Haijai.com


โปรไบโอติก จุลินทรีย์สุขภาพเพื่อการชะลอวัย


 
เปิดอ่าน 6292

โปรไบโอติก จุลินทรีย์สุขภาพเพื่อการชะลอวัย

 

 

วิถีการดำเนินชีวิตของคนในยุคทีเร่งรีบ ทำให้จุลินทรีย์ดีที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารทำหน้าที่ช่วยย่อย ดูดซึมสารอาหาร และสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ขาดสมดุลไป ทำให้ความนิยมในการเสริมโปรไบโอติกให้กับร่างกายจึงเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพ เพราะโปรไบโอติก นอกจากจะดีต่อสุขภาพในแง่ของการรักษาสมดุลของลำไส้แล้ว ยังช่วยลดความเสื่อมของร่างกายและผิวพรรณ ที่ทำให้เกิดความชราผิวหนังอักเสบ หมองคล้ำ และมีริ้วรอยแห่งวัยมากขึ้น

 

 

โปรไบโอติก คืออะไร

 

โปรไบโอติก (Probiotic) หรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นจุลินทรีย์ดีที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของเรา ซึ่งไม่ก่อให้เกิดโรคต่อร่างกาย แต่กลับมีประโยชน์ในการปรับสมดุลการทำงานในทางเดินอาหาร ช่วยย่อยและดูดซึมสารอาหาร และคอยกำจัดแบคทีเรียตัวร้ายออกจากร่างกาย โดยปกติร่างกายจะมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้อยู่แล้ว แต่ด้วยวิธีการดำรงชีวิตทำให้จำนวนจุลินทรีย์มีปริมาณลดลง ขาดความสมดุล

 

 

ปัจจัยอะไรบ้างทำจุลินทรีย์ที่หดหาย

 

 การรับประทานอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป อาหารที่ไขมัน น้ำตาล หรือโปรตีนสูง

 

 

 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่

 

 

 การรับประทานยาปฏิชีวนะ และยาแก้ปวดเป็นประจำ

 

 

 ความเครียดและความวิตกกังวล

 

 

หน้าที่ของโปรไบโอติกอัศวินของสุขภาพ

 

ร่างกายของคนเรา ประกอบด้วยเซลล์ 10 Trillion cells (1,000,000,000,000) และมีจุลินทรีย์ในลำไส้มากกว่า 10 เท่า รวมน้ำหนัก 1-1.5 กิโลกรัม โดยโปรไบโอติก หรือที่รู้จักกันในทางวิทยาศาสตร์ Gut Flora จุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ช่วยย่อยและดูดซึมสารอาหารและเครื่องดื่ม โดยอยู่กับร่างกายคนเราแบบเกื้อกูล (Symbiotic Relationship)

 

 

 ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี ย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย หมักกากอาหารที่ร่างกายเราไม่มีน้ำย่อย เช่น เส้นใยไฟเบอร์อาหาร ให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ เป็นต้น

 

 

 ช่วยสร้างวิตามินบางชนิด เช่น กรดโฟลิค และวิตามินเค

 

 

 ช่วยเสริมระบบภูมิต้านทาน ทั้งการป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ และเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรงลดการอักเสบ

 

 

จุลินทรีย์ดีในลำไส้ กับการย่อยคาร์โบไฮเดรต

 

โปรไบโอติก มีน้ำย่อยที่มนุษย์เราไม่มี เพื่อช่วยย่อยโพลีแซกคาไรด์ เช่น ไฟเบอร์ น้ำตาลแลคโตส ในผลิตภัณฑ์นมจากสัตว์ เช่น นม เนย ชีว เค้ก ไอศกรีม ฯลฯ และช่วยย่อยน้ำตาลในแอลกอฮอล์ เป็นต้น โดยจะย่อยให้กลายเป็นกรดไขมันบางชนิด เพื่อใช้เป็นอาหารให้พลังงานต่ออวัยวะต่างๆ อาทิ กรดอะซิติค สำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อ กรดโพรพิโอนิค ช่วยให้เซลล์ตับสร้างพลังงาน ATP และ กรดบิวไทริค ให้พลังงานต่อเวลล์ผนังลำไส้ และเชื่อว่าน่าจะช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ด้วย

 

 

โปรไบโอติก ปอ้งกันไม่ให้เชื้อโรคเจริญเติบโตในลำไส้ เมื่อมีการเจริญเติบโตในลำไส้ โปรไบโอติกจะทำการแบ่งอาหารและแย่งพื้นที่ ที่อยู่อาศัยบนผนังลำไส้ พร้อมหลั่งสารแบคเทอริโอซิน (Bacteriocins) ช่วยฆ่าเชื้อโณคและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโณค ช่วยป้องกันการแบ่งตัวขยายพันธุ์ของเชื้อโรค และช่วยเร่งการขับถ่ายสารก่อมะเร็งในลำไส้ออกจากร่างกาย

