
© 2017 Copyright - Haijai.com
Milestone During 1-12 เดือน ของพัฒนาการขวบปีแรกของลูก
ตั้งไข่ล้ม ต้มไข่กิน ไข่ตกดิน อดกินไข่ต้ม เชื่อว่าทั้งคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องเคยได้ยินกันมาก่อนเมื่อครั้งที่เป็นเด็กน้อย ที่มีมือคุณพ่อคุณแม่(ปู่ ย่า ตา ยาย) สองมือคอยประคองให้นั่ง ให้ยืน ให้เดิน ... “ตั้งไข่ล้ม ต้มไข่กิน” มักจะพูดกันตอนที่ลูกอายุได้ 7- 9 เดือน เพราะลูกกำลังจะหัดนั่ง หัดยืน หัดเดิน แม่ก็ตบมือให้จังหวะ ลุ้นให้ลูกลุกขึ้นนั่ง ขึ้นยืน
ตารางพัฒนาการช่วงแรกเกิด – 12 เดือน
ช่วงวัย |
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว |
การใช้ตา มือ |
การสื่อความหมาย และภาษา |
ด้านการเข้าสังคม |
แรกเกิด |
: งอแขน และเคลื่อนไหวได้ดีในท่านอนคว่ำ |
: มองเหม่อ จะเห็นได้ชัดเจนเฉพาะระยะ 8-9 นิ้ว |
: ร้องไห้
: หยุดฟังเสียง เมื่อมีคนมาพุดคุยด้วย |
: มองหน้าคนที่เข้ามาใกล้ได้ช่วงสั้นๆ
|
1 เดือน |
ขาเริ่มเหยียดในท่านอนคว่ำ |
: กำมือแน่น |
: ทำเสียงในลำคอ |
|
2 เดือน |
: ชันคอได้ 45 องศา ในท่านอนคว่ำ |
: กำมือหลวมๆ |
: ฟังเสียงเวลาคนคุยกัน |
: สบตา ยิ้มตอบ แสดงความสนใจกับคนที่เข้ามาพูดคุยด้วย |
4 เดือน |
: ในท่าคว่ำสามารถยกศีรษะได้สูงขึ้น ชันคอได้ 90 องศา สามารถใช้แขนยันหน้าอกให้ยกสูงขึ้นได้เล็กน้อย |
: ใช้มือทั้งสองคว้าจับสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว |
: ส่งเสียงอ้อแอ้ โต้ตอบได้เวลาที่มีคนมาพูดคุยด้วย |
: สบตา ยิ้มตอบ แสดงความสนใจต่อสิ่งรอบข้าง |
6 เดือน |
: คว่ำหงายได้เอง |
: คว้าของด้วยฝ่ามือ หยิบของมือเดียว สลับเปลี่ยนของไปมาได้ระหว่างมือทั้ง 2 ข้างได้ |
: เวลาเรียกชื่อ จะหันหาคนเรียก |
: จำหน้าคนใกล้ตัวได้เป็นอย่างดี |
9 เดือน |
: นั่งได้มั่นคง คลาน เกาะยืนได้ |
: ใช้นิ้วหยิบของได้ |
: เข้าใจภาษา ท่าทาง |
: เล่นจ๊ะเอ๋ |
12 เดือน |
: เกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ เริ่มเดินด้วยท่าทาง กางแขน ขา |
: ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้หยิบของ |
: ทำตามคำสั่งที่มีท่าทางประกอบ |
: เลียบแบบท่าทาง |
• การพัฒนาทางร่างกาย
ลูกอายุได้ 4 เดือน จะมีน้ำหนัก 10-18 กิโลกรัม สูง 23-27 นิ้ว นอน 14-17 ชั่วโมง / ลูกอายุได้ 8 เดือน จะมีน้ำหนัก 14-23 กิโลกรัม สูง 25-30 นิ้ว นอน 11-13 ชั่วโมง / ลูกอายได้ 12 เดือน จะมีน้ำหนัก 17-27 กิโลกรัม สูง 27-32 นิ้ว นอน 11-13 ชั่วโมง
• พัฒนาการทางสังคม อารมณ์ และการเรียนรู้
