
© 2017 Copyright - Haijai.com
เลี้ยงลูกด้วยคัมภีร์เต๋า
หนึ่งในข้อตกลงที่หนูดีมีกับสมองของตัวเองเพื่อให้เขาพัฒนาเสมอๆ ก็คือ การตั้งกฎประจำใจว่า หนูดีต้องเรียนรู้อะไรใหม่ๆ หรือ มีงานอดิเรกใหม่ๆ เป็นประจำทุกปีค่ะ เหตุผลที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าสมองของเรามีความเป็นพลาสติกสูง (หรือมี brain plasticity) คือ สามารถยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ตลอดเวลา เส้นใยสมองใหม่ๆ ก็สร้างเสมอๆ เป็นประจำ
ตอนอยู่ที่อเมริกา หนูดีเป็นคนชอบอ่านหนังสือ ก็ได้อ่านหนังสือเก๋ๆ เช่น คัมภีร์เต๋า แต่ไม่รู้จะเอามาใช้ในชีวิตอย่างไร รู้แต่หลักการฟังดูเก๋ เช่น หลักกตัญญู หลักเมตตา หลักการนิ่งสงบสยบเคลื่อนไหว หลักรู้จักพอ หลักการฝึกใจตน แต่หนูดีไม่เคยเห็นใครสอนเรื่อง “เต๋า” ประกอบกับอยู่ประเทศตะวันตก ก็เลยเรียนศาสตร์ตะวันตกจำพวก บัลเล่ต์ ซัลซา ขี่ม้า พายเรือคายัค ยิงธนู เรียนการอ่านเร็ว เรียนไมน์แมป ปีละอย่างสองอย่าง อย่างสนุกสนาน
จวบจนกระทั่งพอรู้ว่าจะกลับเมืองไทย หนูดีก็ตั้งใจไว้เลยว่าจะต้องเรียนศาสตร์ตะวันออกให้ชุ่มฉ่ำใจ อันดับแรกคือต้องเรียนการดูฮวงจุ้ยและเรียนเล่นเกมโกะ เพราะสองสิ่งนี้ดังมากๆ สมัยหนูดีเป็นนักเรียนนอก...และก็ได้เรียนสมใจนึก กลายเป็นซินแสฮวงจุ้ยประจำบ้านและเริ่มเล่นโกะได้...เกมโกะเป็นเกมที่มหัศจรรย์มากสำหรับคนที่ถูกสอนมาให้แข่งขันเอาชนะอย่างเด็กรุ่นพวกหนูดี เพราะโกะเป็นเกมที่ต้อง “เอาชนะโดยการคิดไม่เอาชนะ”....แหม หลักการเก๋เหมือนปรัชญาเต๋าเลย ประมาณ “ยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ”...อารมณ์ประมาณนั้น เกมโกะนั้นถึงแม้เราจะมีการจับกินแต้ม จับเชลย แต่จริงๆ แล้วคือเกมล้อมพื้นที่โดยมีเม็ดให้เล่นถึง 361 เม็ดทีเดียว และบนกระดานหนึ่งจะเปรียบเหมือนสงคราม ที่อาจมีสนามรบย่อยๆได้ถึงหกเจ็ดสนาม...หากเรามัวแต่รบพุ่งจดจ่อที่สนามรบเดียว แต่ฝ่ายตรงข้ามกินเราไปแล้วอีกสองสามสนามรบ เงยหน้าขึ้นมาอีกทีเราอาจแพ้สงครามทั้งสงคราม...แต่ชนะในแค่สนามรบเดียวก็เป็นได้ ที่สำคัญคือ เมื่อเราแพ้แทนที่จะคิดแค้นฝ่ายตรงข้าม...เรากลับต้องคารวะเขา เพราะผู้ชนะหมายความว่า เขามีสติและใจเย็นกว่าเรา เขาไม่ประมาทและมองภาพรวมได้ชัดแจ้งกว่า
หลักการโกะนั้นเก๋มาก และยิ่งเล่นก็จะรู้เลยว่า กระดานไหนหนูดีเล่นด้วยกิเลสและความโลภ คือ อยากกินเขาอยากเอาชนะเขา เราตายเลยทันที เพราะมันจะเป็นการตัดสินใจที่มองแค่ผลสั้นๆ ตรงหน้า รุกเข้าไปเพื่อจะฆ่าเขาเลยโดนล้อมตายคาที่บ่อยไป ตอนหลังต้องเริ่มตริตรองให้หนักก่อนตัดสินใจ เหมือนกับหลักการของเต๋ามาก แต่เป็นเต๋าเชิงปฏิบัติ
เลี้ยงลูกด้วยคัมภีร์เต๋า
หนึ่งในข้อตกลงที่หนูดีมีกับสมองของตัวเองเพื่อให้เขาพัฒนาเสมอๆ ก็คือ การตั้งกฎประจำใจว่า หนูดีต้องเรียนรู้อะไรใหม่ๆ หรือ มีงานอดิเรกใหม่ๆ เป็นประจำทุกปีค่ะ เหตุผลที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าสมองของเรามีความเป็นพลาสติกสูง (หรือมี brain plasticity) คือ สามารถยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ตลอดเวลา เส้นใยสมองใหม่ๆ ก็สร้างเสมอๆ เป็นประจำ
ตอนอยู่ที่อเมริกา หนูดีเป็นคนชอบอ่านหนังสือ ก็ได้อ่านหนังสือเก๋ๆ เช่น คัมภีร์เต๋า แต่ไม่รู้จะเอามาใช้ในชีวิตอย่างไร รู้แต่หลักการฟังดูเก๋ เช่น หลักกตัญญู หลักเมตตา หลักการนิ่งสงบสยบเคลื่อนไหว หลักรู้จักพอ หลักการฝึกใจตน...แต่หนูดีไม่เคยเห็นใครสอนเรื่อง “เต๋า” ประกอบกับอยู่ประเทศตะวันตก ก็เลยเรียนศาสตร์ตะวันตกจำพวก บัลเล่ต์ ซัลซา ขี่ม้า พายเรือคายัค ยิงธนู เรียนการอ่านเร็ว เรียนไมน์แมป ปีละอย่างสองอย่าง...อย่างสนุกสนาน
จวบจนกระทั่งพอรู้ว่าจะกลับเมืองไทย หนูดีก็ตั้งใจไว้เลยว่าจะต้องเรียนศาสตร์ตะวันออกให้ชุ่มฉ่ำใจ อันดับแรกคือต้องเรียนการดูฮวงจุ้ยและเรียนเล่นเกมโกะ เพราะสองสิ่งนี้ดังมากๆ สมัยหนูดีเป็นนักเรียนนอก...และก็ได้เรียนสมใจนึก กลายเป็นซินแสฮวงจุ้ยประจำบ้านและเริ่มเล่นโกะได้...เกมโกะเป็นเกมที่มหัศจรรย์มากสำหรับคนที่ถูกสอนมาให้แข่งขันเอาชนะอย่างเด็กรุ่นพวกหนูดี เพราะโกะเป็นเกมที่ต้อง “เอาชนะโดยการคิดไม่เอาชนะ” แหม หลักการเก๋เหมือนปรัชญาเต๋าเลย ประมาณ “ยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ”...อารมณ์ประมาณนั้น เกมโกะนั้นถึงแม้เราจะมีการจับกินแต้ม จับเชลย แต่จริงๆ แล้วคือเกมล้อมพื้นที่โดยมีเม็ดให้เล่นถึง 361 เม็ดทีเดียว และบนกระดานหนึ่งจะเปรียบเหมือนสงคราม ที่อาจมีสนามรบย่อยๆได้ถึงหกเจ็ดสนาม...หากเรามัวแต่รบพุ่งจดจ่อที่สนามรบเดียว แต่ฝ่ายตรงข้ามกินเราไปแล้วอีกสองสามสนามรบ เงยหน้าขึ้นมาอีกทีเราอาจแพ้สงครามทั้งสงคราม...แต่ชนะในแค่สนามรบเดียวก็เป็นได้ ที่สำคัญคือ เมื่อเราแพ้แทนที่จะคิดแค้นฝ่ายตรงข้าม...เรากลับต้องคารวะเขา เพราะผู้ชนะหมายความว่า เขามีสติและใจเย็นกว่าเรา เขาไม่ประมาทและมองภาพรวมได้ชัดแจ้งกว่า
หลักการโกะนั้นเก๋มาก และยิ่งเล่นก็จะรู้เลยว่า กระดานไหนหนูดีเล่นด้วยกิเลสและความโลภ คือ อยากกินเขาอยากเอาชนะเขา เราตายเลยทันที เพราะมันจะเป็นการตัดสินใจที่มองแค่ผลสั้นๆ ตรงหน้า รุกเข้าไปเพื่อจะฆ่าเขาเลยโดนล้อมตายคาที่บ่อยไป ตอนหลังต้องเริ่มตริตรองให้หนักก่อนตัดสินใจ เหมือนกับหลักการของเต๋ามาก แต่เป็นเต๋าเชิงปฏิบัติ
จนวันหนึ่งหนูดีไปบรรยายให้กับผู้ถือหุ้นกู้เครือปูนซีเมนต์ไทยเรื่องการดูแลสมองให้สดใสอยู่เสมอ เมื่อบรรยายจบผู้ฟังท่านหนึ่งคือ ทญ.วิชชุดาก็ได้กรุณาส่งหนังสือเกี่ยวกับหลักการเต๋าและการใช้พลังธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเรามาบำบัดรักษาโรค...ตอนนั้นหนูดียังไม่มีโอกาสอ่าน แต่คุณแม่หนูดีท่านได้อ่านและสนใจมาก เลยตามไปถึงเมืองวัฒนธรรมเต้าเต๋อซิ่นซี ที่บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี เพื่อเรียนการนั่งสมาธิและรำมวยแบบเต๋า...หายไปสิบวัน กลับมาอีกที ดูท่าทางแม่อินมาก...หนูดีเองก็ยังไม่ได้ตื่นเต้นเท่าไรเพราะรู้สึกว่า เป็นลัทธิอะไรสักอย่างหรือเปล่าหนอ...แต่วันหนึ่งหนูดีเกิดอาการไมเกรนเฉียบพลัน จากโรคดั้งเดิมที่เป็นไมเกรนอยู่แล้ว และทุกครั้งที่เป็นนั้น หนูดีก็จะปวดหัวมากจนน้ำตาไหล ยืนไม่ไหว...และก็มักจบลงด้วยที่คุณหมอต้องฉีดยาระงับปวดอย่างแรงให้และนอนโรงพยาบาลทั้งคืน ปรากฏว่า ก่อนไปโรงพยาบาล คุณแม่ของหนูดีถามว่า ขอแม่ลองส่งพลังรักษาแบบที่แม่เพิ่งไปเรียนมาให้หน่อยได้ไหมเผื่อมันได้ผล...หนูดีไม่มีอะไรจะเสียอยู่แล้วก็เลยลองดู....และไม่น่าเชื่อเลยค่ะ ภายในเวลาไม่ถึงสิบนาทีจากที่ปวดหัวมากๆ หนูดีกลับค่อยๆ ง่วงจนลืมตาไม่ไหว จนแม่ต้องปลุกให้ไปอาบน้ำ พออาบเสร็จแม่พามานอนและให้พลังรักษาอีกครั้ง หนูดีก็หลับปุ๋ยไปจนเช้าตื่นขึ้นมาอาการปวดหายไปแบบไม่มีเหลือ
คราวนี้หนูดีก็ตามมาถึงเมืองบ่อพลอยเลยค่ะ...มาเรียนรู้หลักการนี้ และขอแถมเรียนรำมวยจีนด้วย ปรากฏว่าถูกใจเสียยิ่งกว่าโยคะเจ้าเก่าอีกค่ะ ท่ารำมวยนี้เขาว่ากันว่า เป็นการเคลื่อนไหวอ่อนช้อยตามจังหวะพลังงาน “ชี่” ในร่างกาย ปรับคลื่นพลังงานให้สมดุล...แม้ภายนอกดูอ่อนช้อยแต่ภายในกลับเข้มแข็งมีพลัง...เป็นหลักการ “สองสิ่งตรงกันข้ามที่อยู่อย่างสอดคล้องกัน” เหมือนวงกลมเต๋าที่มีขาวครึ่ง ดำครึ่ง เป็นหยินกับหยาง เป็นมืดกับสว่าง เป็นชายกับหญิง
และเมื่อได้เรียนคัมภีร์เต๋าแล้ว หนูดีกลับพบว่า มีอะไรลึกซึ้งมากกว่าที่เราจะคาดคิดถึงไปได้ เป็นหลักการอันแสนเรียบง่ายแต่จริงใจ หากเราเลือกมาลองปฏิบัติสักอย่างสองอย่างแล้ว น่าจะทำให้ชีวิตพบกับความสุขพอเพียงที่ลึกล้ำได้จริงๆ...และยิ่งในฐานะพ่อแม่แล้ว เราเลือกมาเป็นหลักการเลี้ยงลูกก็น่าจะได้เด็กที่น่ารัก ฉลาดลึกแต่สมถะและถ่อมตนได้น่าเอ็นดูทีเดียว...หลังจากได้ศึกษาคัมภีร์โบราณที่มีแค่ 5,000 คำ แต่มีอายุยาวนานกว่าศาสนาพุทธนี้ หนูดีก็ได้นำมาปรับใช้กับหลักสูตรโรงเรียนวนิษาเช่นเดียวกันค่ะ และไม่มีข้อไหนค้านกับหลักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเลย ว่าไปแล้วสอดคล้องเป็นอย่างยิ่งเสียด้วยซ้ำกับความเชื่อสมัยใหม่...มาดูกันดีกว่าค่ะว่า หนูดีถอดคัมภีร์ส่วนไหนมาใช้บ้าง
ใช้น้ำอุปมา “เต๋า”
“คุณธรรมความประพฤติสูงสุดก็เฉกเช่นคุณสมบัติของน้ำ
น้ำหล่อเลี้ยงสรรพสิ่งโดยไม่แก่งแย่งกับสรรพสิ่ง
อยู่ในฐานะต่ำต้อยที่สุดซึ่งผู้คนดูหมิ่นดูแคลน
ดังนั้นคุณสมบัติของน้ำกับ “เต๋า” แทบไม่แตกต่างกัน
สุภาพชนผู้ดำเนินชีวิตอยู่ในฐานะต่ำได้
จิตวิญญาณจะสงบนิ่งและว่างเปล่ามาก”
นี่เป็นหลักการที่เราจำเป็นต้องสอนเด็กๆ ในปัจจุบันมากเรื่องความถ่อมตัว สูงสุดคืนสู่สามัญ ยิ่งฉลาดมากยิ่งควรนิ่งและถ่อมตัว เพราะปัจจุบันภาพที่เราเห็นกันจนชินคือ คนเราพอเก่งนิดเดียวก็มีท่าคนเก่งเสียมากมายแล้ว...ทั้งๆ ที่คนยิ่งอยู่ตำแหน่งสูงมากเท่าไรยิ่งควรถ่อมตัวเท่านั้น เต๋าเปรียบว่า เหมือนกับทะเลค่ะ คือ น้ำจะไหลไปรวมกันในที่ๆ ต่ำที่สุดของโลก ดังนั้นยิ่งเราทำตัวให้ถ่อมเท่าไร เรายิ่งได้สิ่งดีๆจากจักรวาลมากเท่านั้น
รู้จักพอใช่อัปยศ
“มีการกล่าวว่า รู้จักพอ ก็ไม่ถึงกับอัปยศอดสู
รู้จักหยุดในเวลาที่เหมาะสม ก็จะไม่มีภยันตราย
เช่นนี้แล ชีวิตจึงผาสุกยั่งยืน”
ในฐานะครู หนูดีเริ่มมองเด็กๆ ยุคปัจจุบันแล้วต้องบอกว่าตกใจ...แม้แต่น้องวัยอนุบาลตัวเล็กๆ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างรถเบนซ์กับรถกระบะ ระหว่างมือถือรุ่นใหม่กับรุ่นเก่า ระหว่างเสื้อผ้าแพงๆ กับถูกๆ ...และยิ่งปัจจุบันเด็กๆ เริ่ม “มั่นใจในตัวเองมากไป” จนดูเหมือนกร่าง ดูโทรทัศน์ เข้านอนดึก เล่นเกมคอมพิวเตอร์ ติดรถยนต์ยี่ห้อหรู ก็ทำให้เราต้องเริ่มมองว่า ความสุขง่ายๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคำว่า “พอ” หล่นหายกันไปตอนไหน...ก็คงจะเป็นตอนที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ วิ่งตามความสำเร็จและรายได้ที่จะมาประกันอนาคตของเราและลูก...แต่อย่าลืมว่า เด็กๆ มีเพียงปัจจุบันเท่านั้นนะคะ และหากเราต้องการให้ลูกๆ รู้จักคำว่า “พอ” รู้จักการประหยัดและยืนหยัดมั่นคงบนวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เราเองคงต้องเป็นตัวอย่างให้เขาค่ะ เราทำได้ ลูกก็ทำตามเอง
รัศมีของสิ่งวิเศษสามสิ่ง
“ข้ามีของวิเศษล้ำค่าอยู่สามสิ่ง
สิ่งที่หนึ่งเรียกรักเมตตา
สิ่งที่สองเรียกว่า ประหยัดมัธยัสถ์
สิ่งที่สามเรียกว่า มิบังอาจวางตนอยู่หน้าผู้คนทั้งโลกหล้า”
จริงๆ แล้วคัมภีร์นี้อธิบายเรียบง่ายชัดเจนในตัวเอง ใครมีสามสิ่งนี้ก็มหัศจรรย์แล้วค่ะ เขาว่ากันว่า หลักเต๋านี้หากจักรพรรดิจีนองค์ไหนนำมาปกครองประเทศแล้ว บ้านเมืองจะสงบปลอดภัย ประมาณว่าไม่ล็อคบ้านก็ไม่มีอะไรหายทีเดียว แต่เป็นหลักการปกครองโดยไม่ปกครอง นำแต่ไม่กดขี่ ถ้าพ่อแม่ท่านไหนใช้หลักนี้ปกครองลูกก็น่าจะได้ครอบครัวที่กลมเกลียวสมานฉันท์ดีทีเดียว
ของโบราณหลายสิ่งเป็นของมีคุณค่า ตัวหนูดีเองเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ก็จริง แต่พบว่ายิ่งเรียนรู้รุดหน้ามากเท่าไร พบว่ายิ่งกลับไปนับถือปราชญ์ในอดีตมากขึ้นเท่านั้น ไม่เพียงแต่ปรัชญาพุทธของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ยิ่งใหญ่ ปรัชญาเต๋าก็น่าทึ่งไม่แพ้กัน แถมสอดคล้องกันเป็นอย่างดี หากใครมีโอกาสลองศึกษาดูนะคะ แล้วจะเข้าใจว่า ทำไมหลักการนี้จึงเป็นสิ่งที่แพทย์ นักธุรกิจและจักรพรรดิทุกยุคสมัยให้การนับถือมาถึงสองพันเจ็ดร้อยกว่าปีแล้ว
(Some images used under license from Shutterstock.com.)