Haijai.com


ระวังฟิลเลอร์สวยเร่งด่วนเสี่ยงตาบอด


 
เปิดอ่าน 4425

ระวังฟิลเลอร์สวยเร่งด่วนเสี่ยงตาบอด

 

 

สมัยนี้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเกี่ยวกับความสวยความงามทันสมั้ยมากขึ้น แทบจะเสกความสวยความหล่อให้ได้เพียงพริบตาเดียว จากข่าวหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ที่ผ่านๆ มา หลายคนเกิดผลกระทบต่อชีวิตจากการสวยหล่อเร่งด่วนมากมาย ไม่ว่าจะด้วยอวัยวะที่อักเสบ เป็นหนอง ตาบอด เจ้าหญิงนิทราหรือแม้แต่เสียชีวิต

 

 

โดยเฉพาะข่าวล่าสุดที่ผ่านมาเราจะเห็นออกสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้งก็คือ การฉีดฟิลเลอร์จนทำให้ตาบอด เกิดอาการตาฝ้าฟางได้อย่างรวดเร็ว และไม่สามารถรักษาได้ทัน

 

 

จากวารสารทางการแพทย์อย่างน้อย 41 เรื่อง รายงานผู้ป่วยรวมถึง 61 รายที่เกิดผลข้างเคียงรุนแรงหลังการฉีดสารเติมเต็ม พบว่าตำแหน่งที่ฉีดแล้ว ทำให้เกิดเนื้อตายได้บ่อยที่สุดคือ จมูก 33.3% และร่องแก้ม 31.2% และตำแหน่งที่ฉีดแล้วตาบอดได้บ่อยที่สุด คือ หว่างคิ้ว 58.3% และร่องแก้ม 33.3%

 

 

ตำแหน่งที่เกิดผลข้างเคียงบ่อยที่สุด เมื่อฉีดฟิลเลอร์

 

 เกิดเนื้อตาย จมูก 33.3% ร่องแก้ม 31.2%

 

 

 เกิดปัญหาการมองเห็น หรือตาบอด หว่างคิ้ว 58.3% ร่องแก้ม 33.3%

 

 

ซึ่งวารสารทางการแพทย์มีรายางานพบผู้ป่วยตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์ในประเทศเกาหลี 44 ราย ในประเทศสหรัฐอเมริกา 3 ราย และในประเทศไทยมีการยืนยันผู้ป่วยแล้ว 8 ราย ใน 8 รายนี้ มีเพียง 1 รายเท่านั้น ที่อาการไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ทัน จนสามารถกลับมามองเห็นได้อีกครั้ง

 

 

รู้จักฟิลเลอร์

 

1.แบบชั่วคราว (Temporary Filler) มีอายุการใช้งานประมาณ 4-6 เดือน แม้ว่าจะอยู่ได้ไม่นานแต่มีความปลอดภัยสูง และสามารถสลายตัวได้เอง เช่น กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid, HA)

 

 

2.แบบกึ่งถาวร (Semi Permanent Filler) มีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี ความปลอดภัยก็อยู่ระดับปานกลาง

 

 

3.แบบถาวร (Permanent Filler) เช่น ซิลิโคน หรือพาราฟิน ไม่สามารถสลายตัวได้ตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่มักเจอผลข้างเคียงระยะยาว

 

ฟิลเลอร์ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด คือ กรดไฮยาลูโรนิก เนื่องจากมีคุณสมบัติเฉื่อยไม่ทำให้เกิดการแพ้ มีความคงตัวอยู่ได้เป็นเวลานาน ที่สำคัญสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่มีปัญหาการสะสมหรือตกค้างในร่างกาย ในประเทศไทยจึงมีเพียงกรดไฮยาลูโรนิกเท่านั้น ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

 

 

ผลข้งเคียงของฟิลเลอร์

 

