทนที่แบคทีเรีย อี.โคไล ที่เป็นตัวก่ออาการติดเชื้อ จึงควรดื่มนมที่มีโปรไบโอติก เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
ผิวขาดความเปล่งปลั่ง กินคาโรทีนอยด์เพิ่มมากขึ้น
การค้นคว้าที่อังกฤษบอกว่าแคโรทีนอยด์ เป็นตัวสร้างหรือทำลายสีสันผิวพรรณ หลังจากรับโภชนาการที่เพียบไปด้วยคาโรทีนอยด์ 6 สัปดาห์จะพบว่าผิวพรรณสดขึ้น เพราะคาโรทีนอยด์เป็นพิกเมนท์ที่ทำให้ผักเป็นสีส้ม แดงและเหลือง เพิ่มการรับคาโรทีนอยด์ด้วยการบริโภคแครอท ฟักทอง และพริกหยวกแดงเพิ่มพิเศษวันละสองเสิร์ฟ
อาการหอบหืดคุณกำเริบ ต้องการกากใยมากขึ้น
นักค้นคว้าพบว่าคนเป็นหอบหืดต้องการโภชนาการกากใยสูง ทำให้ปอดทำงานและช่วยปรับปรุงอาการหลอดลมอักเสบให้ดีขึ้นได้ เมื่อเพิ่มปริมาณการรับกากใย ซึ่งผลิตกรดระหว่างกระบวนการย่อยที่ช่วยกระจายปฏิกิริยาตอบโต้ต่อต้านจากร่างกาย คุณต้องรับกากใยวันละ 30 กรัม แหล่งกากใยที่ดีคือ ผัก ผลไม้ ไม่ปอกเปลือก เช่น แอปเปิ้ลขนาดใหญ่ มีกากใย 5.2 กรัม ถั่วและเลนทิล (ถั่วกระป๋องหนึ่งถ้วยมีกากใย 9.4 กรัม) วีท แบรน 1 ถ้วย มีกากใย 26 กรัม
มีปัญหาเรื่องความเครียด ต้องการวิตามิน B
นักวิทยาศาสตร์บอกว่าโภชนาการอาหารของคนส่วนใหญ่มักขาดวิตามินบีทั้งแปด ซึ่งช่วยผลิตสัญญาณรับส่งของสมองที่เกี่ยวพันกับสภาพจิตที่ดี การค้นคว้าพิสูจน์ว่าระดับความเครียดของคนเราลดลง 20% หลังรับวิตามินบีเสริมนาน 3 เดือน ให้รับวิตามินบีสูง เช่น เนื้อสัตว์ ถั่ว และโฮลเกรน ถ้าคุณเลือกอาหารเสริม ให้เลือกวิตามินบีคอมเพล็กซ์ชนิดเม็ดปริมาณวันละ 1 เม็ด
เป็นหวัดนานๆ ไม่ยอมหายสักที ต้องการสังกะสี
การค้นคว้าพบว่าสังกะสีช่วยทำให้หวัดหายเร็วขึ้น 2 วัน เพราะยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้กระเจิงจนคุมไม่อยู่ อาการหวัด เช่น ไอ และจามเกิดปฏิกิริยา จากภูมิคุ้มกันต่อไวรัส แทนที่เป็นตัวไวรัสเอง นี่คือเหตุผลว่าการกินสังกะสีชนิดเม็ดตอนเริ่มเป็นหวัดช่วยลดความหนักของอาหารได้ สิ่งควรทำคือการบริโภคสังกะสีอย่างน้อยวันละ 8 กรัม แหล่งสังกะสีที่ดี คือ หอยนางรม 1 ตัว ปูต้มสุกแล้ว 3 ช้อนโต๊ะ เนื้อสุกแล้ว 100 กรัม
ปากเป็นแผลบ่อยๆ ควรเพิ่มวิตามินบี 12
วิตามินช่วยร่างกายผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ระดับวิตามินบี 12 ต่ำ จะมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงอาการปากร้อนใน ซึ่งคนที่เกิดอาการนี้บ่อยๆ เมื่อรับวิตามินบี 12 ประจำวันนาน 6 เดือนก็พบว่า 74% หายได้ ด้ยการกินผลิตภัณฑ์จากสัตว์มากขึ้น เช่น ไข่ นม ปลา หรือกินชนิดเม็ดเสริม โดยเฉพาะถ้าเป็นมังสะวิรัติ ปริมาณประจำวันพึงรับคือ 2.4 ไมโครกรัม วิตามินบี 12 มีในไข่ต้มฟองใหญ่ 1 ฟอง (วิตามินบี 12 0.6 ไมโครกรัม) นมไขมันต่ำหนึ่งถ้วย (วิตามินบี 12 12 ไมโครกรัม) ปลาทูน่ากระป๋องขนาด 85 กรัม (มีวิตามินบี 12 2.5 ไมโครกรัม)
เป็นแผลไม่ยอมหาย กินโปรตีนมากขึ้น
การศึกษาบอกว่าการขาดโปรตีนเป็นความเสี่ยงหลักที่ทำให้บาดแผลแย่ลงแทนที่จะดีขึ้น การค้นคว้ายังโยงอาหารโปรตีนสูงกับเวลาการเยียวยาเร็วขึ้น ถ้าปราศจากโปรตีนอย่างพอเพียง ผิวเริ่มพยายามสร้างหลอดเลือดฝอย และคอลลาเจนใหม่ขึ้นมา ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นกลไกลการเยียวยาที่สำคัญยิ่ง ให้คำนวณน้ำหนักตัวกิโลกรัมคูณกับ 0.78 คำตอบคือจำนวนกรัมโปรตีนที่คุณควรตั้งเป้ารับทุกวัน ตัวอย่างเช่น ถ้าน้ำหนักตัว 66 กก. ก็ต้องรับโปรตีนวันละ 49.5 กรัม อาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อ (สเต็ก 100 กรัม มีโปรตีน 32 กรัม) นมเนย โยเกิร์ตไขมันต่ำถ้วยละ 200 กรัม (มีโปรตีน 14 กรัม) เต้าหู้ 100 กรัม (มีโปรตีน 12 กรัม)
อาการก่อนมีประจำเดือนย่ำแย่ลงทุกที อาจขาดธาตุเหล็ก
การศึกษาแสดงให้เห็นว่าสตรีที่รับโภชนาการอาหารมีธาตุเหล็กเพียงลดความเสี่ยง อาการก่อนมีประจำเดือนลงไปได้ถึง 40% เทียบกับคนที่กินธาตุเหล็กวันละ 10 มก. เพราะธาตุเหล็กมีบทบาทในการผลิตเซโรโทนิน คือ สารเคมีสมองที่กระทบต่ออารมณ์ ความอ่อนล้าและโหยอาหาร ให้รับธาตุเหล็กเสริมวันละ 20 มก. ซึ่งรับได้สองทาง คือจากเนื้อสัตว์หรือจากผักและซีเรียล ถ้าจากเนื้อสัตว์จะดูดซึมง่าย ผักขมและเนื้อแกะมีจำนวนธาตุเหล็กเท่ากัน แต่เราดูดซึมธาตุเหล็ก 20% จากเนื้อ แต่สามารถดูดซึมได้แค่ 5% จากผัก แหล่งธาตุเหล็ก คือ สเต็กเนื้อแกะ 100 กรัม (มีธาตุเหล็ก 3 มก.) ผักขมต้มครึ่งถ้วย(มีธาตุเหล็ก 3.9 กรัม)
(Some images used under license from Shutterstock.com.)