 

 

โดยเฉพาะเชื้อราหรือยีสต์ หากมีเชื้อรามากเกินไป ก็จะทำให้เกิดการย่อยอาหารผิดปกติ เกิดแก๊ส ท้องอืด เรอ ปวดท้อง ท้องผูก และโรคต่างๆ ตามมา ดังนี้

 

 

ตัวอย่างกลุ่มอาการที่มีเชื้อราหรือยีสต์ ในร่างกายมากเกินไป

 

ระบบทางเดินอาหาร

ระบบประสาท

ระบบภูมิต้านทาน

อาการอื่นๆ

ท้องผูก

อ่อนเพลีย

ภูมิแพ้

น้ำตาลในเลือดต่ำ

ท้องเสีย

ซึมเศร้า

หอบหืด

อยากทานของหวาน

ลำไส้อักเสบ

ปวดหัว

แพ้อาหาร

เหงื่อออกมาก

ท้องอืด

ไมเกรน

โรคภูมิต้านทานตัวเอง

เหงื่อออกตอนกลางคืน

ปวดท้อง

คิดไม่ออก

เช่น SLE

นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป

กลิ่นตัว

ความจำเสื่อม

ลำไส้อักเสบ

คันตามตัวหาสาเหตุไม่เจอ

กรดไหลย้อน

อารมณ์แปรปรวน

ไทรอยด์อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

 

 

กลุ่มอาหารกระตุ้นยีสต์-เชื้อรา ในร่างกาย

 

1.น้ำตาลแลคโตสในผลิตภัณฑ์นมจากสัตว์

 

 

2.น้ำตาลซูโคส เช่น น้ำตาลทราย ไซรัป น้ำผึ้ง ผลไม้แห้ง-หวานจัด

 

 

3.อาหารหมักยีสต์

 

 

4.ผงฟูในขนมปัง เบเกอรี่

 

 

5.ยีสต์หมักแอลกอฮอล์ใน เบียร์ ไวน์

 

 

6.เครื่องปรุงรสที่ผ่านการหมักหรือดอง เช่น น้ำส้มสายชู ซีอิ๊ว ซอส

 

 

7.ยาปฏิชีวนะ เนื้อสัตว์ที่มียาปฏิชีวนะ

 

 

ร่างกายจะได้รับโปรไบโอติกจากที่ไหนบ้าง

 

โปรไบโอติกนั้น เป็นจุลินทรีย์ที่ดีต่อสมดุลของร่างกาย โดยวิธีที่คนเราเลือกรับโปไบโอติกเข้าไปในร่างกาย มีทั้งการรับประทนอาหารที่มีจุลินทรีย์ชนิดนี้ เช่น อาหารหมักดองที่มีรสเปรี้ยว โยเกิร์ต นมเปรี้ยว แต่ทั้งนี้ การรับประทานอาหารกลุ่มนี้มากเกินไป ก็อาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดเชื้อราในลำไส้ได้ หรือร่างกายอาจได้รับน้ำตาลมากเกินไป จึงเป็นเหตุผลให้แพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยในกลุ่มที่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ รับประทานอาหารเสริมในกลุ่มของโปรไบโอติกเพิ่มเติม เนื่องจากการรับประทานยาดังกล่าวจะทำให้ร่างกายสูญเสียโปรไบโอติกในลำไส้ โดยปริมาณที่แนะนำดังนี้

 

 

1 to 10 billion CFU สำหรับเด็กอ่อน

 

10 to 20 billion CFU สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่

 

(CFU = Colony Forming Unit)

 

 

กลุ่มคนปกติ ควรได้รับปริมาณเหมาะสม ต่อเนื่องระยะยาว

 

 เพื่อสุขภาพที่ดี

 

 

 เสริมระบบทางเดินอาหาร

 

 

 เสริมภูฒิต้านทาน

 

 

กลุ่มคนเป็นโรคที่ควรได้รับอาหารเสริมโปรไบโอติก

 

 ท้องเสียฉับพลัน (เด็ก, ผู้ใหญ่)

 

 

 ป้องกันท้องเสียจากยาปฏิชีวนะ

 

 

 ท้องผูก ริดสีดวง

 

 

 อาหารไม่ย่อย ท้องอืด IBS

 

 

 ภูมิแพ้ ผื่นผิวหนัง

 

 

 สิว

 

 

 ตกขาว

 

 

 รังแค

 

 

 ติดเชื้อ เป็นหวัดบ่อย ไซนัสอักเสบเรื้อรัง

 

 

 การอักเสบทุกชนิด ข้ออักเสบ

 

 

แพทย์หญิง พักตร์พิไล ทวีสิน

ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณและเวชศาสตร์ชะลอวัย

S Medical Clinic

(Some images used under license from Shutterstock.com.)