Haijai.com


เชื้อตับอักเสบบี ซี และเชื้อเอดส์ (HBV HCV HIV)


 
เปิดอ่าน 5813
 

ภาวะแทรกซ้อนจากการรับเลือด เชื้อตับอักเสบบี ซี และเชื้อเอดส์ (HBV, HCV, HIV)

 

 

พ่อแม่หรือผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่รับเลือดบ่อยๆ มักจะถาม หมอว่า จะมีโอกาสติดเชื้อตับอักเสบ หรือเชื้ออื่นๆมากน้อยเพียงใด เกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง และจะรู้ได้อย่างไรว่าติด เชื้อจากการรับเลือด

 

 

เป็นที่ทราบกันดีว่า การรับเลือดจะมีโอกาสติดเชื้อที่ปนเปื้อนมา ในเลือดได้ อาทิเช่น เชื้อตับอักเสบเอ-อี (HAV, HBV, HCV, HDV, HEV) เชื้อ CMV (Cytomegalovirus), EBV (Epstein-Barr Virus) เมื่อนำมาให้แก่ผู้ป่วยหรือผู้รับเลือด อาจจะเกิดอาการแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรังแต่โอกาสจะเกิดโรคเหล่านี้มีน้อยมาก เพราะได้มีการ คัดกรองเลือดจากผู้บริจาค และมีการทดสอบเลือดบริจาคอย่างดีที่สุด เชื้อตับอักเสบที่เป็นปัญหาและพบบ่อยมากในผู้รับเลือดได้แก่ เชื้อตับ อักเสบบีและซี เมื่อผู้รับเลือดติดเชื้อเหล่านี้ จะมีอาการของโรคตับ รุนแรงมากน้อยต่างกัน

 

 

การติดเชื้อตับอักเสบบีและซี จากการรับเลือดอาการหลังรับเชื้อแล้ว จะเข้าสู่ระยะฟักตัว (Incubation Period)นาน 1-6 เดือนสำหรับเชื้อตับ อักเสบบี และ 1-5 เดือน สำหรับเชื้อตับอักเสบซี จึงจะตรวจเลือด พบการเปลี่ยนแปลงในตับ ถ้าผู้รับเลือดมีอาการเหลืองเกิดขึ้นภายใน 6 เดือน อาจจะเกิดจากการติดเชื้อจากการรับเลือดควรรีบพบแพทย์ และแจ้งให้แพทย์ทราบทันที บางรายจะไม่มีอาการแสดงชัดเจน แต่บางรายจะมีอาการตัวเหลือง (ดีซ่าน) คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง เหนื่อยง่าย ปัสสาวะสีเข้ม ตรวจหน้าที่ของตับจะพบว่ามี liver enzymes สูงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์อาการมักจะหายไปได้เอง ระยะหนึ่ง ผู้ติดเชื้ออาจจะเป็นพาหะของโรคต่อไป

 

 

ผู้ติดเชื้อหรือผู้เป็นพาหะของตับอักเสบบีเรื้อรัง เมื่อตรวจเลือด จะพบว่ามี HBsAg บวก ต่อมาพบว่าเพียง 5% จะเป็นพาหะเรื้อรัง อีก 95% จะสร้างความต้านทานได้จะมีจำนวนน้อยที่แสดงอาการของ โรคตับแข็ง และหรือเป็นมะเร็งของตับ ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าผู้ที่ติดเชื้อ ตับอักเสบซีมาก

 

 

ตับอักเสบซี ในระยะแรกจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าตับอักเสบบี และ จะไม่ทำให้เสียชีวิตในระยะแรกปัญหาสำคัญของการติดเชื้อตับอักเสบซี มักจะเกิดขึ้นในระยะหลายปีต่อมาหลังรับเชื้อแล้ว คือ จะมีอาการ ตับอักเสบเรื้อรังได้ ร้อยละ 75-85 ของผู้รับเชื้อ ซึ่งต่อมาจะมีอาการ ตับแข็ง ตับล้มเหลวหรือเป็นมะเร็งของตับ

 

