Haijai.com


5 โรคติดเชื้อ ปราบเท่าไหร่ก็ยังไม่หมด


 
เปิดอ่าน 1858

5 โรคติดเชื้อ ปราบเท่าไหร่ก็ยังไม่หมด

 

 

เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวไกลในปัจจุบัน ทำให้พวกเรามีทางเลือกในการจัดการกับโรคติดเชื้อมากขึ้น ทั้งการป้องกันด้วยวัคซีน และการรักษาด้วยยาชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคติดเชื้อบางอย่างที่ “ปราบไม่หมด” แม้เราจะมีวัคซีนหรือมีแนวทางการรักษามาหลายสิบปี มันก็ยังคงมีอยู่ ซ้ำยังกลับมาระบาดเป็นพักๆ โดยเฉพาะหากมีการเปิด AEC ให้มีแรงงานต่างด้าวเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวและระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวอาจเป็นปัญหาเพิ่มขึ้นได้

 

 

1.หัด

 

ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดมาประมาณ 20 กว่าปีแล้ว แต่โรคหัดก็ยังไม่หมดไป และพบการระบาดเป็นครั้งคราวในเด็กเล็ก ทั้งนี้เพราะประเทศไทยฉีดวัคซีนเข็มแรกตอนเด็กอายุ 9 เดือน ซึ่งจะมีเด็กประมาณร้อยละ 70-80 เท่านั้นที่ได้ผล ในขณะที่ต่างประเทศฉีดเข็มแรกตอนเด็กอายุ 12 เดือน ทั้งนี้แนวทางการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคหัดในประเทศไทย จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำการทบทวนและปรับปรุงต่อไป

 

 

โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัส Morbillivirus แพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย เชื้อไวรัสจะเข้าไปที่ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยแล้วเพิ่มจำนวน จากนั้นจะเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปยังกระแสเลือด ปุ่มน้ำเหลือง และอวัยวะต่างๆ รวมถึงผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแสดงต่างๆ ออกมา โรคหัดมีระยะฟักตัวประมาณ 10-14 วัน นับตั้งแต่สัมผัสกับเชื้อ อาการเริ่มแรกของโรค ได้แก่ มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล หลังจากอาการในระบบทางเดินหายใจแล้วประมาณ 24-48 ชั่วโง จะพบจุดสีแดงสดมีศูนย์กลางสีขาวในบริเวณเยื่อบุกระพุ้งแก้ม เรียกจุดดังกล่าวว่า จุดคัพลิค (Koplik spots) หลังจากพบจุดคัพลิคอีก 24-48 ชั่วโมงให้หลัง ก็จะพบผื่นขึ้นเริ่มจากหลังหู ลามมาที่หน้าและลำตัว ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัดมีตั้งแต่ไม่รุนแรง เช่น หูชั้นกลางอักเสบ กล่องเสียงติดเชื้อไวรัส จนถึงรุนแรงมาก เช่น ม้ามโต กระจกตาน่วม ตาบอด ปอดบวม และอาจถึงแก่ชีวิตในที่สุด

 

 

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสโรคหัด การรักษาเป็นแบบประคับประคอง เช่น กรให้วิตามินเอ โดยการรับประทานเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ตา ตลอดจนช่วยลดอัตราการตายของผู้ป่วย การใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ที่ปอดบวมหรือหูชั้นกลางอักเสบ การให้สารน้ำโดยการดื่มหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น

 

 

2.คางทูม

 

แม้ว่าจะมีการใช้วัคซีนป้องกันคางทูมในรูปแบบวัคซีนเชื้อเป็น (MMR vaccine) แต่ก็ยังคงพบการระบาดของคางทูมอยู่ในประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย (เด็กไทยจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันคางทูมสองครั้ง ครั้งแรกช่วงอายุ 9-12 เดือน และครั้งที่สอง ช่วงอายุ 2 ขวบครึ่ง ถึง 6 ขวบ) เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการกระตุ้น โดยวัคซีนจะลดลงเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น เชื้อคางทูมที่ใช้ผลิตวัคซีนมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันแตกต่างกัน ดังเช่น เชื้อคางทูมสายพันธุ์ Rubini ซึ่งในบางภูมิภาควัคซีนที่ผลิตจากเชื้อสายพันธุ์นี้ไม่สามารถใช้ป้องกันโรคคางทูกได้ ตลอดจนวิถีชีวิตที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพ ก็ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวของการให้วัคซีนแม้ว่าจะได้รับวัคซีนสองเข็มก็ตาม

 

 

โรคคางทูมเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส Rubulaviurs และโรคนี้พบในมนุษย์เท่านั้น ร่างกายสามารถรับเชื้อดังกล่าวผ่านการสูดดมละอองสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจหรือน้ำของผู้ป่วย การสัมผัสกับผู้ป่วยหรือสิ่งของที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อน เชื้อมีระยะฟักตัวประมาณ 14-25 วัน อาการแสดงของคางทูมเริ่มต้นจากไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว จากนั้นจะมีการบวมของต่อมน้ำลายหน้าหู และต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร ซึ่งจะบวมมากจนไม่สามารถคลำมุมคางได้ มักพบการบวมทั้ง 2 ข้าง โดยแต่ละข้างบวมไม่เท่ากัน เชื้อคางทูมสามารถแพร่ไปที่อวัยวะสืบพันธุ์และระบบประสาทจนกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ทำให้อัณฑะอักเสบจนเป็นหมันในที่สุด ทำให้สูญเสียการได้ยิน ตลอดจนทำให้เกิดอาการสมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การรักษาเป็นแบบประคับประคอง เช่น การประคบร้อนบริเวณคางทูม การใช้ยาแก้ปวดลดไข้ การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ เป็นต้น

 

 

3.คอตีบ

 

การกลับมาของโรคคอตีบมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของระบบการกระจายวัคซีนแก่ประชาชน เดิมทีกรมควบคุมโรค จะเป็นผู้ดูแลการฉีดวัคซีน ซึ่งจะมีการฉีดตามบ้านด้วย ทำให้การให้ภูมิคุ้มกันเป็นไปอย่างทั่วถึง แต่ในปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติ (สปสช.) เป็นผู้ดูแลการฉีดวัคซีน ระบบการกระจายวัคซีนจึงเปลี่ยนไปจากเดิมและมีการตกหล่น ทำให้มีเด็กที่ไม่ได้รับภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ จึงกลับมาใหม่ในที่สุด

 

 

คอตีบเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheria  ติดต่อโดยการสัมผัสกับละอองสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจหรือการสัมผัสกับรอยโรคที่ผิวหนังของผู้ป่วย นอกจากนี้เชื้อยังสามารถแพร่ผ่านการสัมผัสของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า ได้อีกด้วย หลังจากได้รับเชื้อเป็นเวลาประมาณ 1-7 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการอักเสบที่คอหอยแล่ะอมทอนซิล เชื้อจะกระตุ้นให้มีการสร้างแผ่นเยื่อเทียม (Pseudomembrane) ขึ้นบริเวณคอหอย เพดานอ่อน และกล่องเสียง จนทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ นอกจากนี้เชื้อคอตีบยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจและระบบประสาทได้อีกด้วย การรักษาทำได้โดยการฉีด Diphtheria antitoxin และให้ยาปฏิชีวนะได้แก่ Penicillin และ Erythromycin การป้องกันโรคทำได้โดยการฉีดวัคซีนเมื่อเด็กมีอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 18 เดือน ระหว่าง 4-6 ขวบ ระหว่าง 11-12 ขวบ และทุกๆ 10 ปี

 

 

4.ไอกรน

 

เรามักพบโรคไอกรในประชากร 2 กลุ่ม ได้แก่ เด็กทารกอายุก่อน 3 เดือน ซึ่งถ้าเป็นแล้วอาจถึงถายได้ และเด็กโตถึงผู้ใหญ่ เนื่องจากหลังจาก 5 ขวบ จะไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ภูมิคุ้มกันโรคจึงลดลงจนทำให้ประชากรในวัยดังกล่าวมีโอกาสป่วยเป็นไอกรน ผู้ใหญ่ที่ไอเรื้อรัง (มากกว่า 3 สัปดาห์) ร้อยละ 10-20 ป่วยเป็นโรคไอกรน ปัจจุบันโรคไอกรนนับเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการตายจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