1.เกิดผื่นแดงบริเวณที่ฉีด หรือรอยช้ำบริเวณที่ฉีด ซึ่งสามารถหายได้เอง

 

 

2.การเกิดรอยนูน อาจจะเกิดผิวที่ไม่เรียบ เนื่องจากเทคนิคการฉีดที่ตื้นเกินไป หรือเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลไม่เหมาะสม และอาการแพ้กรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาของร่างกายผู้ได้รับการฉีด

 

 

3.เกิดปัญหาการเคลื่อนย้าย (Migration) เช่น ฉีดบริเวณดั้งจมูก แต่ฟิลเลอร์เคลือ่นไปที่ปลายจมูก การฉีดเพื่อเสริมคางและจมูกต้องใช้ฟิลเลอร์โมเลกุลขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มความหนืดลดปัญหาการเคลื่อนย้ายบริเวณที่ฉีด และทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นด้วย

 

 

4.แพ้สารฟิลเลอร์ เกิดเป็นก้อนนูน แดงอักเสบ อาจเกิดขึ้นหลังการฉีดไปแล้วเป็นเวลาหลานเดือนหรือเป็นปีๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุการใช้งานของฟิลเลอร์นั้นๆ

 

 

5.ฉีดผิดตำแหน่ง โดยฉีดเข้าไปในหลอดเลือด อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดจนเกิด เนื้อตายา บริเวณที่เส้นเลือดนั้นมาเลี้ยง หรือตาบอด เนื่องจากเกิดการอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา สามารถทำให้สูงเสียการมองเห็นได้ภายใน 4-5 นาทีหลังการฉีด

 

 

6.เกิดตุ่มหนองคล้ายสิว หลายคนอาจคิดว่าเป็นสิว แต่การเกิดตุ่มหนองเล็กๆ เป็นระยะอาการแรก มีผลทำให้เกิดเนื้อตายต่อไป ซึ่งเนื้อตายจะลามเป็นบริเวณกว้างขึ้นเรื่อยๆ

 

 

รู้ได้อย่างไรปลอดภัยจากฟิลเลอร์

 

สารเติมเต็มหรือฟิลเลอร์ในประเทศไทยได้จัดประเภทของสารเติมเต็มไว้เป็นยา การนำเข้าต้องผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งได้รับเพียงไม่กี่ชนิดที่ผ่านการรับรองจาก อย. คือ กรดไฮยาลูโรนิก ทั้งหมด นอกเหนือจากสารฟิลเลอร์ชนิดอื่นถือว่าผิดกฎหมาย เราสามารถตรวจสอบข้อมูลของสารเติมเต็มได้ที่ อย. หรือ http://tdaolap.fda.moph.go.th/logistics/drgdrug/DSerch.asp?id=drug

 

 

ที่สำคัญต้องฉีดสารเติมเต็มโดยแพทย์เท่านั้น สามารถตรววจสอบรายชื่อแพทย์ได้ที่ www.tmc.or.th/service_check.php และสามารถตรวจสอบรายชื่อแพทย์ผิวหังได้ที่ http://www.dst.or.th/list_search.php การฉีดสารเติมเต็มนอกจากจะต้องมีอุปกรณ์พร้อมแว สถานพยาบาลต้องได้รับอนุญาติให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลจากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ดังนี้

 

 

1.มีใบอนุญาติให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

 

 

2.ต้องมีรูปถ่ายติดไว้ที่ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลอย่างชัดเจน

 

 

3.แพทย์ที่ให้การตรวจรักษาต้องตรงกับรูปถ่ายที่ติดไว้หน้าห้องในคลินิก

 

 

ประสบการณ์ฉ๊ดฟิลเลอร์ เน่า 3 ปี ยังรักษาไม่หาย

 

ผู้เสียหายรายหนึ่งเล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า เธอเป็นพนักงานบริการในสถานเสริมความงามแห่งหนึ่ง มีรายได้ต่อเดือนราว 60,000-70,000 บาท ต่อเดือน ด้วยความอยากลอง วันหนึ่งจึงได้ฉีดฟิลเลอร์บริเวณจมูกที่คลินิกตนเองได้ทำงานอยู่ ซึ่งสถานประกอบการได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง รวมถึงแพทย์ที่ฉีดเป็นแพทย์ถูกต้อง

 

 

ฉีดครั้งแรกไม่มีปัญหาใดๆ จมูกขึ้นรูปสวยเป็นปกติ อีก 9 เดือนต่อมาจึงฉีดซ้ำก็อาการปวด บวมทันที หลังจากนั้นก็เกิดแผล สีผิวเปลี่ยนไป รูปจมูกเปลี่นไป บวมๆ ยุบๆ ปัญหาเหล่านี้เกิดกับคนไข้ทุกราย ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเนื่องจากฟิลเลอร์เคลื่อนที่ แต่ทุกคนสามารถรักษาหายได้ภายในเวลาไม่นาน ซึ่งกรณีนี้ทางคลินิกเองไม่สามารถรักษาได้ จึงต้องออกมารักษาโรงพยาบาลอย่างจริงจัง

 

 

รักษามาตลอด 3 ปี แต่ก็ติดเชื้ออยู่ตลอดเวลา การรักษามีทั้งการผ่าตัดขูดฟิลเลอร์มาหลายครั้งก็ยังไม่หาย และเนื่องจากเป็นคนที่ทำงานเกี่ยวกับการบริการและความงามมาตลอด ทำให้เสียโอกาสในการทำงาน ไม่สามารถทำงานที่ตัวเองถนัดได้อีกต่อไป

 

 

คุณหมอตอบ

 

ผู้ป่วยรายนี้มารักษาด้วยอาการที่มีก้อนบริเวณจมูก มีแผลแตกและมีหนองไหลออกมาบริเวณที่เคยฉีดฟิลเลอร์เป็นระยะๆ ผู้ป่วยเคยได้ทำการรักษามาหลายวิธี ทั้งการผ่าตัดเข้าไปขูดฟิลเลอร์ออก ซึ่งขูดได้ไม่หมด ปัจจุบันจมูกก็ยังคงมีก้อนอยู่ การรักษาปัจจุบันของทีมแพทย์ได้พยายามเปิดเข้าไปตัดชิ้นเนื้ออีกรอบหนึ่ง แล้วจึงเอาเชื้อที่เจอจากหนองที่ได้มาไปเพาะเชื้อ จากนั้นก็จะรักษาตามผลที่ได้อีกครั้ง

 

 

อาการติดเชื้อของผู้ป่วยนั้นอาจเกิดจากเชื้อได้ซ่อนอยู่ในตัวฟิลเลอร์ และเนื่องจากฟิลเลอ์ไม่ยอาสลายไป จึงทำการรักษาได้ยาก จึงอยากจะแนะนำว่าถ้าอยากเสริมจมูกจริงๆ แนะนำให้ใช้ซิลิโคนแท่งในการเสริมจะปลอดภัยกว่า เพราะการฉีดฟิลเลอร์นั้น แม้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ก็อาจพลาดได้ อาจฉีดเข้าเส้นเลือดจนอุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตาจนทำให้ตาบอดได้ แม้ครั้งแรกไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แต่การฉีดซ้ำก็มีความเสี่ยง เนื่องจากลักษณะทางกายวิภาคจากการฉีดครั้งแรกเปลี่ยนไป หรือความแปรผันของเส้นเลอืดแต่ละคนไม่เหมือนกัน ก็อาจเกิดอันตรายขึ้นมาได้

 

 

พบเห็นหรือสงสัยว่าอาจจะเป็นสถานพยาบาลเถื่อน สามารถแจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วนคุ้มครองผู้รับบริการสุขภาพ โทร.0-2193-7999 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

 

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

(Some images used under license from Shutterstock.com.)