Haijai.com


คัดกรองลำไส้ใหญ่ตรวจตับก่อนเป็นมะเร็ง


 
เปิดอ่าน 4965

ตรวจตับ ลำไส้ ตัดไฟต้นลม

 

 

ลำไส้ใหญ่และตับเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ท่ามกลางเส้นทางยาวคดเคี้ยวถึง 1 เมตรของลำไส้ใหญ่ และความใหญ่ของตับที่มีน้ำหนักเกือบ 2 กิโลกรัมในผู้ชาย อาจจะมีรอยโรคเล็กๆ แทรกตัวอยู่โดยไม่แสดงอาการ นานวันเข้ารอยโรคก็ค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดกว่าจะรู้ตัวก็สายเกินแก้ ดังนั้นวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้คิดค้นเครื่องมือและวิธีการต่างๆ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะทั้งสองนี้ อันจะเป็นการ “ตรวจสอบก่อนเสื่อม”

 

 

คัดกรองลำไส้ใหญ่ก่อนเป็นมะเร็ง

 

การตรวจคัดกรองลำไส้ใหญ่นับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 ในเพศชายและอันดับ 5 ในเพศหญิง รอยโรคของมะเร็งลำไส้ใหญ่ในเบื้องต้นจะเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ ก่อน และจะใช้เวลาอีก 10-15 ปีในการพัฒนาตัวเป็นเนื้อร้าย การตรวจเจอและตัดติ่งเนื้อออกก่อนจึงเท่ากับเป็นการ “ตัดไฟแต่ต้นลม” ดังผลการศึกษาจากวารสารทางการแพทย์หลายๆ ฉบับที่บ่งชี้ว่าการที่ตรวจคัดกรองแล้วเจอติ่งเนื้อ จากนั้นจึงตัดออก จะสามารถลดอุบัติการณ์ของมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึงร้อยละ 80

 

 

ช่วงอายุที่เริ่มทำการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่พิจารณาได้เป็น 2 กรณี ให้เลือกใช้อายุที่น้อยกว่าดังนี้

 

 บุคคลปกติให้เริ่มตรวจเมื่อมีอายุได้ 50 ปี

 

 

 บุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัว (พ่อแม่พี่น้องไม่รวมน้าอา) ป่วยด้วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้ตามประวัติว่าญาติสายตรงของตนที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าว เริ่มป่วยที่อายุเท่าไหร่ แล้วนำอายุนั้นลบไปอีก 10 ก็จะได้อายุที่ต้องเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่อายุลบ 10 มากกว่า 50 ปี ให้เริ่มตรวจที่ตอนอายุ 50 ปี ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. มีพ่อป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อตอนอายุ 50 ปี ดังนั้น อายุที่ นาย ก. ควรจะเริ่มรับการตรวจคัดกรองลำไส้ใหญ่ คือ 50-10 = 40 ปี หรือ นาย ข. มีแม่ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่ออายุ 70 ปี 70-10 = 60 ซึ่งมากกว่า 50 ดังนั้น อายุที่นาย ข. ควรจะเริ่มรับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่คือ 50 ปี

 

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

 

 การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Stool occult blood) โดยการนำอุจจาระไปตรวจสอบว่ามีธาตุเหล็ก (ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดแดง) ปนมาหรือไม่ การตรวจควรทำทั้งหมด 3 ครั้ง คือ เก็บอุจจาระ 3 วัน แล้วส่งตรวจในคราวเดียวกัน หากได้ผลลบทั้ง 3 ครั้ง ถือว่าปกติ แต่ถ้าพบผลบวกคือมีธาตุเหล็กปนมาในอุจจาระแม้เพียงครั้งเดียวจากการตรวจ 3 ครั้ง ให้ตรวจคัดกรองด้วยวิธีอื่นต่อไป เพื่อยืนยันว่ามีมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ การตรวจคัดกรองด้วยวิธีนี้ควรตรวจเป็นประจำทุกปี

 

ข้อดี ง่าย

 

ข้อเสีย ความไวในการตรวจจับมะเร็งลำไส้ใหญ่ต่ำ (ประมาณร้อยละ 30-50) และยังพบผลบวกลวงมาก (ผลการทดสอบเป็นบวก แต่ไม่มีมะเร็งลำไส้ใหญ่) เช่น ในช่วงที่รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง อย่างเช่น ต้มเลือดหมู เป็นต้น

 

 

 การตรวจหา DNA ที่เกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอุจจาระ (fecal DNA test) เป็นวิทยาการใหม่ วิธีการ อ นำอุจจาระมาตรวจหาว่ามีสารพันธุกรรมหรือ DNA ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปนอยู่หรือไม่ เพราะในลำไส้ใหญ่มีการหลุดลอกของเซลล์อยู่เสมอๆ สำหรับความถี่ในการตรวจ คือ ทุก 3 ปี

 

ข้อดี ความไวดีกว่าการตรวจแบบแรก คือ ประมาณร้อยละ 70-80 มีความจำเพราะเจาะจงดีขึ้น

 

ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายสูง

 

 

 การสวนลำไส้ใหญ่ด้วยแป้งแบเรียม (Barium enema) เป็นการนำแป้งแบเรียมสวนเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อให้เข้าไปที่ลำไส้ใหญ่ แล้วเอกซเรย์หาความผิดกติ ความถี่ในการตรวจคือทุก 5 ปี

 

ข้อดี ความไวในการตรวจจับประมาณร้อยละ 70-80

 

ข้อเสีย อาจตรวจไม่พบติ่งเนื้อที่เล็กกว่า  1 ซม.

 

 

 การทำเอกซเรย์ (CT colonography) เป็นวิทยาการใหม่ ใช้การเอกซเรย์ลำไส้ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่มีรอยโรคหรือไม่ความถี่ในการตรวจคือทุก 5 ปี

 

ข้อดี ความไวในการตรวจจับประมาณร้อยละ 80-90

 

ข้อเสีย อาจตรวจไม่พบติ่งเนื้อที่มีขนาดเล็กกว่า 6 มิลลิเมตร

 

 

 การส่องกล้อง มี 2 วิธี ได้แก่ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ข้างซ้าย (Sigmoidoscopy) และ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมด (Colonoscopy) การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ข้างซ้ายถ้าไม่เจอติ่งเนื้อ ให้มาตรวจซ้ำทุก 5 ปี แต่ถ้าพบติ่งเนื้อให้ทำการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมด เนื่องจากมีโอกาสที่จะพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ส่วนอื่น สำหรับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมด จัดว่าเป็นการตรวจที่ดีที่สุดในปัจจุบัน หากตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ ควรมาตรวจซ้ำทุก 10 ปี

 

ข้อดี การตรวจแบบส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมดมีความแม่นยำในการตรวจจับสูงถึงร้อยละ 95-98

 

ข้อเสีย ต้องทำโดยบุคลากรที่มีความชำนาญเท่านั้น ซึ่งประเทศไทยยังมีจำนวนจำกัด นอกจากนี้ยังพบภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจได้ เช่น เลือดออกตรงลำไส้ใหญ่หลังจากการส่องกล้อง (เกิดได้ประมาณร้อยละ 0.01-0.1 ขึ้นกับความชำนาญของแพทย์ผู้ส่องกล้อง) หรือลำไส้ใหญ่ทะลุ เนื่องจากการส่องกล้องและเป็นการตรวจที่มีราคาแพงที่สุด เมื่อเทียบกับการตรวจด้วยวิธีอื่น

 

 

 การเจาะเลือดดูค่า CEA (Carcinoembryonic Antigen) ซึ่งเป็นค่าสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองด้วยวิธีนี้ เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ประมาณร้อยละ 40 มีค่า CEA ไม่สูง ดังนั้น การตรวจด้วยวิธีนี้อาจทำให้ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่พลาดโอกาสเข้ารับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งจำให้การรักษายากขึ้นและมีประสิทธิภาพน้อย

 

 

ก่อนที่จะรับการตรวจคัดกรองแต่ละวิธี ควรมีการเตรียมตัวให้เหมาะสม โดยทั่วไปการตรวจอุจจาระไม่ต้องการเตรียมตัวเป็นพิเศษ สามารถเก็บอุจจาระมาส่งตรวจได้เลย แต่การตรวจโดยการสวนแป้งแบเรียมการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และการส่องกล้อง จะต้องมีการเตรียมลำไส้ให้สะอาดก่อนตรวจ โดยการรับประทานยาระบายจนกว่าอุจจาระที่ถ่ายออกมาจะใส ซึ่งอาจมีปัญหาสำหรับผู้ที่มีสุขภาพไม่ค่อยดี อนึ่ง ในกรณีที่ส่องกล้อง ควรงดยาคลอพิโดเกรล (Clopidogrel) เป็นเวลา 5 วัน ก่อนรับการตรวจ ส่วนยาละลายลิ่มเลือดควรงด 3-5 วัน ก่อนตรวจ สำหรับแอสไพรินสามารถรับประทานได้ตามปกติ

 

 

นอกเหนือจากการรับการตรวจคัดกรองด้วยวิธีที่พิจารณาแล้วว่าเหมาะสม และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลแล้ว พวกเราควรหมั่นดูแลสุขภาพของลำไส้ใหญ่ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานเส้นใยอาหารจากผักและผลไม้ งดการสูบบุหรี่ รวมทั้งหมั่นสังเกตความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ถ้ามีอากรปวดท้องเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อยถ่ายเป็นเลือด ลักษณะอุจจาระเปลี่ยนไปจากปกติ อุจจาระลำเล็กลงหรือมีมูกเลือดปน เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาเพิ่มเติม

 

 

ตรวจตับก่อนเป็นมะเร็ง

 

ผู้ป่วยโรคตับควรจะได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตับ โดยผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่เป็นชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวน์ ส่วนผู้ป่วยที่มีโรคตับแข็ง ไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตามควรจะได้รับการตรวจอัลตราซาวนด์ทุกๆ 6 เดือน การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI) จะทำเฉพาะบางกรณีเท่านั้น ไม่ทำกับผู้ป่วยทั่วไป เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้

 

 ราคาแพง

 

 

 เทคนิคดังกล่าวต้องมีการฉีดสีเข้าไปในร่างกาย เพื่อทำให้เห็นตับชัดขึ้น สีเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ เช่น แพ้ ไตวายเฉียบพลัน

 

 

 รังสีจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ มีความเข้มข้นมาก จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในส่วนอื่นๆ ได้

 

 

 การตรวจค่าเลือดที่เกี่ยวข้องกับตับและมะเร็งตับมีดังต่อไปนี้

 

• ค่าการทำงานของตับ หรือระดับเอนไซม์ของตับ ได้แก่ SGOT (AST) และ SGTP (ALT) ในกรณีที่ตับอักเสบ เซลล์ตับจะถูกทำลายมากกว่าปกติ ทำให้เอนไซม์เหล่านี้ซึ่งปกติอยู่ในเซลล์ตับ จะถูกปล่อยออกจากเซลล์ตับออกมาสู่กระแสเลือด ระดับของเอนไซม์ในกระแสเลือดจึงสูงขึ้น บุคคลทั่วไปควรทำการตรวจค่าการทำงานของตับปีละครั้ง เพื่อจะได้ทราบว่าตับมีความผิดปกติ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับหรือไม่

 

 

• การตรวจหาร่องรอยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี เนื่องจากประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของโรคดังกล่าวสูง และโรคดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับ ทุกคนจึงควรตรวจหาร่องรอยของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีควรตรวจ HBsAg ในขณะที่ไวรัสตับอักเสบซีควรตรวจ anti-HCV

 

 

• การตรวจค่า AFP (alpha-fetoprotein) บางโรงพยาบาลอาจจะตรวจค่านี้คู่กับการทำอัลตราซาวนด์ แต่ปัจจุบันค่านี้มีบทบาทน้อยลงเรื่อยๆ ในการตรวจคัดกรองมะเร็งตับ เนื่องจากมีข้อมูลว่าไม่ค่อยได้ประโยชน์เท่าไหร่นัก การตรวจค่านี้เพียงอย่างเดียวให้ความไวแค่ร้อยละ 20-30

 

 

การตรวจคัดกรองโรคตับโดยการเจาะเลือดและอัลตราซาวนด์นับว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากความผิดปกติของตับมักจะไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็นออกมาภายนอก บางคนที่ตับแข็งแล้วยังไม่มีอาการก็มี และกว่าจะมีอาการแสดงออกมาโรคตับก็อาจจะถึงขั้นที่ยากแก่การรักษา อาการที่เห็นเมื่อตับมีความผิดปกติมาก ได้แก่ อ่อนเพลีย ตาเหลือง ตัวเหลือง

 

