
© 2017 Copyright - Haijai.com
ความปลอดภัยและความมั่นใจจากการเล่น
เด็กในวัย 4 ปี เริ่มเรียนรู้ทักษะการป้องกันตนเอง รู้จักสร้างความมั่นใจดูแลตนเองจากกิจกรรมการเคลื่อนไหวจากการเล่นปีนป่าย การก้าวกระโดด แต่ถึงเด็กจะมีทักษะที่เก่งขึ้นแล้วก็ตาม เด็กๆ ก็ยังต้องการโอกาสในการฝึกฝนทักษะการดูแลตนเองจากกิจกรรมใหม่ๆ เช่น การข้ามถนน หรือกิจกรรมรูปแบบใหม่ที่เด็กๆ สามารถพบเจอได้ในทุกๆ วันตลอดช่วงวัยของเขาเอง
เด็กในวัยนี้บางคนอาจเป็นเด็กที่คอยระมัดระวัง อ่อนไหวต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวมากกว่าเด็กบางคน ไม่กล้าที่จะตัดสินใจทำอะไรที่เป็นประสบการณ์ใหม่ ซึ่งต้องอาศัยเวลา หรือดูเพื่อนๆ เป็นตัวอย่างเพื่อให้เกิดความมั่นใจก่อนเสมอ ตัวอย่างเช่น การขึ้นขี่ช้างโดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้ดูแล หนูน้ำผึ้งก้าวขึ้นเป็นคนสุดท้ายหลังจากที่ดูเพื่อนขึ้นไปหมดก่อนหน้าแล้ว พร้อมจับมือผู้ดูแลอย่างมั่นคง ซึ่งผู้ใหญ่ควรให้การดูแลสนับสนุนเด็กๆ แต่ละคนตามพัฒนาการ ลักษณะ บุคลิก ไม่เปรียบเทียบ เพราะจะส่งผลกระทบด้านจิตใจให้เด็กรู้สึกต่ำต้อย ตอกย้ำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง ในทางตรงกันข้าม หากได้รับการสนับสนุน ส่งเสริม ค่อยๆ ให้เกิดความมั่นใจในตนเอง
ในภาพกว้างโดยทั่วไปเด็กวัยนี้ จะค่อยๆ สร้างความมั่นใจของตนเองในการบริหารจัดการกิจวัตรประจำวัน กิจกรรมการเคลื่อนไหว ปัญหาที่เกิดขึ้นหากเด็กอยู่ในบรรยาการการเร่งเร้า เข้มงวด ซึ่งทำให้เด็กหวาดกลัวมากหากต้องกระทำกิจกรรมใหม่ๆ จากผู้ใหญ่ที่คอยดูแลโดยการออกคำสั่งตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เด็กเกิดอาการหวาดกลัว และร้องไห้ทุกครั้งที่มีคำสั่งว่า “ระวัง !!!! เดี๋ยวหล่น” จากผู้ใหญ่ในสถานการณ์คับขัน
หนูน้อยวัยนี้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้มากขึ้น และรู้สึกสนุกสนานกับกิจกรรมใหม่ ที่ใช้การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วยตนเอง เช่น การเล่นห้อยศีรษะลงจากบาร์ การเล่นเครื่องเล่นหมุนติ้วโดยไม่รู้สึกเวียนศีรษะแต่อย่างไร
หนูน้อยเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่านกิจกรรมการเล่น เช่น การเรียนรู้การเคลื่อนไหว ช้า เร็ว ระยะทางไกล้ ไกล และทิศทาง การขึ้น ลง ถอยหน้า ถอยหลัง จากกิจกรรมการเล่นประจำวันนั่นเอง
เด็กๆ ที่อยู่ในวัยกำลังเรียน กำลังเล่น ต้องการของเล่น และสถามเด็กเล่นที่มีเครื่องเล่นในรูปแบบที่สามารถตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง สมบูรณ์ มีพัฒนาการทักษะที่เข้มแข็งขึ้น การเล่นในสถามเด็กเล่นจะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการทั้งด้านร่างกายกล้ามเนื้อ จิตใจสมองของเด็กให้เกิดความมั่นใจกล้าแสดงออกรู้จักเข้าสังคมมีระเบียบวินัยและรู้จักการแบ่งปัน การเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี เครื่องสถามที่ดีต้องมีขนาด ระยะมุมเอียง ความสูง ความกว้าง ขนาดของราวจับ มือจับ ที่พัก ต้องให้ได้ระดับ ขอบมุมต่างๆ ต้องไม่มีคมหรือมุมแหลม เพื่อไม่ไห้เกิดอันตรายกับเด็ก ส่วนพื้นของสนามเด็กเล่นต้องเป็นแบบที่สามารถป้องกันการกระแทรกศีรษะ และลดภาวะเลือดออกในสมองได้ ดังนั้นสนามที่ดีต้องเป็นพื้นเรียบ วัสดุอ่อนนิ่ม เช่น ทราย ขี้เลื่อยที่ต้องมีความหนาอย่างน้อย 9 นิ้ว หากเป็นพื้นสนามสังเคราะห์ที่ทำจากยางจะต้องมีการทดสอบก่อนแล้วว่าปลอดภัยกับเด็ก ความกว้างของสนามเด็กเล่นต้องมีความกว้างไม่น้อย 5 เมตร
(Some images used under license from Shutterstock.com.)