Haijai.com


คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น เสี่ยงไตวาย


 
เปิดอ่าน 2152

คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นเท่าตัวแพทย์เตือน บริโภคมะเฟือง เชอร์รี่ ลูกเหนียงปริมาณมากเสี่ยงไตวาย

 

คนไทยเป็นโรคไตมากถึง 17% หรือประมาณ 10 ล้านคน จำนวนนี้เป็นผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรัง จำเป็นต้องฟอกเลือดหรือล้างไตผ่านช่องท้องมากถึง 47,000 คน (ข้อมูลจากสมาคมโรคไต ปี 2554) สาเหตุเกิดจากโรคเบาหวานและความดันโหลิตสูงมากที่สุดประมาณ 60-70% โดยวิธีสังเกต อาการโรคไตนั้น วิธีที่ง่ายที่สุดและได้ผลชัดเจนที่สุดคือการเจาะเลือดตรวจ โดยเฉพาะคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเช็คสภาพของไต และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง ได้รับสารพิษหรือยาที่ทำลายไต มีมวลเนื้อไตลดลง ทั้งที่เป็นมากำเนิด หรือเป็นภายหลังและมีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว

 

 

“สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นโรคเรื้อรังมาก่อน โอกาสที่จะเป็นโรคไตนั้น ก็มีโอกาศเป็นได้ บางคนอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เป็นนิ่วที่ไต ก็เกิดโรคไตได้ หรือว่ามีการอักเสบของหลอดเลือดฝอยที่ไตอย่าง โรค SLE ที่เป็นหลอดเลือดฝอยอักเสบ พวกนี้มักจะบวมแล้วมีเลือดออกหรือว่าเรื่องเกี่ยวกับการรับประทานยา โดยเฉพาะยาแก้ปวดทั้งหลาย พวกเอ็นเสท ยาแก้ปวดพวกแอสไพริน หากรับประทานมาเป็นเวลานานแล้วเรื้อรังก็อาจทำให้มีเรื่องของไตวายเข้ามาได้” อ.นพ.สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาคุณภาพ และอายุรแพทย์โรคไต ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราช การุณย์กล่าว

 

 

นอกจากนี้การรับประทานผลไม้ บางประเภท เช่น มะเฟือง เชอร์รี่ ลูกเหนียง ก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้ หากรับประทานในปริมาณที่มาก

 

 

เนื่องจากในมะเฟืองจะมีออกซาเลตสะสมอยู่มาก เป็นสาเหตุทำให้เกิดนิ่วได้ และหากเกิดการอุดตันในเนื้อไต และท่อไต อาจเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ส่วนเชอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง ในเมล็ดมีสารไฮโดรเจนไซนาไนด์ โดยเฉพาะเวลาเคี้ยว บด จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สับสน วิตกกังวลและอาเจียน ทำให้มีปัญหาเรื่องหัวใจและความดันโลหิตได้

 

 

ในบางกรณีถ้าตรวจเช็คดูแล้วพบว่าเป็นนิ่ว แก้ปัญหาได้ ก็ไม่มีปัญหาสู่ไตวายระยะสุดท้าย หรือหากเป็นไตอักเสบแล้วสามารถรักษาได้ทันท่วงที ก็จะไม่มีปัญหาดังกล่าวหรือแม้กระทั่งเป็นเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง หากเราสามารถควบคุมให้ดีขึ้น ทั้งควบคุมเบาหวาน ควบคุมอาหารต่างๆ ให้ดีขึ้น ลดเค็มครึ่งหนึ่ง พวกนี้ก็สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ รวมถึงสาเหตุอื่นๆ เช่น การรับประทานยาแก้ปวด ถ้าหยุดยาแก้ปวดได้ เหล่านี้ก็จะชะลอหรือว่าลดการเกิดเรื่องโรคไตได้ หากเป็นโรคนี้ขึ้นมาแล้วค่าใช้จ่ายในการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียมไม่ว่าจะเป็นล้างทางช่องท้อง หรือว่าไต เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 แสน/คน/ปี

 

 

“สัญญาณที่บ่งชี้ว่าจะต้องเข้ามารับการตรวจร่างกาย หากคิดว่าป่วย เช่น คนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรเช็คเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่การทำงานของไต หรือเราเช็คดูเองได้ เวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงความผิดปกติของหลอดเลือดไม่ว่าจะเป็นความดันสูง จะมีโปรตีนรั่วออกมา ก็เช็คปัสสาวะ ว่าเป็นฟองมากขึ้น หรือเป็นฟองนานผิดสังเกตหรือไม่ หรือเช็คอาการบวมก็มีที่ก้นกบ และหน้าแข็งหรือว่าที่เท้า เวลาบวมจะนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ตึงขึ้น เมื่อกดแล้วจะบุ๋มลงไป”

 

 

ส่วนในเรื่องผู้หญิงไทยมักนิยมรับประทานอาหารเสริม หรือพวกกลุ่มกลูต้า ยังไม่พบรายงานว่าสิ่งเหล่านี้จะมมีปัญหากับไตหรือไม่ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ กลุ่มพวกวิตามินบางตัว เช่น พวกที่มีอ็อกทาลิกมากๆ หากรับประทานในปริมาณโดสสูงเกินไป เพื่อให้เห็นผลที่ไวขึ้น อาจมีผลต่อการทำงานของระบบในร่างกาย ซึ่งจริงๆ ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมก็ได้ เพียงแค่รับประทานผักผลไม้ก็นับว่าดีต่อสุขภาพแล้ว รวมถึงทำจิตใจให้สบาย เพราะความเครียดจะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ ลดอาหารเค็ม อาหารประเภทเนื้อสัตว์ และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อชะลอความเสื่อมของไตอีกด้วย

 

 

“ที่ต้องงดเค็มเพราะเป็นตัวการที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ง่าย ส่วนเบาหวาน ถ้าเป็นแล้วให้ควบคุมน้ำตาล หรือหากอยู่ในครอบครับที่เป็นเบาหวาน หรือถึงแม้ไม่เป็นเบาหวานก็ต้องควบคุมน้ำตาลให้ดีเช่นกัน ผู้ป่วยบางรายขับเกลือไม่ได้ จะมีอาการบวม ก็ต้องระวังอาหารเค็ม บางรายขับโปแตสเซียมเกลือแร่ไม่ได้ ก็จะมีอันตรายต่อหัวใจ จึงต้องควบคุมอาหาร ผัก และผลไม้ เพราะโปแตสเซียมมีเยอะในผักและผลไม้ หรือในรายที่ไตเริ่มทำงานไม่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องควบคุมสารฟอสเฟต ซึ่งมีอยู่มากในอาหารประเภทโปรตีน ถั่ว ช็อกโกแลตต่างๆ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไตจะไม่เหมือนกันทุกราย แต่ละคนต้องปรับสมดุลไปในวิธีที่แตกต่างกัน

 

 

ส่วนการดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตไม่ให้ไตเสื่อมมากขึ้น ต้องควบคุมความดันโลหิตสูงของตัวเอง ยิ่งมีความดันโลหิตสูงมากขึ้น ก็จะทำให้ไตเสื่อมมากขึ้น เพราะฉะนั้นต้องควบคุมความดันโลหิตให้ดี และเมื่อใดก็ตามที่ไตมีอาการเสื่อมลงมากๆ เราจะพบสารฟอสเฟตสูงในเลือด หากมีเยอะมากๆ ก็จะไปจับกับแคลเซียมกลายเป็นผลึกเป็นแคลเซียมฟอสเฟตผลึก ถ้าจับแล้วผสมที่หลอดเลือดต่างๆ ทั้งหัวใจ ไต ก็จะทำให้ไตมีอาการแย่ลงอีก

 

 

ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

(Some images used under license from Shutterstock.com.)