 

 

ไอกรนเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis หรือ Bordetella parapertussis ซึ่งติดต่อโดยการสัมผัสละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย หรือสัมผัสกับรอยโรคที่ผิวหนังของผู้ป่วย เมื่อเชื้อเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจ เชื้อจะเกาะติดกับขนเซลล์หลอดลม และสร้างสารพิษทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดความผิดปกติในที่สุด หลังจากได้รับเชื้อเป็นเวลา 7-10 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่

 

 

 ระยะที่มีอาการคล้ายโรคหวัด (Catarrhal) เป็นประมาณ 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีอาการน้ำมูกไหล เยื่อตาอักเสบ เจ็บคอ ไอไม่มีเสมหะ อาจจะมีไข้อ่อนๆ

 

 

 ระยะหดเกร็ง (Spasmodic) เป็นการประมาณ 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีอาการไอกำเริบขึ้นอย่างมาก ผู้ป่วยอาจจะมีอาการกำเริบได้ถึง 30 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจจะไอมากจนกระทั่งเลือดออกในสมอง ซี่โครงหัก หายใจไม่ทัน หรือผิวหนังมีสีเขียวคล้ำ (Cyanosis) เนื่องจากเลือดขาดออกซิเจน

 

 

 ระยะฟื้นโรค (Convalescent) เป็นประมาณ 2 สัปดาห์จนถึงหลายๆ เดือน อาการไอจะค่อยๆ หายไป

 

 

นอกจากอาการในระบบทางเดินหายใจแล้วโรคไอกรนอาจทำให้เกิดอาการหรือภาวะแทรกซ้อนในระบบอื่นๆ เช่น ชัก ตาบอด ปัญญาอ่อน การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน (Ataxia) แผลลึกที่ผิวหนังซึ่งมีสีเทาขาว เป็นต้น การรักาโรคไอกรนทำได้โดยใช้ยา Clarithromycin หรือ Azithromycin หรือ Co-trimoxazole นอกจากนี้อาจให้การรักษาประคับประคอง เช่น ให้ออกซิเจน ให้ยาสเตียรอยด์ หรือยา ขยายหลอดลมเพื่อแก้ไอ เป็นต้น

 

 

5.วัณโรค

 

แม้ว่าเราจะมีวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) ใช้มาหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบวัณโรคอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปได้ว่าวัคซีนป้องกันวัณโรคอาจจะไม่ค่อยได้ผลในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันวัณโรค นอกจากนี้เชื้อวัณโรคในปัจจุบันยังมีการดื้อยาฆ่าเชื้อ สาเหตุมาจากความหละหลวมในการตรวจสอบการรับประทานยาของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่รับประทานยาครบตามที่กำหนด เชื้อจึงดื้อยามากขึ้น และผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากขึ้น

 

 

วัณโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นอย่างมาก ทั้งความแห้ง และสารฆ่าเชื้อโรค การขจัดเชื้อนี้ต้องใช้ความร้อนชื้น (Moist heat) ร่างกายสามารถรับเชื้อวัณโรคผ่านการสูดดมเชื้อที่อยู่ในอากาศ หรือดื่มนมดิบที่ปนเปื้อนเชื้อนี้ เมื่อเชื้อเข้าไปภายในร่างกาย ก็จะถูกเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage กิน ถ้าเม็ดเลือดขาวดังกล่าวไม่สามารถทำลายเชื้อได้ เชื้อก็จะเพิ่มจำนวนใน Macrophage และทำให้ Macrophage แตกในที่สุด แล้ว Macrophage ตัวอื่นก็จะมากิน เกิดวงจรอุบาทว์แบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นในบริเวณถุงลม จนเวลาผ่านไปตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป เซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอื่นๆ จะถูกกระตุ้นให้มาล้อมรอบบริเวณที่มีการติดเชื้อ ทำให้เกิดการอักเสบและมีการสะสมของแคลเซียมในบริเวณดังกล่าว ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ การดำเนินโรคจรุนแรงขึ้นเชื้อจะเพิ่มจำนวนและทำลายเนื้อเยื่อ จนเกิดอาการในที่สุด ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ไม่แน่นอน อาจจะกินเวลาตั้งแต่ไม่กี่สัปดาห์จนถึงหลายปี อาการของวัณโรค ได้แก่ น้ำหนักลด เหนื่อยล้า ไอเรื้อรัง มีไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน วัณโรคไม่ได้จำเพาะกับปอดเท่านั้น แต่ยังสามารถแพร่ไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น หลอดน้ำเหลือง เยื่อหุ้มปอด กระดูก เยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

 

 

ยาอันดับแรกที่ใช้รักษาวัณโรคประกอบด้วยยา Isoniazid, Rifampin, Pyrazinamide และ Ethambutol โดยการรักษานั้น สองเดือนแรกจะรับประทานยาสี่ชนิดร่วมกัน แล้วลดลงเหลือแค่ Isoniazid และ Rifampin ในอีกสี่เดือน ส่วนในกรณีที่เชื้อด้อยา ก็ต้องตัดยาตัวนั้นทิ้ง หรือแทนที่ และ/หรือเสริมยาตัวอื่นเข้าไป ตลอดจนใช้เวลาในการรักษาที่นานขึ้น เช่น ในกรณีที่เชื้อดื้อยา Isoniazid และ Rifampin ยาที่ใช้ในการรักษาจะเปลี่ยนเป็นยาฆ่าในกลุ่ม Fluoroquinolones, Pyrazinamide, Ethambutol และอาจพิจาณาเพิ่มยาฉีดเข้าไป ระยะเวลาที่ใช้รักษาจะอยู่ที่ระหว่าง 18-24 เดือน เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสที่คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจะแย่ลง เพราะอาการข้างเคียงจากยาก็จะมีมากขึ้น เช่น ยาฆ่าเชื้อ กลุ่ม Fluoroquinolones ทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน ยา Cycloserine อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ ซึมเศร้า มีความคิดฆ่าตัวตาย ชัก จิตใจผิดปกติ เป็นต้น ยาฆ่าเชื้อในกลุ่ม Aminoglycosides ก็มีความเป็นพิษต่อไตและหู เป็นต้น

 

 

ยุทธศาสตร์ป้องกันตัวสำหรับการเปิด AEC

 

ในส่วนของประชาชน ทุกคนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคต่างๆ และวิธีป้องกันโรค และดูแลสุขภาพตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่สะอาด มีคุณค่าตามหลักโภชนา และปรุงอย่างถูกสุขอนามัย หลีกเลี่ยงการไปที่ที่มีคนแออัด เพื่อป้องกันการรับเชื้อจากพาหะในกรณีที่มีบาดแผล ควรล้างแผลให้สะอาดและใส่ยาฆ่าเชื้อ

 

 

ในส่วนของรัฐบาล รัฐบาลควรตระหนักว่าหลังจากเปิด AEC แล้ว จะมีแรงงานต่างด้าวหลั่งไหลเข้ามาในไทย ซึ่งหลายคนอาจจะเป็นพาหะนำโรค รัฐบาลต้องมีการวางระบบประกันสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าว เพื่อที่พวกเขาจะได้รับวัคซีนป้องกัน และการรักษาในกรณีที่ป่วยอย่างทั่วถึง

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ยกกระชับช่องคลอด Vaginal Lift Vaginal Morpheus Pro Morpheus ยกกระชับ Oligio Body Oligio IV Drip ดริปวิตามิน Emsella รีแพร์ เลเซอร์นอนกรน นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก ลดน้ำหนัก Emsculpt สลายไขมัน สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting romrawin รมย์รวินท์ Belotero ผิวฉ่ำ Glassy Skin Juvederm Coolsculpting เลเซอร์รอยสิว Meso Hair Skinvive ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฉีดฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย โบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime Ulthera Ulthera Thermage FLX Thermage Oligio Oligio ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร กำจัดขน เลเซอร์ขน เลเซอร์ขน Pico Laser Pico Majesty Reepot Laser Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Sculptra Sculptra Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse UltraClear AviClear Accure Laser Fit Firm Emsculpt Coolsculpting Elite NAD+ ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP Vaginal P-SHOT O-Shot LLLT ปลูกผม รักษาผมร่วง ผมร่วง ผมบาง ปลูกผม ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม ดูดไขมัน ดึงหน้า ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก วีเนียร์ Apex