เมื่อลูกอายุได้ 4 เดือน ลูกจะร้องเมื่อรู้สึกไม่สบาย กลัว เหงา / ตอบสนองต่อเสียง / ชอบให้คุณแม่คุณพ่ออุ้ม / ชอบเล่นเป่าน้ำลาย / จำได้ว่านี่คุณแม่ คุณพ่อ นี่ของๆ หนู เช่น หมอนข้างใบเล็ก ขวดน้ำ ฯลฯ
พัฒนาการเดือนที่ 1 : กระตุ้นลูกผ่านกิจกรรมการเล่น
• พูดคุยด้วย ร้องเพลง หรือเปิดเพลงเบาๆ ให้ฟัง ถ้าพูดด้วยเสียงสูง เด็กจะทำตาโตเพราะเด็กจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงสูง
• โอบกอด สัมผัสตัวลูก หวีผม นวดตัวให้ลูกอย่างนุ่มนวล แต่มั่นคงและสม่ำเสมอ
• สบตาลูก ทำโมบายหรือหาภาพใบหน้าคนสีขาว-ดำ มาแขวนไว้ในระยะไม่เกิน 13 นิ้วให้ลูกดู
พัฒนาการเดือนที่ 2 : กระตุ้นลูกผ่านกิจกรรมการเล่น
• แขวนโมบายหรือของเล่นสีสันสดใสห่างจากสายตาไม่เกิน 20 นิ้ว
• ออกกำลังกายแขน ขา โดยยกแขน ขาอย่างเบาๆ ในขณะที่เด็กนอนหงาย
• อุ้มมองหน้าสบตา ยิ้มและพูดคุยกับลูก
• เห่กล่อมหรือเปิดเพลงเบาๆ ให้ฟัง
• อุ้มสัมผัสลูกบ่อยๆ ในขณะที่ลูกตื่นอยู่ โดยเปลี่ยนท่าให้ลูกบ่อยๆ เช่น ให้นอนหงาย นอนคว่ำ หรืออุ้มนั่งหันหน้าออก โดยให้ศีรษะเด็กพิงอกแม่ไว้
พัฒนาการเดือนที่ 3 : กระตุ้นลูกผ่านกิจกรรมการเล่น
• จับมือลูกให้ถือของเล่นและเขย่า โดยมีมือของคุณช่วยกำมือของลูกไว้ หรือผูกกระพรวนไว้ที่ข้อมือเพื่อให้เกิดเสียงเมื่อลูกขยับแขน
• จับลูกพาดบ่าแล้วพาชมนกชมไม้เพื่อให้คอแข็งมากขึ้น
• พูดคุยทำเสียงโต้ตอบกับลูก ร้องเพลงให้ฟังและให้ทำความรู้จักกับทุกคนในบ้านมากขึ้น
• แขวนสิ่งของสีสดๆ ชิ้นโตๆ ที่เคลื่อนไหวได้ในระยะห่าง 1 ฟุต เพื่อให้ลูกไขว่คว้า
• อุ้มนั่งตักให้ลูกหัดตั้งศีรษะให้ตรงได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพิงอกคุณแม่ ให้นอนคว่ำ ใช้ของเล่นสีสดใสจูงใจให้ลูกเงยหน้ามอง
• อุ้มให้ลูกมองหน้าสบตา และมองตามหน้าที่เอียงไปมาช้าๆ
พัฒนาการเดือนที่ 4 : กระตุ้นลูกผ่านกิจกรรมการเล่น
• ลูกสามารถสร้างเสียงได้เองจากการเขย่า จึงควรให้เล่นเครื่องเขย่า โดยหาของเล่นที่เหมาะมือ ปลอดภัยมาให้ลูกถือเล่น
• ของเล่นที่บีบแล้วมีเสียง เพื่อฝึกกำลังกล้ามเนื้อแขนและมือ
• เล่นตีน้ำในระหว่างอาบน้ำ
• ชูของให้ลูกหันมาขณะที่ลูกนอนคว่ำหรือหงาย เพื่อให้ลูกหัดพลิกคว่ำ
• จับมือทั้งสองของลูกแล้วค่อยๆ ดึงขึ้นมา เพื่อยกศีรษะและลำตัวขึ้น
พัฒนาการเดือนที่ 5 : กระตุ้นลูกผ่านกิจกรรมการเล่น
• จัดที่ให้ลูกหัดคว่ำและคลาน
• วางของเล่นสีสดใสไว้ใกล้รัศมีเอื้อมของลูก เพื่อให้ลูกหัดคืบไปหยิบ
• ทำกระพรวนมาผูกที่เท้า เพื่อกระตุ้นให้ลูกถีบขามากขึ้น
• พูดกับลูกบ่อยๆ และช้าๆ เพื่อให้ลูกได้สังเกตริมฝีปาก
• หัดให้ลูกจำแนกเสียงต่างๆ โดยสอนเรียกชื่อ
พัฒนาการเดือนที่ 6 : กระตุ้นพัฒนาการผ่านกิจกรรมการเล่น
• ทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ ให้ลูกเลียนเสียง
• ชูมือหรือชูของเล่น เพื่อให้ลูกได้เอื้อมมือคว้า
• หายางกัดเล่นให้ลูกเพื่อบรรเทาอาการคันเหงือก
• จับอุ้มนั่งเล่นบนตัก บนพื้น หรือในอ่างที่เด็กจับขอบอ่างได้
• ให้เล่นของเล่นที่มีความลึก เช่น ถ้วย กล่อง นำมาซ้อนกัน
• กลิ้งลูกบอลลูกเล็กๆ ให้มองตามและเอื้อมไปหยิบ
พัฒนาการเดือนที่ 7 : กระตุ้นพัฒนาการผ่านกิจกรรมการเล่น
• เล่นจ๊ะเอ๋ และซ่อนหาของ สมองของเด็กวัยนี้เริ่มจำได้ เมื่อเราหายไปแล้วกลับมาพร้อมคำพูดว่า “จ๊ะเอ๋” สมองของเขายังจำหน้าเราได้ และกลับมาอยู่ตรงกัน แต่เด็กอายุ 2-3 เดือนจะเล่นจ๊ะเอ๋ไม่สนุก เพราะเขาจะจำได้แค่ ณ ปัจจุบัน พอเราจากเขาไปเขาก็จะลืมแล้ว
• หาบล็อกไม้ขนาดต่างๆ กันมาให้ลูกเล่น ให้มองบล็อกขนาดต่างๆ ที่ไม่เท่ากันทีละอัน ให้เล่นของเล่นที่วางซ้อนกันได้
• ให้เล่นสิ่งของที่มีสีและขนาดต่างกัน เช่น ผิวเรียบ-หยาบ, อ่อน-แข็ง
• วางของเล่นไว้ข้างหน้า ให้ลูกหัดคลานไปหยิบ
• หัดให้ถือช้อน ขวดนม หรือแก้วน้ำเอง
• ใช้ของเล่นจูงใจให้ลูกพยายามลุกขึ้นนั่งเอง
พัฒนาการเดือนที่ 8 : กระตุ้นพัฒนาการผ่านกิจกรรมการเล่น
• จัดสถานที่ภายในบ้านให้กว้างขวางเพื่อสะดวกในการหัดคลาน
• พูดคำสั้นๆ ให้ลูกหัดพูดตาม
• หากล่องหรือตะกร้ามาให้ลูกโยนของเล่นลงไป เพื่อฝึกให้ลูกโยนของอย่างมีจุดมุ่งหมาย และให้ลูกเรียนรู้การกะระยะ
• หาของเล่นมาช่วยกระตุ้นการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา
• พาลูกออกนอกบ้านเพื่อให้รู้จักกับคนอื่นบ้าง
• เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ถึงการหายไปและกลับมา
• สอนเรียกชื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
• วางของเล่นให้ใกล้ตัวมากขึ้น เพื่อให้ลูกคลานไปหยิบ
• ให้ถือของที่มีลักษณะเป็นแท่งเพื่อให้ลูกหัดใช้นิ้ว เช่น ไม้เคาะเครื่องดนตรี หรือหยิบขนมปังแท่งเข้าปาก
พัฒนาการเดือนที่ 9 : กระตุ้นพัฒนาการผ่านกิจกรรมการเล่น
• พยุงลูกให้ยืน เพื่อให้รู้จักทิ้งน้ำหนักตัวลงบนขาและเท้า
• ของเล่นตอกหมุด และแป้นเสียบหลักจะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่นิ้วมือได้
• สนับสนุนให้หยิบอาหารเข้าปากเอง
• อ่านนิทานให้ฟัง ให้ดูภาพสัตว์หรือสิ่งของที่คุ้นเคย พร้อมกับพูดชื่อของสิ่งที่เห็นให้ลูกฟัง
• ฝึกให้ดื่มน้ำและนมจากถ้วย
พัฒนาการเดือนที่ 10 : กระตุ้นพัฒนาการผ่านกิจกรรมการเล่น
• วางของไว้บนเก้าอี้หรือโต๊ะเตี้ยๆ ที่แข็งแรงและมั่นคง เพื่อกระตุ้นให้ลูกฝึกเกาะยืนและหยิบของที่วางอยู่