 

เราจะป้องกันการติดเชื้อตับอักเสบเอและบีอย่างไรโดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่ต้องรับเลือดบ่อยๆ

 

 

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี ปัจจุบันเป็นที่น่ายินดีว่าตั้งแต่ พ.ศ.2533 รัฐบาลได้กำหนดให้เด็กแรกเกิดทุกรายต้องฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบบีโดยรัฐออกค่าใช้จ่ายให้ ฉีดเมื่อแรกเกิด อายุ 2 และ 6 เดือน ต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง เด็กจะสร้างภูมิต้านทานต่อโรค ทำให้มีโอกาสติดเชื้อตับอักเสบบีน้อยลงมาก จะเห็นว่าเด็กที่เกิดหลัง พ.ศ. 2533 จะมีโอกาสติดเชื้อตับอักเสบบีน้อย ปีพ.ศ. 2548 องค์การสหประชาชาติ ร่วมกับองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศใน “ วันฮีโมฟีเลียโลก ” คือวันที่ 9 เมษายน 2548 “ ขอให้ทั่วโลกทำการ เชิญชวนให้ฉีดวัคซีนตับอักเสบเอและบีให้กับผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย ทุกราย ” สำหรับผู้ป่วยธาลัสซีเมียซึ่งต้องรับเลือดบ่อยเช่นเดียวกับ ผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย ควรจะปฏิบัติตามนี้ด้วยคือ รายที่ยังไม่เคยรับวัคซีน ตับอักเสบเอและบี ควรตรวจเลือดว่ามีภูมิต้านทานตับอักเสบเอและบี หรือไม่ถ้าไม่มีภูมิต้านทานขอให้ไปรับการฉีดวัคซีนตับอักเสบเอและบี ทุกคน รายที่ไม่เคยรับวัคซีนตับอักเสบเอและบีมาก่อน เมื่อรู้ว่าตน เองรับเชื้อตับอักเสบเอและบีในระยะแรก ปัจจุบันนี้มียาป้องกัน โดย การฉีดยา hepatitis A หรือ B immuno globulin ให้กับผู้ติด เชื้อทันทีจะป้องกันให้เกิดโรคน้อยลง ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ติดเชื้อตับ อักเสบซี ปัจจุบันหลายประเทศให้การรักษาแก่ผู้ป่วยทุกรายโดยใช้ยา Interferon alfa ร่วมกับยา Ribavirin anti viral agent ซึ่งยังมีราคา สูงมาก

 

 

การติดเชื้อ HIV จากการรับเลือดจะมีโอกาสเกิดมากน้อย เพียงใดและจะมีวิธีป้องกันอย่างไร โรคเอดส์พบครั้งแรกในโลกเมื่อ พ.ศ.2524 อีก 3 ปีต่อมาจึงพบสาเหตุว่าเกิดจากเชื้อไวรัส HIV type 1 (HIV-1) และ HIV type 2 (HIV-2) ในปีพ.ศ.2525 ได้มีรายงาน แรกในผู้ป่วยเด็กโรคฮีโมฟีเลียติดเชื้อเอดส์โดยการรับส่วนประกอบ โลหิตจากผู้บริจาคที่ติดเชื้อเอดส์ จึงมีการตื่นตัวว่าการรับเลือดมีโอกาส ติดเชื้อเอดส์ได้ทำให้มีการหาแนวทางป้องกันจากการรับเลือดอย่างจริงจัง และมีการพัฒนาแนวทางและวิธีการต่างๆอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

 

 

ผู้ป่วยจะเกิดอาการเมื่อไหร่หลังจากได้รับเชื้อและมีอาการอย่างไร บ้าง

 

 

อาการหลังจากได้รับเชื้อ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

 

1. ระยะแรก หลังจากรับเชื้อแล้ว ภายใน 10-21 วัน ร้อยละ 60 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ ผื่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ (อาจจะมีหรือไม่มีอาการปวดหัว) ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ต่อมาเมื่อร่างกายสร้างภูมิต้านทานแล้วอาการเหล่านี้จะหาย ไประยะหนึ่ง ขณะเดียวกันไวรัสจะแบ่งตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่ติดเชื้อ สามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้ทางเลือด และสารคัดหลั่งทางอวัยวะเพศ

