Haijai.com


การวินิจฉัยพาหะธาลัสซีเมีย


 
เปิดอ่าน 2617
 

การวินิจฉัยพาหะธาลัสซีเมีย

 

 

ธาลัสซีเมียคืออะไร

 

ธาลัสซีเมียเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ทำให้การสร้าง ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง ฮีโมโกลบินเป็นสารที่ทำหน้าที่นำ ออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย ถ้ามีฮีโมโกลบินน้อยลงความสามารถในการ นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง

 

 

ฮีโมโกลบินประกอบด้วยอะไร และร่างกายควบคุมการสร้างอย่างไร

 

โครงสร้างของฮีโมโกลบินประกอบด้วย "ฮีม" กับโปรตีนที่มีชื่อว่า โกลบิน โกลบินมีสองชนิดหลักคือ โกลบินแอลฟ่า และโกลบิน ที่ไม่ใช่ แอลฟ่า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชนิด เบต้า

 

 

การสร้างโกลบินควบคุมโดยสารพันธุกรรมที่เรียกว่า ยีน

 

 

การถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นอย่างไร

 

โรคธาลัสซีเมียเกิดจาก ยีน มีการเปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติไปไม่ สามารถทำหน้าที่สร้างสารฮีโมโกลบินได้ตามปกติ

 

 

ยีนดังกล่าวจะถ่ายทอดจากชั่วคนหนึ่งไปอีกชั่วคนหนึ่ง โดย ทางไข่ของผู้หญิงและเชื้ออสุจิของผู้ชาย

 

 

ผู้ที่ได้รับถ่ายทอดยีนที่เปลี่ยนแปลงไปมาจากทั้งพ่อและแม่ จะมียีน ที่ทำหน้าที่ไม่ได้ทั้ง 2 ยีน จึงเป็นโรคธาลัสซีเมีย แต่ถ้ายีนที่เปลี่ยน แปลงไปนั้นทั้ง 2 ยีนยังทำหน้าที่ได้ ทำให้ไม่มีอาการทางคลินิก ไม่ถือ ว่าเป็นโรค เช่น แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 ชนิด โฮโมซัยกัส และ ฮีโมโกลบินอี ชนิด โฮโมซัยกัส

 

 

ส่วนผู้ที่ได้รับถ่ายทอดยีนที่เปลี่ยนแปลงไปมาจากพ่อหรือแม่ ฝ่ายใดฝ่ายเดียว จะมียีนที่ทำหน้าที่ไม่ได้เพียง 1 ยีน ส่วนอีกยีนซึ่งปกติ ยังทำหน้าที่ได้ จึงไม่เป็นโรค

 

 

ผู้ที่มียีนที่เปลี่ยนแปลงไป 1 ยีน ส่วนยีนที่คู่กันอีกยีนหนึ่ง ทำหน้าที่ได้ปกติ โดยที่ตัวเองไม่เป็นโรคนั้น ทางการแพทย์เรียกว่า พาหะ

 

 

ถ้าผู้ที่เป็นพาหะบังเอิญไปแต่งงานกับผู้ที่เป็นพาหะด้วยกัน และถ้า ทั้งสองคนถ่ายทอดยีนที่เปลี่ยนแปลงไปให้ลูก ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมีย แม้จะไม่เคยปรากฏมาก่อนว่ามีใครในครอบครัวเป็นโรคนี้

 

 

ธาลัสซีเมียพบได้บ่อยหรือไม่ ในประเทศไทยมีธาลัสซีเมียชุกเท่าใด

 

ในประเทศไทยมี

 

- ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ร้อยละ 1 ของประชากรหรือ 6 แสนคน

 

- เด็กแรกเกิดที่เป็นโรค 1 หมื่นคนต่อปี

 

- คู่สามีภรรยาที่เสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรค 5 หมื่นคู่ต่อปี

 

- พาหะของธาลัสซีเมีย ร้อยละ 40 ของประชากร หรือ 24 ล้านคน

 

 

เหตุใดจึงมีพาหะธาลัสซีเมียจำนวนมาก

 