• จูงมือลูกเดินเล่นที่สนาม
• ชวนดูหนังสือภาพที่มีรูปขนาดใหญ่สีสดใสพร้อมกับพูดชื่อของสิ่งที่เห็น
• ชูของเล่นให้ลูกยึดแขน ยึดตัว ลุกขึ้นยืน
• ต่อไม้บล็อกเป็น 2 ชั้น เพื่อให้ลูกเลียนแบบ
พัฒนาการเดือนที่ 11 : กระตุ้นพัฒนาการผ่านกิจกรรมการเล่น
• จัดที่ให้กว้างพอ เพื่อให้ลูกเกาะเดินได้อย่างปลอดภัย
• พูดชมเชยลูกทุกครั้งเวลาที่เขาสามารถทำตามที่บอกได้
• พูดคุยถึงสิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่ เช่น อาบน้ำ ทานข้าว แต่งตัว ฯลฯ
• หากล่อง ถ้วยแบบเดียวกันแต่มีขนาดต่างกันให้ลูกจับซ้อนกัน
• หัดให้เล่นจิ๊กซอว์ไม้ขนาดใหญ่ และหัดฟังเสียงวัตถุต่างๆ ที่ตกกระทบพื้น เพื่อสังเกตความแตกต่างของเสียง
• ให้ลูกมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของครอบครัว และปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียวบ้าง เพื่อให้หัดเล่นเอง
พัฒนาการเดือนที่ 12 : กระตุ้นพัฒนาการผ่านกิจกรรมการเล่น
• สอนลูกให้รู้จักแยกของที่มีรูปร่างแตกต่างกัน และจัดเป็นหมวดหมู่
• ให้เปิดหนังสือภาพใหญ่ๆ ด้วยตัวเอง และชี้ให้ดูรูปภาพต่างๆ
• หัดให้ช่วยเหลือตนเอง เช่น ตักอาหาร อาบน้ำ แต่งตัว
• ให้ลูกชี้บอกเมื่อพูดถึงสิ่งของหรือบุคคลใดๆ
• ให้ฟังเพลงและสอนร้องเพลงง่ายๆ และให้ลูกมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ของครอบครัว
GOOD TO KNOW
การมองเห็นของเด็กวัย 0-1 ขวบ
• การมองเห็นภาพสี
เมื่อลูกแรกเกิดเซลล์เรติน่าในดวงตาของทารก ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เห็นสีต่างๆ ยังไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่ ทำให้เขายังเห็นโลกเป็นเฉดสีรางๆ เท่านั้น สีแรกๆ ที่ทารกจะมองเห็นได้คือสีแดง และสีน้ำเงิน จากนั้นจึงเป็นสี และสีเหลือง ในช่วง 2-3 เดือนแรกทารกจะมองเห็นแต่สีสันที่สดใสมากๆ เท่านั้น คุณแม่จึงควรเลือกนำของที่มีสีสันสดใสมาไว้ใกล้ๆ ลูก
• การเห็นภาพสามมิติ
เพราะเด็กสามารถเห็นภาพในระยะ 30 เซนติเมตรเท่านั้น สำหรับเจ้าตัวน้อยโลกจึงดูแบน และขาดรายละเอียดอีกหลายๆ อย่างไป หลังจากที่ 2 สัปดาห์แรกผ่านไป เด็กจะรู้จักยกมือขึ้นมาป้องหน้า เมื่อเห็นว่ามีวัตถุอะไรบางอย่างกำลังพุ่งตรงมาหาเขา เด็กทุกคนจะต้องสามารถเห็นภาพสมามิติก่อนที่เขาจะเริ่มหัดเดิน และเป็นไปได้ว่าเด็กจะไม่ยอมเริ่มคลานจนกว่าเขาจะเห็น และเข้าใจเรื่องภาพสมามิติ ทั้งนี้ทารกจะไม่สามารถเห็นภาพสมามิติได้จนกว่าจะอายุ 4 เดือน โดยภาพนั้นจะสมบูรณ์เมื่อลูกอายุ 6 เดือน
(Some images used under license from Shutterstock.com.)