 

 

2. ระยะที่สอง ระยะที่ไม่มีอาการชัดเจน (Asymptomatic infection) ผู้ป่วยมีเชื้ออยู่ในร่างกายโดยไม่มีอาการได้นาน 10-12 ปีระยะนี้เชื้อ HIV จะทำลาย T-helper Cell (เป็นเซลล์ที่สร้างภูมิต้าน ทานให้แก่ร่างกาย) ทำให้ไม่มีความต้านทานต่อเชื้อต่างๆ

 

 

3. ระยะที่สาม จะเกิดอาการของโรคเอดส์ชัดเจน เกิดจากร่างกาย ไม่มีภูมิต้านทาน มีไข้เรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองโต ติดเชื้อง่ายโดยเฉพาะ ในปอด มักจะติดเชื้อรา วัณโรค มีอาการท้องเดิน น้ำหนักตัวน้อย มีอาการทางสมอง ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องใช้ยา รักษาหลายตัวร่วมกัน

 

 

สาเหตุการติดเชื้อเอดส์ (HIV) เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าติดต่อได้ 4 ทางคือ

 

 

1. การร่วมเพศ พบมากที่สุด

 

2. จากมารดาสู่ทารก ซึ่งปัจจุบันนี้มีการให้ยาแก่มารดาที่มีเชื้อ เอดส์ ระหว่างตั้งครรภ์ พบว่าอัตราการติดเชื้อมายังบุตรลดลงมาก หรือในมารดาที่ให้นมบุตรก็อาจจะติดไปยังบุตรได้

 

3. การรับเลือด พบน้อยลงมาก จะเกิดเฉพาะกรณีที่ผู้บริจาค เพิ่งรับเชื้อไม่นาน ร่างกายยังไม่สร้างภูมิต้านทาน และเชื้อมีจำนวน น้อย จึงไม่สามารถตรวจเลือดพอที่จะคัดกรองออกได้

 

4. การใช้เข็มร่วมกันในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด เชื้อจะติดจากเลือด ที่อยู่ในเข็ม จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง

 

 

แนวทางการป้องกันการติดเชื้อ HBV HCV และ HIV จากการ รับเลือด

 

 

สำหรับประเทศไทยได้มีมาตรการการป้องกันด้านผู้บริจาคเลือด และมีการตรวจคัดกรองเลือดบริจาคทุกยูนิตอย่างดีเทียบเท่ามาตร ฐานสากลในประเทศที่เจริญแล้วทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการ รับเลือดน้อยมาก การตรวจมีขั้นตอนดังนี้

 

 

1. การป้องกันทางด้านผู้บริจาคเลือด

 

1.1. เริ่มจากการให้ความรู้แก่ผู้บริจาค ไม่ให้มาบริจาคเลือด ถ้ามีพฤติกรรมเสี่ยงหรือเคยมีประวัติเป็นโรคที่มีโอกาสแพร่ เชื้อทางเลือด

 

1.2. Donor self selection ผู้บริจาคเลือดจะตอบคำถาม ในแบบสอบถามก่อนบริจาค ถ้ารู้ว่าตนเป็นกลุ่มเสี่ยง จะงด บริจาคโลหิต

 

 

2.การตรวจคัดกรองเชื้อต่างๆในเลือดบริจาค เป็นกฎระเบียบ ที่ปฏิบัติกันอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ เมื่อได้รับเลือดบริจาคแล้ว ศูนย์ บริการโลหิตฯและหรือธนาคารเลือดทุกแห่ง จะตรวจเลือดบริจาค ทุกยูนิตสำหรับเชื้อ 4 ชนิดคือ

 

การตรวจเลือดแล้วจะปลอดภัยเพียงใด การตรวจ HBV HCV และ HIV จะตรวจไม่พบในระยะแรกที่รับเชื้อยังมีเชื้อจำนวนน้อย ในร่างกาย จะแบ่งตัวจนมากขึ้นถึงระดับหนึ่งจึงตรวจพบ โดยวิธี HIV Antigen และหรือ NAT Test ก่อนซึ่งร่างกายยังไม่สร้างภูมิต้าน ทานที่จะตรวจพบได้การตรวจภูมิต้านทานจะให้ผลบวกได้ภายหลัง ซึ่งระยะเวลาในการทดสอบที่จะสามารถตรวจพบ ให้ผลบวกได้มี ระยะเวลาต่างกันดังนี้

 

 

1) ตรวจเชื้อเอดส์ Anti HIV-22 วัน HIV Ag-16 วันNAT-11 วัน

 

2) ตรวจเชื้อตับอักเสบบี ไม่มีการทดสอบ HBs Ag- 42 วัน NAT-19 วัน

 

3) ตรวจเชื้อตับอักเสบซี Anti HCV-70 วัน ไม่มีการทดสอบ NAT-12 วัน

 

 

จากข้อมูลข้างบนนี้จะเห็นว่า แม้จะมีการตรวจอย่างดีที่สุดแล้ว ก็ไม่ สามารถจะป้องกันการติดเชื้อ HBV HCV และ HIV แต่โอกาสติดเชื้อ มีน้อยมาก การป้องกันโดย donor self selection และการให้ความรู้ แก่ผู้บริจาคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งการทดสอบดังกล่าวข้างต้น ต้องพยายามทำให้มีความถูกต้อง แม่นยำสูงเพราะการทดสอบโดย วิธีต่างๆ และน้ำยาชนิดต่างๆ จะให้ความแม่นยำมากน้อยต่างกัน

 

 

3. แพทย์จะพยายามให้เลือดในรายที่จำเป็นเท่านั้น และเลือก ชนิดของโลหิตที่เหมาะสม เช่น การให้เลือดชนิดที่แยกเม็ดเลือด ขาวออก (leucocyte depleted pack red cell) จะช่วยลดการติด เชื้อลงบ้าง ในระยะที่เชื้ออยู่ในเม็ดเลือดขาว และเชื้อบางชนิด เช่น CMV จะมีโอกาสติดน้อยลง

 

 

4. ผู้ป่วยพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้ต้องรับเลือดมาก ขึ้น เช่น หลีกเลี่ยงการติดเชื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะจะ ทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากขึ้น โดยการทำฟันเป็นประจำ อย่า ให้มีภาวะติดเชื้อเรื้อรังในร่างกาย เช่น หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถาน ที่มีกลุ่มคนหนาแน่น จะติดเชื้อหวัดได้ง่ายดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง สะอาด ป้องกันและรักษาอาการหูน้ำหนวก ฟันผุ เป็นฝีหนองตามตัว ระวังการเป็นโรคท้องเดินจากการกินอาหารไม่สะอาด

 

 

โดยสรุป การรับเลือดมีโอกาสติดเชื้อตับอักเสบบี ซี และเชื้อเอดส์ ได้ แต่มีโอกาสน้อยมาก ผู้ป่วยและบิดามารดาไม่ควรกังวลจนเกินเหตุ เพราะผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้พยายามหาทางป้องกันอย่างดีที่สุดโอกาส ติดเชื้อจึงน้อยลงเป็นลำดับ

 

 

อัตราที่พบในผู้บริจาคเลือด ร้อยละ(1)
เชื้อซิฟิลิส โดยการตรวจ VDRL หรือการทดสอบอย่างอื่น 0.60 - 1.08
เชื้อตับอักเสบบี โดยการตรวจ HBs Ag 1.48 - 4.8
เชื้อเอดส์ โดยการตรวจ Anti HIV ควบคู่กับ HIV Ag 0.15 - 0.40 0.00 - 0.01
เชื้อตับอักเสบซี โดยการตรวจ Anti HCV 0.24 - 1.13

 

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง ภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก thalassemia.or.th

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความน่ารู้ romrawin รมย์รวินท์ ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex