
© 2017 Copyright - Haijai.com
เลิกบุหรี่ แล้วมีความสุขกว่า
ผลการศึกษาจากประเทศอังกฤษบ่งชี้ว่าเลิกบุหรี่แล้วมีความสุขมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าคนที่สูบบุหรี่ระดับปานกลางถึงหนักมาก เมื่อได้เลิกบุหรี่แล้วมีภาวะจิตใจที่ดีขึ้น โดยเฉพาะสำหรับคนที่เครียดและวิตกกังวลจะได้ผลดีเท่ากับการกินยาต้านโรคซึมเศร้า
นักวิจัยจากประเทศอังกฤษได้ทำการศึกษางานวิจัยที่ตีพิมพ์ 26 ฉบับเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตของนักสูบบุหรี่ ที่ได้จากการทำแบบทดสอบให้คะแนนเป็นมาตรฐาน กรอกโดยอาสาสมัครที่เปิดเผยในเรื่องอาการของความวิตกกังวลซึมเศร้า เครียด และคุณภาพชีวิต นักสูบโดยเฉลี่ยมีออายุ 44 ปี และสูบบุหรี่ระหว่าง 10-40 มวนต่อวัน เขาถูกสอบถามก่อนเลิกบุหรี่และอีกทีหลังพยายามเลิกบุหรี่ 6 เดือน โดยเฉลี่ย คนที่เลิกได้รายงานว่ามีการลดลงของความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเครียด และมีความรู้สึกเป็นบวกต่ออนาคต เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ยังสูบต่อไป ผลที่เกิดขึ้นี้มีขนาดเท่ากับหรือมากกว่าผลของยาต้านซึมเศร้า ซึ่งใช้รักษาโรคอารมณ์แปรปรวนและวิตกกังวล รายงานนี้ตีพิมพ์ในวารสาร British Medical Journal (BMJ) คนที่เลิกบุหรี่ได้และเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตแปรปรวนจึงได้รับอานิสงส์ผลดีด้วย
หัวหน้านักวิจัย เจมมา เทย์เลอร์ จากมหาวิทยาลัย Birmingham School of Health and Population Sciences กล่าวว่า ผลการศึกษานี้จะช่วยลบล้างความเชื่อผิดๆ ที่เกิดในวงกว้างเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ที่ว่า “การสูบบุหรี่มีผลดีต่อสุขภาพจิต การสูบบุหรี่ลดความเครียด ทำให้ผ่อนคลาย การสูบบุหรี่ช่วยให้มีความสุขสนุกกับชีวิตความเป็นอยู่” ความเชื่อผิดๆ เหล่านี้ยากที่จะลบล้างได้ แต่จริงๆ แล้ว ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าเมื่อคุณเลิกบุหรี่ คุณก็หลุดออกมาจากวงจรการเสพติดนิโคติน ซึ่งมีผลให้สุขภาพจิตของคุณดีขึ้น
เทเลอร์บอกว่างานวิจัยหลักๆ ในเรื่องการเสพติดบุหรี่นั้น ชี้ว่าภาวะจิตใจของผู้สูบลุ่มๆ ดอนๆ ทั้งวัน เนื่องจากการเสพนิโคตินที่ไม่ต่อเนื่องกัน ความรู้สึกดีๆ จากการสูบจะตามมาด้วยอาการถอนยา (ตอนหยุดสูบ) ซึ่งมีอากรซึเศร้า วิตกกังวล และใจเต้นระส่ำ ซึ่งนักสูบมักโทษอาการเหล่านี้ว่า มาจากความเครียดหรือปัจจัยอย่างอื่นและเนื่องจากนิโคตินมีฤทธิ์กล่อมประสาท จึงทำให้เขาคิดว่าการสูบบุหรี่ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น
การศึกษานี้มีผลดีที่ชี้ให้เห็นว่าการสูบบุหรี่มีผลเสียต่อสุขภาพจิตด้วย หลังจากที่มีการพิสูจน์ให้เห็นผลเสียทางร่างกายมามากมายหลายโรค เช่น มะเร็งในช่องปาก ปอดกล่องเสียง ตับอ่อน กระเพาะปัสสาวะ โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ ตาบอด เบาหวาน และทำการบ้านไม่ได้ เพราะนกเขาไม่ขัน
(Some images used under license from Shutterstock.com.)