
© 2017 Copyright - Haijai.com
ไม่ท้อถอยที่จะต่อสู้กับธาลัสซีเมีย
ผู้ป่วยหญิง อายุ 19 ปี ได้รับการวินิจฉัยเป็น homozygous β - thalassemia เมื่ออายุ 2 ปี ผู้ป่วยต้องได้รับเลือดเป็นประจำทุก 3-4 สัปดาห์ ร่วมกับรับประทานยา folic acid และได้รับยาขับเหล็ก (desferioxamine) เป็นประจำ ผลการตรวจ HLA (Human Lymphocyte Antigen = ลักษณะพันธุกรรมของเลือด) ของบิดามารดา และน้องสาวไม่เหมือนผู้ป่วย จึงไม่สามารถนำเซลล์ต้นกำเนิดเม็ด เลือดมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยมีน้องชาย เมื่อผู้ป่วย อายุ 9 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น heterozygous β- thalassemia ผลการตรวจ HLA เข้ากันได้กับผู้ป่วย แต่น้องชายยังเล็กมาก มีน้ำหนักตัวน้อย (จึงมีปริมาณของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดน้อย) จึงไม่สามารถทำการ ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดให้กับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยต้องได้รับ เลือดถี่ขึ้น เพราะซีดมาก ไม่เจริญเติบโตเท่าเด็กในวัยเดียวกัน มีตับ ม้ามโตขึ้นมาก ต้องได้รับยาขับเหล็กเป็นประจำ ผู้ป่วยรู้สึกทุกข์ทรมาน เบื่อหน่าย ท้อแท้ ที่ต้องมารับเลือดบ่อยๆและต้องฉีดยาขับเหล็ก เกือบทุกวันทำให้บิดามารดามีความกังวลและมีความทุกข์ทรมาน มากเช่นกัน เมื่อผู้ป่วยอายุ 10 ปี จึงได้รับการตัดม้าม เพราะม้ามโต ต้องได้รับเลือดถี่ขึ้น ร่วมกับมีอาการปวดท้องและอึดอัดแน่นท้อง เนื่องจากไม่สามารถให้การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ด เลือดของน้องชาย ซึ่งยังเล็กมาก (น้ำหนักตัวน้อย) ให้กับผู้ป่วยได้ ด้วยความมุ่งมั่นและมานะพยายาม คุณพ่อคุณแม่ของผู้ป่วย ได้ สืบค้นหาหนทางที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคอันทุกข์ทรมาน นี้ จนในที่สุดได้ติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อิตาลี ซึ่งมีประสบการณ์ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกให้หาย ขาดจากโรคนี้เป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยและครอบครัว (บิดามารดาและ น้องชาย ที่มี HLA เข้ากันได้กับผู้ป่วย) จึงได้เดินทางไปรับการรักษา ด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกที่ประเทศอิตาลี เมื่อผู้ป่วยอายุ 11 ปี ด้วยความทุ่มเท อย่างร่วมแรงร่วมใจของคุณพ่อคุณแม่และความ ร่วมมือของผู้ป่วยและน้องชายในที่สุดผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการปลูก ถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากไขกระดูกของน้องชายจนประสบความ สำเร็จอย่างปลอดภัย ปัจจุบันผู้ป่วยอายุ 19 ปี มีสุขภาพแข็งแรง และ เตรียมตัวเพื่อเข้าศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะเป็น กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโลหิตวิทยาในอนาคต
ความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยรายนี้เกิดจาก
1. ครอบครัวนี้เป็นตัวอย่างของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ชนิดรุนแรงมาก ที่ทำให้เกิดผลกระทบทั้งกาย ใจต่อผู้ป่วย บิดามารดา น้องๆคุณย่า คุณยายและสมาชิกในครอบครัวทุกคน แต่สมาชิกในครอบครัว ทุกคนได้ให้กำลังใจ ร่วมแรงร่วมใจทุ่มเทเวลา ให้ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้ออาทร ร่วมมือกันทุกวิถีทางที่จะร่วมมือกับแพทย์ผู้รักษา โดยมุ่งหวังให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกายและใจที่เข้มแข็งเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายนี้
2. บิดามารดาไม่สิ้นหวัง จึงไม่ละความพยายามที่จะสืบค้นหา หนทางที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคอันทุกข์ทรมานนี้ และในที่สุดก็ ประสบความสำเร็จ
3. ผู้ป่วยมีกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง ที่จะให้ความร่วมมือ ในการรักษาอย่างไม่ท้อถอยทั้งๆที่มีความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานจากการ รักษาอย่างมาก
4. แพทย์และทีมงาน ต้องมีปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะต้องช่วยกัน รักษาผู้ป่วยและครอบครัวให้มีสุขภาพกาย ใจที่ดีที่สุด เพื่อให้ผู้ ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสร้างขวัญ กำลังใจต่อผู้ป่วยและครอบครัว อย่างต่อเนื่อง พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างผู้ป่วยและครอบครัวไม่ว่าจะมี อุปสรรค์หรือปัญหาใดๆ ขอแสดงความชื่นชมและยินดีอย่างยิ่ง กับปวันและครอบครัว ในความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง ไม่ท้อถอย ที่จะต่อสู้กับธาลัสซีเมีย และในที่สุดสามารถพิชิตโรคนี้จนหายขาดได้
ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์เกียรติ คุณแพทย์หญิง วัณเพ็ญ บุญประกอบ ที่กรุณาสัมภาษณ์ปวัน ณ โอกาสนี้
ศาสตราจารย์เกียรติคุณพลโทหญิง ทิพย์ ศรีไพศาล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก thalassemia.or.th
(Some images used under license from Shutterstock.com.)