Haijai.com


พัฒนาสมองลูกสู่ความอัจฉริยะ


 
เปิดอ่าน 2262
 

เทคนิคการเคลื่อนไหว  เพื่อพัฒนาสมองลูกสู่ความอัจฉริยะ

 

 

การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวภายใน หรือภายนอกร่างกาย  ล้วนเป็นกิจกรรมที่สำคัญของมนุษย์   เพราะชีวิตคือการเคลื่อนไหว  การเคลื่อนไหวจะทำให้มนุษย์มีอายุที่ยืนยาวขึ้น   มนุษย์จะไม่สามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ถ้าปราศจากการเคลื่อนไหว  ไม่จะเป็นการกิน  การขับถ่าย  การหายใจ  การเดิน  ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมเพื่อสนองการดำรงค์อยู่ของมนุษย์ทั้งสิ้น

 

 

การเคลื่อนไหวเป็นการทำงานของระบบประสาท ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักคือ สมอง ( Brain ) และไขสันหลัง ( spinal  cord )

 

 

สมองจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ   ควบคุมการตอบสนองที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ ( reflex )   ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ 3 ส่วนคือ  สมองส่วนหน้า  สมองส่วนกลาง  และสมองส่วนหลัง ด้วยหลักดังกล่าว มนุษย์ก็สามารถพัฒนาสมองได้ด้วยการเคลื่อนไหว  และที่สำคัญสมองมนุษย์จะพัฒนาได้ดีในช่วงตั้งแต่แรกเกิด จนถึงประมาณ 8 ขวบปี  ดังนั้นในช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาของโอกาสทองที่คุณพ่อคุณแม่จะได้มีส่วนช่วยพัฒนาสมองลูก  ด้วยวิธีการง่ายๆ  คือฝึกให้ลูกได้ฝึกการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ

 

 

การเคลื่อนไหว เป็นวิธีการบริหารสมอง หรือ Brain Gym  ที่จะช่วยพัฒนาให้สมองลูกเราแข็งแรง และทำงานได้อย่างสมดุลทั้งสองซีก ทั้งยังส่งผลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของลูกเราให้มากขึ้น  และที่สำคัญมีส่วนช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียดของลูกได้เป็นอย่างดี

 

 

การเคลื่อนไหว ถือเป็นกิจกรรมการเตรียมความพร้อมให้ลูกได้เป็นอย่างดี   คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้การเคลื่อนไหวเป็นกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาสมองให้ลูกมีความพร้อมที่จะเรียนรู้  ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติได้อย่างมีศักยภาพในช่วงเวลาที่เหมาะสม   เมื่อลูกโตขึ้น

 

 

เทคนิคการบริหารสมอง Brain Gym  ด้วยการเคลื่อนไหวมีอยู่หลายวิธี  แต่สำหรับในฉบับนี้จะนำเสนอเทคนิคการบริหารสมองเพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่และคุณครู หรือทุกท่านที่สนใจได้ใช้เป็นแนวทางในการบริหารสมองเด็ก คือ การยืดส่วนต่างๆ ของร่างกาย

 

 

การยืดส่วนต่างๆ ของร่างกาย  ( Lengthening  Movement )

 

การบริหารสมองด้วยการยืดส่วนต่างๆ ของร่างกาย จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านความเร็ว และความแคล่วคล่องว่องไวของสมองเด็กได้เป็นอย่างดี  ทั้งยังทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดของสมองส่วนหน้าและส่วนหลัง  การยืดส่วนต่างๆ ของร่างกายมีวิธีปฏิบัติอยู่ 3 วีธี คือ

 

 

1.การยืดกล้ามเนื้อแบบกระทำเป็นจังหวะ ( Ballistic  Stretching ) เป็นการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะซ้ำๆ  โดยอาศัยการยืดและการหดตัวดึงกลับ ( Bounding )  ของกล้ามเนื้อและเอ็นส่วนที่ต้องยืด ในลักษณะที่เกินกว่ามุมการเคลื่อนไหวปกติ  เช่น

 

1.1  ท่าดึงศอก   ยืนเท้ากาง 1 หัวไหล่  ยกศอกไขว้ด้านหลังมือขวาจับข้อศอกซ้าย  หายใจเข้าพร้อมกับดึงข้อศอกและเอนตัวลงทางด้านขวา ให้รู้สึกตึง และผ่านจุดตึงไปเล็กน้อย จากนั้นปล่อยกลับแล้วดึงใหม่เช่นเดิม ให้ทำเป็นจังหวะ เคลื่อนไหวซ้ำๆ กันทั้งซ้ายและขวา

 

 

2.การยืดกล้ามเนื้อแบบหยุดนิ่งค้างไว้ในจังหวะสุดท้ายของการเคลื่อนไหว  ( Static  Stretching ) ใช้วิธีการยืดกล้ามเนื้อจนกระทั่งสัมผัสจุดตึงตัว จะรู้สึกว่ามีอาการตึงปวดกล้ามเนื้อเกิดขึ้น  พอถึงณ จุดนี้ให้ควบคุมท่าการเคลื่อนไหวหยุดนิ่งค้างไว้ประมาณ 10 – 30 วินาที  แล้วให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกปกติ ตัวอย่างท่าที่ใช้ในการบริหารเช่น

 

 

3.การยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นการรับรู้ของระบบประสาท ( Proprioceptive  Neuromuscular  Facilitation )   โดยใช้วิธีการหด และคลายตัวของกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวโดยตรง

 

 

ท่าไขว้แขน

 

ท่าเตรียม ยืนไขว้ขาทั้งสองข้าง ขั้นตอนการปฏิบัติ  หายใจเข้าชูแขนขึ้นแนบใบหู หายใจออกพร้อมกับโล้ตัวก้มศีรษะลงไขว้แขน แล้วหายใจเข้าชูแขนขึ้น  เปลี่ยนขาทำสลับทำเช่นเดียวกัน

 

 

เทคนิคการบริหารสมองลูกด้วยการยืดตัว  คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกกระทำได้ด้วยตนเอง ( Active  Stretching ) โดยคุณพ่อคุณแม่ทำพร้อมอธิบายแล้วให้ลูกปฏิบัติตาม หรือคุณพ่อคุณแม่อาจจะช่วยจับลูก ( Passive Stretching ) ด้วยก็ได้ครับช่วยส่งแรงให้ลูกก็ให้ผลเหมือนกัน   แต่การให้ลูกได้สังเกตแล้วปฏิบัติด้วยตนเองจะให้ผลในการพัฒนาสมองดีกว่าครับ ขอให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนโชคดีในการสอนลูกๆนะครับ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)