Haijai.com


น้ำหนักตัวเกิน เสี่ยงโรคถุงน้ำในรังไข่ (PCOS)


 
เปิดอ่าน 6109

น้ำหนักตัวเกิน เสี่ยงโรคถุงน้ำในรังไข่ (PCOS)

 

 

สาวน้ำหนักเกินฟังทางนี้ นอกจากความอ้วนจะพาให้ชีวิตเจอโรคภัยต่างๆ แล้วโรคที่ไม่ควรวางใจอีกโรคหนึ่งอย่าง โรคถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) ก็เป็นสิ่งที่ต้องระวังด้วยเช่นกัน

 

 

รู้จักโรค PCOS

 

โรคถุงน้ำในรังไข่หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า พี่ซีโอเอส (PCOS or Ploycystic Ovary Syndrome) เป็นภาวะที่ในถุงน้ำมีไข่อยู่หลายๆ ใบ ซึ่งเป็นความผิดของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองที่ชื่อว่า ฮอร์โมน ที เอส เอช (TSH) ซึ่งต่อมใต้สมองทั้งหมดสามารถควบคุมอวัยวะได้ 3 ทางด้วยกัน คือ จากต่อมใต้สมองเชื่อมไปยังรังไข่ไทรอยด์ และเต้านม

 

 

การที่ประจำเดือนมาช้าหรือมา ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายเยอะ ทำให้หน้ามัน มีสิวผด รูขุมขนขยายใหญ่ มีขนหรือหนวดอ่อนๆ ขึ้น เสียงแตกห้าว ผลจากฮอร์โมนเพศชายนี้เอง จะเป็นตัวกดรังไข่ทำให้ไข่ไม่ตก ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin Resistance) และโดยปกติเซลล์ต้องการน้ำตาลเป็นพลังงาน และน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ได้ต้องอาศัยอินซูลินเป็นตัวนำพา เมื่อเซลล์ดื้อต่ออินซูลิน น้ำตาลจึงไม่สามารถเข้าไปได้ ร่างกายจึงต้องใช้อินซูลินเป็นจำนวนมาก เพื่อดันให้น้ำตาลเข้าไป

 

 

นิ่งนอนใจ ปล่อยให้โรคดำเนินไป ระวัง

 

 รังไข่จะถูกกดทับ ทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง มีผลให้กระดูกบางเร็วขึ้น

 

 

 มีบุตรยาก

 

 

 ถ้าฮอร์โมนเพศชายเยอะทำให้หน้ามันมีสิว มีขนอ่อนๆ หนวดขึ้น เสียงแตก

 

(เสียงแตกจะไม่สามารถทำให้เสียเดิมกลับมาได้)

 

 

มีวิธีการรักษาอย่างไร

 

1.รักษาด้วยตัวเอง

 

 ลดน้ำหนักให้ได้ 5% ขึ้นไป

 

 

 ควบคุมและลดอาหารหวาน มัน แป้งและน้ำตาล

 

 

 เลือกรับประทานผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง แก้วมังกร แอปเปิ้ล พุทรา สตรอเบอร์รี่ สาลี่ มะละกอ

 

 

 งดผลไม้ที่มีรสหวาจัด เช่น เงอะ ลิ้นจี่ ลำไย ทุเรียน ขนุน องุ่น แตงโม

 

 

2.รักษาด้วยยา

 

 เมทฟอร์มิน (Metformin) เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน ทำให้น้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้ดี ร่างกายจึงนำอินซูลินมาใช้ได้น้อยลง เป็นผลให้ฮอร์โมนเพศชายน้อยลงตามไปด้วย ตัวกดรังไข่จึงน้อยลง ไข่จึงตกได้ดีขึ้น และโดยทั่วไปเมื่ออายุมาก การเจริญพันธุ์จะลดน้อยลง โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป เพื่อให้น้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้ดี ให้รับประทานวันละเม็ด และเพิ่มขนาดยาไปเรื่อยๆ หากไม่มีผลข้างเคียง รับประทานอย่างต่อเนื่องจนกว่าระดูจะมาเป็นปกติ

 

 

 รักษาด้วยยาคุมกำเนิด เพื่อลดฮอร์โมนเพศชาย หรือรับประทานร่วมกับยาเมทฟอมินในผู้ที่เป็นมากๆ และในกรณีที่ต้องการมีบุตร ต้องรับประทานยากระตุ้นไข่ร่วมด้วย

 

 

ไขปัญหาความเชื่อเกี่ยวกับ PCOS

 

Q : เคยได้ยินผู้ที่ป่วยเป็นโรคพีซีโอเอส บอกว่าเมื่ออายุมากขึ้นโอกาส การตั้งครรภ์จะมากขึ้นด้วย จริงหรือไม่ อย่างไรคะ

 

 

A : การจะมีลูกได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอยู่ 2 ประการ คือ ไข่ตกหรือไม่และความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ โดยปกติโรคนี้สามารถตั้งครรภ์ได้ เพียงแต่มีโอกาสยากขึ้น เนื่องจากไข่ไม่ยอมตกทำให้เกิดฮอร์โมนต่างๆ กดรังไข่ไว้ และโดยทั่วไปเมื่ออายุมากขึ้นการเจริญพันธุ์จะลดน้อยลงเป็นปกติ โดยเฉพาะกลุ่มของผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

 

 

Q : โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

 

 

A : โดยปกติการรักษาโรคพีซีโอเอส ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นปี มีโอกาสหายขาดได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการต่อเนื่องในการรักษาและปรับพฤติกรรมของตัวเองร่วมด้วย จนกว่าแพทย์จะค่อยๆ ลดขนาดยาให้น้อยที่สุดตามลำดับอาการ จนกว่าผู้ป่วยจะสามารถมีระดูได้ตามปกติ แต่ความจริงแล้วการลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็อาจไม่ต้องรักษาด้วยการรับประทานยา เนื่องจากเมื่อน้ำหนักลดไข่จะตกเป็นปกติได้เช่นกัน

 

 

สาวรูปร่างผอมอย่างเพิ่งนิ่งนอนใจ ไปว่าจะหนีพ้นต่อโรคพีซีโอเอส เพราะโรคนี้เป็นได้ทั้งผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ที่สำคัญต้องหมั่นสังเกต จดบันทึกความผิดปกติระดูหรือประจำเดือนและปรึกษาแพทย์อยู่เสมอ

 

 

นายแพทย์ประทีป หาญอิทธิกุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและมีบุตรยาก

ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลนนทเวช

(Some images used under license from Shutterstock.com.)