© 2017 Copyright - Haijai.com
อัพเดตไวรัสอีโบล่าก่อนสาย Ebola emergency
แม้จะล่วงเลยเป็นเวลา 1 เดือนกว่าแล้ว สำหรับสถานการณ์ของโรคติดต่อที่ชื่อว่า อีโบล่า (Ebola) แต่ก็ยังไม่มีที่ท่าจะลดความรุนแรงลง ประเทศไทย แม้จะไม่อยู่ในกลุ่มประเทศเฝ้าระวัง แต่ก็ไม่ควรชะล่าใจ ควรรู้จักไวรัสชนิดนี้ และการสังเกตอาการของโรคไว้ก่อนจะสาย
โรคอีโบล่าเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อ Ebola Virus ระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ.2519 ที่จังหวัดแห่งหนึ่งในซูดาน 800 กิโลเมตรจากแซอีร์ (ปัจจุบัน เป็นประเทศคองโก) ตรวจพบเชื้อครั้งแรกในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการชำแหละลิงชิมแปนซี ที่ไอวอรี่โค้ด ต่อมาในปี พ.ศ.2547 ติดต่อจากคนสู่คน จากการสัมผัสโดยตรงจากเลือดที่ติดเชื้อ สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือน้ำอสุจิ นอกจากนี้การติดเชื้อในโรงพยาบาลก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ และยังไม่พบรายงานจากติดเชื้อผ่านทางละอองฝอยที่ลอยในอากาศ
ถามว่ามีโอกาสแพร่เชื้อมาที่ประเทศไทยไหม ต้องขอบอกว่าแพร่ได้ เพราะการขนส่งเดินทางในปัจจุบันเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางของมนุษย์หรือขนส่งสัตว์
เช็กสัญญาณเตือน คุณเป็นโรคอีโบล่าไหม
• ไข้สูงเฉียบพลัน
• อ่อนเพลีย
• ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะมาก
• เจ็บคอ
• อาเจียน
• ท้องเสีย
• มีผื่นนูนแดงตามตัว
อาการแบบไหน เรียกว่ารุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต
• มีอาการเลือดออกง่าย มักเกิดจากโดยอวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่
• มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ซึม สับสน และช็อก ร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวาย
การรักษาในปัจจุบัน
ไม่มีการรักษาจำเพาะ ในรายที่มีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้สารน้ำอย่างเพียงพอ ที่สำคัญยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง วัคซีนหลายชนิดอยู่ในระหว่างการทดสอบ
ป้องกันก่อนสาย
1.เข้าใจธรรมชาติของโรค วิธีการแพร่โรคและวิธีหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรค
2.ลดกรสัมผัสหรือคลุกคลีกับสัตว์ที่มีความเสี่ยงสูง (ค้างคาวผลไม้ ลิง และลิงแอพ) ในป่าฝนบริเวณที่มีโรค
3.บริโภคอาหารโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกและสะอาด
4.ขณะให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยควรสวมถุงมือและใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเอง
5.หลังจากเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาลหรือให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน ควรล้างมือให้สะอาด
6.หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคอีโบล่า ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน ไนจีเรีย
7.ควรป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบไวรัสในน้ำอสุจิ
สรุปข้อมูลสถานการณ์ผู้ป่วยโรคอีโบล่า
ประเทศกินี |
|||||
|
ผู้ป่วยใหม่ |
ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน |
ผู้ป่วยเฝ้าระวัง |
ผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ |
ทั้งหมด |
มีผู้ป่วย |
10 |
351 |
133 |
11 |
495 |
เสียชีวิต |
5 |
228 |
133 |
2 |
363 |
ประเทศไลบีเรีย |
|||||
|
ผู้ป่วยใหม่ |
ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน |
ผู้ป่วยเฝ้าระวัง |
ผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ |
ทั้งหมด |
มีผู้ป่วย |
48 |
143 |
252 |
121 |
516 |
เสียชีวิต |
27 |
128 |
110 |
44 |
282 |
ประเทศไนจีเรีย |
|||||
|
ผู้ป่วยใหม่ |
ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน |
ผู้ป่วยเฝ้าระวัง |
ผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ |
ทั้งหมด |
มีผู้ป่วย |
5 |
0 |
2 |
7 |
9 |
เสียชีวิต |
0 |
0 |
1 |
0 |
1 |
ประเทศเซียร์ราลีโอน |
|||||
|
ผู้ป่วยใหม่ |
ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน |
ผู้ป่วยเฝ้าระวัง |
ผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ |
ทั้งหมด |
มีผู้ป่วย |
45 |
576 |
49 |
66 |
691 |
เสียชีวิต |
13 |
247 |
34 |
5 |
286 |
รวมทั้งหมด |
|||||
|
ผู้ป่วยใหม่ |
ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน |
ผู้ป่วยเฝ้าระวัง |
ผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ |
ทั้งหมด |
มีผู้ป่วย |
108 |
1070 |
436 |
205 |
1711 |
เสียชีวิต |
45 |
603 |
278 |
51 |
932 |
นพ.เอกวิทย์ เกวลินสฤษดิ์
แพทย์อายุกรรม โรงพยาบาลยันฮี
(Some images used under license from Shutterstock.com.)