มีหลักฐานว่าเป็นเพราะพาหะมีความได้เปรียบคนทั่วไปในแง่เม็ด เลือดแดงของพาหะมีความต้านทานต่อการติดเชื้อมาลาเรียชนิดรุนแรง ได้ดีกว่าเม็ดเลือดแดงของคนทั่วไป

 

 

การเป็นพาหะมีผลต่อสุขภาพหรือไม่

 

การเป็นพาหะไม่มีผลใด ๆ ต่อสุขภาพ พาหะมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ทำงานได้ปกติ มีอายุขัยปกติ ผู้ที่เป็นพาหะไม่เป็นโรค ธาลัสซีเมีย แม้ในอนาคตก็จะไม่เป็นโรค จึงไม่ต้องรับการรักษาใด ๆ

 

 

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นพาหะ

 

การที่พาหะมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติส่วนใหญ่จึงไม่ทราบว่าตน เองเป็นพาหะสาเหตุที่ทราบอาจเป็นเพราะ

 

 

1. บังเอิญไปแต่งงานกับผู้ที่เป็นพาหะ แล้วมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย เป็นครั้งแรกในครอบครัวดังนั้นถ้าสามีภรรยาคู่ใดที่มีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย แสดงว่าทั้งสองคนอย่างน้อยต้องเป็นพาหะ

 

2. มีพี่ น้องหรือญาติร่วมสายโลหิตเป็นโรคหรือพาหะธาลัสซีเมีย กลุ่มนี้มีโอกาสจะมียีนธาลัสซีเมียได้มากกว่าคนทั่วไป และได้รับการ แนะนำให้ไปรับการตรวจเลือดได้แก่การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างครบถ้วน (Complete blood count, CBC) ด้วยเครื่องวิเคราะห์เม็ดเลือด อัตโนมัติซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับค่าฮีโมโกลบินและขนาดของเม็ดเลือด แดง การตรวจฮีโมโกลบินทำให้ทราบชนิดและปริมาณแต่ละชนิด (Hb typing)

 

3. ไปรับการตรวจเลือดและพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเม็ด เลือดแดงและฮีโมโกลบินที่เข้าได้กับพาหะ

 

 

เม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินของผู้ที่เป็นพาหะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และตรวจโดยวิธีใด

 

1. ผู้ที่เป็นพาหะมีเม็ดเลือดแดงขนาดเล็กกว่าธรรมดา รูปร่างและ ขนาดต่างๆ กัน ทราบโดยการตรวจ CBC ระดับฮีโมโกลบิน ปกติหรือ อาจต่ำกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย

 

2. เม็ดเลือดแดงปกติถ้าอยู่ในน้ำเกลือโซเดียม คลอไรด์ ความเข้ม ข้นร้อยละ 0.36 จะแตกหมดทำให้สารละลายใส แต่เม็ดเลือดแดง พาหะจะแตกไม่หมด ทำให้สารละลายขุ่นจึงสามารถใช้การทดสอบ ความเปราะของเม็ดเลือดแดงชนิดหลอดเดียว (one-tube osmotic fragility test, OF) ที่ใช้น้ำเกลือความเข้มข้นดังกล่าวเพื่อแยก เม็ดเลือดแดงพาหะจากเม็ดเลือดแดงปกติ

 

3. ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบินต่างจากธรรมดา ทราบโดยการ ส่งตรวจชนิดและปริมาณแต่ละชนิดของฮีโมโกลบิน

 

4. ฮีโมโกลบิน อี จะตกตะกอนเมื่อทำปฏิกิริยากับสาร dichlorophenol-indophenol (DCIP) แต่ฮีโมโกลบิน เอ็ช ซึ่งพบในผู้ป่วยโรคฮีโมโกลบิน เอ็ช อาจตกตะกอนได้ด้วย

 

 

พาหะชนิดต่าง ๆ ของธาลัสซีเมีย

 

พาหะของธาลัสซีเมียมีหลายชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามยีนที่เปลี่ยนแปลงไป คือ

 

 

- กลุ่มแอลฟ่า และ

 

- กลุ่มเบต้า

 

 

พาหะเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคในกรณีใด

 

พาหะจะเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคถ้าหากแต่งงานกับผู้ที่เป็นพาหะ ของยีนกลุ่มเดียวกันแต่ถ้าแต่งงานกับผู้มียีนคนละกลุ่มกันหรือผู้มียีน ปกติ จะไม่เสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคเลย

 

 

คู่เสี่ยงสำหรับโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง

 

คู่สามีภรรยาที่เสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ได้แก่

 

- คู่สามีภรรยาที่เป็นพาหะชนิดแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 กับแอลฟ่า- ธาลัสซีเมีย 1 เสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคเด็กบวมน้ำจากฮีโมโกลบิน บาร์ทส์

 

- คู่สามีภรรยาที่เป็นพาหะชนิดเบต้า-ธาลัสซีเมีย กับเบต้า- ธาลัสซีเมีย เสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคเบต้า-ธาลัสซีเมีย ชนิดโฮโมซัยกัส

 

- คู่สามีภรรยาที่เป็นพาหะชนิดเบต้า-ธาลัสซีเมีย กับฮีโมโกลบิน อี เสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคเบต้า-ธาลัสซีเมีย ชนิดมีฮีโมโกลบิน อี

 

 

คู่สามีภรรยาที่ไม่ใช่พาหะแบบข้างต้นเป็นคู่สามีภรรยาที่เสี่ยง ต่อการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดไม่รุนแรง และคู่สามีภรรยา ที่ไม่ใช่คู่เสี่ยง

 

 

เป้าหมายการตรวจกรองหาพาหะของธาลัสซีเมีย

 

การตรวจกรองหาพาหะของธาลัสซีเมีย (carrier screening) สำหรับ ประเทศไทย เป็นการตรวจหาผู้ที่เป็นพาหะชนิดแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1, ชนิดเบต้า-ธาลัสซีเมีย, และ ฮีโมโกลบิน อี เพื่อเป็นข้อมูลในการบอก อัตราเสี่ยงและหนทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย ชนิดรุนแรง 3 โรคข้างต้น

 

 

รูปแบบ

- การตรวจกรองหาพาหะสำหรับธาลัสซีเมียอาจทำได้ 2 รูปแบบ, ได้แก่ การตรวจกรองในประชากรทั่วไป (mass screening) ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธ์ุ หรือก่อนวัยเจริญพันธ์ุ

 

- การตรวจกรองในกลุ่มเป้าหมาย (target screening) เช่น คู่ชายหญิงที่กำลังจะแต่งงาน หรือคู่สามีภรรยาก่อนการตั้งครรภ์ หรือ ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ (คืออายุครรภ์น้อยกว่า 16-20 สัปดาห์)

 

 

ในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลจากการวิจัยที่ชัดเจนว่าควรตรวจหา พาหะในช่วงเวลาใดของชีวิตจึงจะเหมาะสม ปัจจุบันทางกระทรวง สาธารณสุขมีคำประกาศนโยบายการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค ธาลัสซีเมีย โดยให้หญิงมีครรภ์ทุกคนได้รับการให้การปรึกษาทาง พันธุศาสตร์สำหรับธาลัสซีเมียและได้รับการตรวจกรองหาพาหะโดยสมัครใจ (หากอายุครรภ์ไม่เกิน 16 สัปดาห์)และหากพบผลเลือดผิดปรกติให้ตาม สามีเพื่อตรวจกรองทุกรายถ้าผลการตรวจกรองผิดปรกติทั้งคู่ให้ทำการตรวจยืน ยันว่าเป็นคู่สมรสเสี่ยงที่มีโอกาสมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง และได้รับการให้การปรึกษาในการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อน คลอด โดยในปีงบประมาณ 2548 สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการตรวจกรองหญิงตั้ง ครรภ์และสามี ตรวจยืนยันเป็นคู่สมรสเสี่ยง ตรวจวินิจฉัยทารก ในครรภ์ก่อนคลอด และการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ในรายที่ตรวจพบว่าบุตรในครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง

 

 

วิธีการตรวจว่าเป็นพาหะหรือไม่

 

ในประชากรทั่วไปที่ไม่มีประวัติญาติพี่น้องเป็นโรคธาลัสซีเมีย การตรวจว่าผู้ใดเป็นพาหะเป้าหมายโดยวิธีตรวจกรอง (screening test) ได้แก่ การตรวจ OF ร่วมกับการตกตะกอนด้วยสาร DCIP หรือ CBC กับการตกตะกอนด้วยสาร DCIP ซึ่งทำได้ง่าย มีความไวสูงคือ ให้ผลบวกในพาหะที่ต้องการได้ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ใช้เวลาไม่เกิน หนึ่งชั่วโมงและราคาถูกหรือพอสมควร การที่ต้องใช้วิธีการตรวจ กรองมากกว่าหนึ่งวิธีเพราะในปัจจุบันไม่มีการตรวจกรองวิธีหนึ่ง วิธีใดที่สามารถครอบคลุมการตรวจหาพาหะที่เป็นเป้าหมายได้ทั้งหมด ส่วนการตรวจฮีโมโกลบินเพื่อให้ทราบชนิดและปริมาณแต่ละชนิด (Hb typing) ต้องใช้เครื่องมือและน้ำยาที่มีราคาแพง ผู้ทำการทดสอบ ต้องผ่านการอบรมและมีความชำนาญ รวมทั้งต้องใช้แพทย์และ ผู้เชี่ยวชาญช่วยแปลผลด้วย การตรวจชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นวิธีตรวจเพื่อยืนยัน (confirmatory test) ในกรณีที่การตรวจกรองเบื้องต้นให้ผลบวก

 

 

สำหรับการตรวจหาพาหะในผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคมีโอกาส สูงที่จะตรวจพบผู้ที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย ดังนั้นเพื่อลดขั้นตอนใน การตรวจ จึงควรใช้วิธีตรวจมาตรฐานเพื่อเป็นการยืนยันเลย ได้แก่การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างครบถ้วน (CBC) และการตรวจชนิด และปริมาณฮีโมโกลบินการ

 

 

ตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นพาหะชนิดแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 ต้องทำการ ตรวจวิเคราะห์ยีนที่ระดับอณูเพราะผลการตรวจชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน ไม่สามารถบอกแน่นอนได้ว่าเป็นพาหะชนิดแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 หรือแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 ชนิดโฮโมซัยกัสถ้าทางคู่สามีภรรยาเป็นพาหะ ที่เป็นคู่เสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคเบต้า-ธาลัสซีเมียและเลือกใช้การ วินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด ต้องทำการตรวจวิเคราะห์ ยีนที่ระดับอณูว่าเป็นแบบใด ก่อนที่จะทำการตรวจเด็กในครรภ์ เนื่อง จากยีนที่ทำให้เกิดเบต้า-ธาลัสซีเมียในประเทศไทยมีประมาณ 30 แบบ

 

 

ข้อควรทราบในการวินิจฉัยภาวะพาหะ

 

1. การตรวจกรองพาหะให้ผลบวกอาจไม่เป็นพาหะก็ได้ เพราะอาจ มีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดผลบวกได้ เช่นภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็ก จึงจำเป็นต้องทำการตรวจยืนยันด้วยการตรวจชนิดและปริมาณ ฮีโมโกลบินเสมอ

 

2. ภาวะขาดเหล็ก นอกจากจะทำให้ซีดและเม็ดเลือดแดงมีการ เปลี่ยนแปลงคล้ายธาลัสซีเมียแล้วยังอาจทำให้การตรวจปริมาณฮีโมโกลบิน เพื่อวินิจฉัยพาหะชนิดเบต้า-ธาลัสซีเมียให้ผลลบลวงด้วย แพทย์ อาจต้องส่งเลือดตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยภาวะขาดเหล็ก และอาจ ขอตรวจด้านธาลัสซีเมียซ้ำเมื่อรักษาภาวะขาดเหล็กหายแล้ว เพื่อให้ การตรวจและการแปลผลถูกต้องแม่นยำขึ้น แต่ในกรณีหญิงตั้งครรภ์ อาจทำการตรวจวิเคราะห์ยีนเนื่องจากไม่สามารถรอได้