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลสุขภาพตับคือ การป้องกันภาวะตับอักเสบ ซึ่งทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ยาบางชนิดที่ไม่จำเป็น (เพราะยาหรือสมุนไพรบางชนิดอาจทำให้ตับอักเสบได้ แม้แต่วิตามินเอในขนาดที่มากกว่า 20,000 ยูนิตต่อวัน ก็ทำให้ตับอักเสบได้) พยายามควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะการมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จนเป็นโรคอ้วน จะทำให้ไขมันพอกตับ ทำให้ตับอักเสบและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับในที่สุด

 

 

ผศ.นพ.วัชรศักดิ์ โชติยปุตตะ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหารและตับ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





สิวอุดตันเกิดจาก สิวฮอร์โมน คอลลาเจน สิวไขมัน สิวหัวแข็ง AviClear AviClear Laser สิวไต สิวเสี้ยน หน้าขาวใส หน้าแพ้สาร สิวข้าวสาร หน้าใสไร้สิว หน้าไหม้แดด สิวหัวขาว หน้าแห้ง อาการนอนกรน วิธีลดไขมันทั้งตัว ผิวขาว ผิวหน้า ผู้หญิงนอนกรน หน้ากระจ่างใส วิธีลดไขมันในร่างกาย หน้าเนียนใส หน้าเนียน หน้าหมองคล้ำเกิดจาก กดสิวใกล้ฉัน กดสิวเสี้ยน กดสิว หน้าใส สิวอุดตัน หน้าหมองคล้ำ สิวอักเสบ สิว สิวหัวช้าง หน้าขาว สิวขึ้นคาง สิวผด ครีมลดรอยสิว วิธีแก้การนอนกรนผู้ชาย แก้อาการนอนกรนผู้หญิง วิธีลดหน้าท้องแบบเร่งด่วน Sculpsure ลดไขมันในร่างกาย วิธีลดไขมัน ลดไขมันต้นขา สลายไขมันหน้า ไตรกลีเซอไรด์ เซลลูไลท์ วิธีแก้นอนกรน ลดไขมัน Coolsculpting ทำกี่ครั้ง Sculpsure กับ Coolsculpting นอนกรนเกิดจาก Morpheus8 สลายไขมันหน้าท้อง วิธีลดพุงผู้หญิงเร่งด่วน 3 วัน Body Slim ลดไขมันทั้งตัว วิธีลดพุงผู้ชาย Morpheus8 กับ Ulthera ลดพุงเร่งด่วน วิธีลดไขมันต้นขา ลดพุง ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความน่ารู้ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความรักษาอาการนอนกรน บทความ Morpheus บทความ Coolsculpting บทความโปรแกรมดูแลผิวหน้า ข่าวและกิจกรรม romrawin รมย์รวินท์ Plinest Pico หลุมสิว เลเซอร์ฝ้า เลเซอร์ฝ้า กระ IV Weight Loss Thermage Body Pico Laser ราคา สิว กลืนบอลลูนราคา วิธีลดน้ำหนัก วิธีแก้อาการนอนกรน อาการนอนกรน บทความโปรแกรมรักษาอาการนอนกรน เลเซอร์รีแพร์ ดึงหน้าที่ไหนดี ผ่าตัดดึงหน้าราคา Thermage FLX ผ่าตัดดึงหน้า ดึงหน้าราคา ผ่าตัดดึงหน้าที่ไหนดี ดึงหน้า vs ร้อยไหม ศัลยกรรมดึงหน้าราคา เครื่องสลายไขมันด้วยความเย็น Ultraformer MPT ราคา ลดเซลลูไลท์ ฟิลเลอร์แก้มตอบราคา CoolSculpting vs Emsculpt ลดน้ำหนัก วิธีสลายไขมัน สลายไขมัน Alexandrite Laser Dynamic Tech Morpheus Pro สารเติมเต็ม ฟิลเลอร์แท้ ฟิลเลอร์ปลอม เลเซอร์ขนหน้าอก Coolsculpting vs Coolsculpting Elite Morpheus8 ราคา สลายไขมันด้วยความเย็นราคา สลายไขมันด้วยความเย็น ฟิลเลอร์ใต้ตาราคา ดึงหน้า Ultherapy Prime vs Ulthera SPT IPL เลเซอร์ขนแขน YAG Laser Diode Laser ไฮยาลูรอน ฟิลเลอร์น้องชายอันตรายไหม ฉีดสิว Emtone 1 week 1 Kilo ลดน้ำหนัก กลืนบอลลูน Exo Hair Reborn หลังฉีดฟิลเลอร์คาง ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม Coolsculpting Fit Firm Emsculpt Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex