Haijai.com


การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ


 
เปิดอ่าน 1729

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ

 

 

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบนั้น เริ่มแรก จะมีการซักประวัติว่าผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย และประเมินภาวะความเสี่ยง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมัน ความอ้วน ความเครียด สูบบุหรี่ ประวัติครอบครัวโรคหัวใจ ร่วมด้วยหรือไม่ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด และตรวจสืบค้นเพิ่มเติมเบื้องต้น ด้วยการตรวจกราฟไฟฟ้าหัวใจ จากนั้นอาจตรวจเพิ่มเติมด้วยการเดินสายพาน  เพื่อดูภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ถ้าพบว่ามีภาวะผิดปกติที่บ่งบอกถึงภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ

 

 

โดยการรักษา โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ มีหลายทางเลือก

 

1.การใช้ยา ในกลุ่มยาละลายลิ่มเลือด และควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น รักษาความดันโลหิตสูง ไขมันสูง และเบาหวาน

 

 

2.การฉีดสีและทำการใส่ขดลวด เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งหลังทำผู้ป่วยต้องกินยาละลายลิ่มเลือดอย่างสม่ำเสมอ

 

 

3.การผ่าตัด Bypass เพื่อเปลี่ยนเส้นเลือดหัวใจ การเลือกวิธีการรักษาใดนั้น ขึ้นกับสภาพการตีบตันของหลอดเลือด และความเหมาะสมของผู้ป่วยในแต่ละราย หลังการรักษา ผู้ป่วยควรดูแลตัวเองอย่างไรดี

 

 

หลังการรักษา ดูแลตัวเองอย่างไรดี

 

 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ที่มีน้ำหนักเยอะ ควรลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร

 

 

 เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่

 

 

 ออกกำลังกายสม่ำเสมอเท่าที่สามารถทำได้

 

 

 บางคนมีโรคร่วม เช่น ไขมันสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็ต้องรักษาไปด้วยกัน เนื่องจากจะส่งผลเสียให้หลอดเลือด

 

 

 พักผ่อนให้เพียงพอ

 

 

 เลี่ยงอาหารเค็มจัด และอาหารมัน สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานต้องหลีกเลี่ยงป้อง อาหารหวาน และคุมระดับน้ำตาลให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการตีบที่มากขึ้นของขดลวดที่ใส่ในระยะยาว

 

 

ญาติพี่น้องไม่ควรละเลย

 

 ดูแลการรับประทานยาให้ทานอย่างสม่ำเสมอ ครบถ้วน

 

 

 จัดเมนูอหารให้เหมาะกับผู้ป่วย

 

 

 ดูแลเรื่องออกกำลังกายให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

 

แพทย์หญิงนันทพร วงศ์เจริญเกียรติ

อายุรศาสตร์-อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ

โรงพยาบาลพญาไท 3

(Some images used under license from Shutterstock.com.)