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ เสถียร สุขพณิชนันท์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก thalassemia.or.th

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





สิวอุดตันเกิดจาก สิวฮอร์โมน คอลลาเจน สิวไขมัน สิวหัวแข็ง AviClear AviClear Laser สิวไต สิวเสี้ยน หน้าขาวใส หน้าแพ้สาร สิวข้าวสาร หน้าใสไร้สิว หน้าไหม้แดด สิวหัวขาว หน้าแห้ง อาการนอนกรน วิธีลดไขมันทั้งตัว ผิวขาว ผิวหน้า ผู้หญิงนอนกรน หน้ากระจ่างใส วิธีลดไขมันในร่างกาย หน้าเนียนใส หน้าเนียน หน้าหมองคล้ำเกิดจาก กดสิวใกล้ฉัน กดสิวเสี้ยน กดสิว หน้าใส สิวอุดตัน หน้าหมองคล้ำ สิวอักเสบ สิว สิวหัวช้าง หน้าขาว สิวขึ้นคาง สิวผด ครีมลดรอยสิว วิธีแก้การนอนกรนผู้ชาย แก้อาการนอนกรนผู้หญิง วิธีลดหน้าท้องแบบเร่งด่วน Sculpsure ลดไขมันในร่างกาย วิธีลดไขมัน ลดไขมันต้นขา สลายไขมันหน้า ไตรกลีเซอไรด์ เซลลูไลท์ วิธีแก้นอนกรน ลดไขมัน Coolsculpting ทำกี่ครั้ง Sculpsure กับ Coolsculpting นอนกรนเกิดจาก Morpheus8 สลายไขมันหน้าท้อง วิธีลดพุงผู้หญิงเร่งด่วน 3 วัน Body Slim ลดไขมันทั้งตัว วิธีลดพุงผู้ชาย Morpheus8 กับ Ulthera ลดพุงเร่งด่วน วิธีลดไขมันต้นขา ลดพุง ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความน่ารู้ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความรักษาอาการนอนกรน บทความ Morpheus บทความ Coolsculpting บทความโปรแกรมดูแลผิวหน้า ข่าวและกิจกรรม romrawin รมย์รวินท์ Plinest Pico หลุมสิว เลเซอร์ฝ้า เลเซอร์ฝ้า กระ IV Weight Loss Thermage Body Pico Laser ราคา สิว กลืนบอลลูนราคา วิธีลดน้ำหนัก วิธีแก้อาการนอนกรน อาการนอนกรน บทความโปรแกรมรักษาอาการนอนกรน เลเซอร์รีแพร์ ดึงหน้าที่ไหนดี ผ่าตัดดึงหน้าราคา Thermage FLX ผ่าตัดดึงหน้า ดึงหน้าราคา ผ่าตัดดึงหน้าที่ไหนดี ดึงหน้า vs ร้อยไหม ศัลยกรรมดึงหน้าราคา เครื่องสลายไขมันด้วยความเย็น Ultraformer MPT ราคา ลดเซลลูไลท์ ฟิลเลอร์แก้มตอบราคา CoolSculpting vs Emsculpt ลดน้ำหนัก วิธีสลายไขมัน สลายไขมัน Alexandrite Laser Dynamic Tech Morpheus Pro สารเติมเต็ม ฟิลเลอร์แท้ ฟิลเลอร์ปลอม เลเซอร์ขนหน้าอก Coolsculpting vs Coolsculpting Elite Morpheus8 ราคา สลายไขมันด้วยความเย็นราคา สลายไขมันด้วยความเย็น ฟิลเลอร์ใต้ตาราคา ดึงหน้า Ultherapy Prime vs Ulthera SPT IPL เลเซอร์ขนแขน YAG Laser Diode Laser ไฮยาลูรอน ฟิลเลอร์น้องชายอันตรายไหม ฉีดสิว Emtone 1 week 1 Kilo ลดน้ำหนัก กลืนบอลลูน Exo Hair Reborn หลังฉีดฟิลเลอร์คาง ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม Coolsculpting Fit Firm Emsculpt Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex