Haijai.com


การวินิจฉัยทางพันธุศาสตร์ธาลัสซีเมีย


 
เปิดอ่าน 2216
 

การวินิจฉัยทางพันธุศาสตร์ภายนอกร่างกายสำหรับธาลัสซีเมีย

 

(Preimplantation genetic diagnosis for thalassemia)

 

 

คู่สามีภรรยาที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย มีโอกาสที่จะมีลูก เป็นโรคธาลัสซีเมียได้ร้อยละ 25 ของทุกครั้งของการตั้งครรภ์ หน ทางเลือกของคู่สามีภรรยาหรือคู่เสี่ยง (risk couple) ที่จะหลีก เลี่ยงการมีลูกเป็นโรคคือการวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด (prenatal diagnosis, PND) การตรวจมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับอายุ ครรภ์ ได้แก่การตรวจจากรก (chorionic villus sampling, CVS) หากผลของการตรวจพบทารกในครรภ์เป็นโรค คู่เสี่ยงจะมี 2 หนทาง เลือกคือ ยุติการตั้งครรภ์หรือดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปจนคลอดบุตร ที่เป็นโรค

 

 

อย่างไรก็ดีการวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอดยังไม่สนอง ความพึงพอใจของคู่เสี่ยง มีคู่เสี่ยงหลายคู่ที่ยุติการตั้งครรภ์หลายครั้ง นอกจากนี้การยุติการตั้งครรภ์ยังไม่เป็นการยอมรับเนื่องจากขัดต่อหลักศาสนา มีผลกระทบต่อจิตใจ และต่อสังคม ทางออกของคู่เสี่ยงเหล่านี้คือ การวินิจฉัยทางพันธุศาสตร์ภายนอกร่างกายก่อนนำทารกตัวอ่อน (embryo) ที่ไม่เป็นโรคกลับเข้าไปเจริญเติบโตต่อไป หรือที่เรียกว่า preimplantation genetic diagnosis (PGD)

 

 

PGD เป็นการตรวจทางพันธุศาสตร์โดยตรวจพันธุกรรมของเซลล์ ที่ปฏิสนธิแล้วระดับ 8 เซลล์นอกร่างกาย สามารถแสดงภาพรวมสรุป ซึ่งมีขั้นตอนของกระบวนการดังนี้

 

 

1. การใช้ฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ (ovulation induction) ปกติโดย ธรรมชาติจะมีการตกไข่ทุกเดือน เดือนละ 1 เซลล์ (ovulation) การ กระตุ้นให้มีการตกไข่หลายเซลล์ สามารถทำได้โดยการใช้ฮอร์โมน กระตุ้นรังไข่ให้ไข่แก่ (mature eggs) แล้วรวบรวมไข่เหล่านี้ออก จากรังไข่ ทำให้ได้เซลล์หลายเซลล์พร้อมที่จะผสมนอกร่างกาย

 

 

2. การรวบรวมไข่ (oocyte collection) ผู้ป่วยจะได้รับการวาง ยาสลบ (sedation) แล้วแพทย์ใช้กล้องส่องเพื่อดูดเซลล์ไข่ ออกมาภายนอก

 

 

3. การนำไข่ออกมาผสมกับอสุจิและเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย (fertilization and embryo culture) เป็นการฉีดเชื้ออสุจิ (single sperm) เข้าไปในไข่แต่ละฟอง (intracytoplasmic sperm injection, ICSI) เมื่อไข่ที่ถูกผสมจะเริ่มแบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อน (embryo) ต่อไป

 

 

4. การตรวจตัวอ่อนทางพันธุศาสตร์ (blastomeres biopsy) เมื่อตัวอ่อนเริ่มแบ่งตัวในวันที่ 3 หลังการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะประกอบ ด้วยเซลล์ประมาณ 6-8 เซลล์ ในขั้นต่อไปจะนำ 1-2 เซลล์ไปตรวจสอบ ทางพันธุศาสตร์สำหรับธาลัสซีเมีย ในระยะการแบ่งตัวของตัวอ่อน ขณะนี้ทุกๆเซลล์จะมีลักษณะเหมือนกันหมด ดังนั้นการนำเซลล์ 1-2 เซลล์ออกไปจะไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในการเติบโต เป็นทารกที่ปกติต่อไป (normal development)

 

 

5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (genetic diagnosis) ประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยดังนี้

 

1. Polymerase Chain Reaction (PCR) เป็นการเพิ่มปริมาณ (amplify) สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ เนื่องจากเป็นการนำเซลล์ตัวอ่อน ออกมาวินิจฉัยเพียง 1-2 ตัว ดังนั้นเทคนิดนี้จึงมีความสำคัญมาก

 

2. Genetic work up เนื่องจากมีความหลากหลายของยีน ธาลัสซีเมีย ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยขอคู่เสี่ยงได้แก่ภรรยาและ สามีเสียก่อนที่จะทำการผสมในหลอดแก้ว (IVF)

 

 

6. การนำตัวอ่อนกลับเข้าไปฝังตัวในมดลูก (embryo transfer and implantation) เมื่อได้ทดสอบตัวอ่อนแล้วและพบว่าเป็นปกติขั้นตอน ต่อไปจะนำตัวอ่อนกลับเข้าไปฝังตัวในมดลูกของมารดา การทำนี้จะ ทำในวันที่ 3-5 หลังจากการนำไข่ออกมาจากรังไข่ การนำตัวอ่อนกลับ เข้าไปในโพรงมดลูกใช้การสอด catheter เมื่อสอดตัวอ่อนเข้าไป แล้วจึงฝังตัวในผนังมดลูก ต่อมาจะเกิดภาวะการณ์ตั้งครรภ์ต่อไป การตั้งครรภ์จะไม่ประสบความสำเร็จทุกรายขึ้นอยู่กับกระบวนการ IVF เพียงประมาณร้อยละ 30 เท่านั้นที่จะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น

 

 

ข้อจำกัดของการทำ PGD คืองบประมาณที่ใช้ในการทำยังสูง อยู่มาก ปัจจุบันยังให้บริการอยู่ในวงจำกัดเนื่องจากต้องใช้สูติแพทย์ ที่มีความชำนาญ ห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อมและทันสมัย

 

 

ตารางแสดงประเทศต่างๆที่ ทำ PGD ในการวินิจฉัยธาลัสซีเมีย

 

ประเทศ
คู่เสียงต่อธาลัสซีเมีย
ผล (คลอดปกติ)
เอกสารอ้างอิง
อิตาลี
7
3
1
จีน
4
3
2
กรีช
10
9
3
ซัยปรัส
7
5
4
ฮ่องกง
2
2
5

 

 

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กิตติ ต่อจรัส

ขอขอบคุณข้อมูลจาก thalassemia.or.th

(Some images used under license from Shutterstock.com.)