Haijai.com


ฮอร์โมนสำหรับการตั้งครรภ์


 
เปิดอ่าน 4889

ฮอร์โมนสำหรับการตั้งครรภ์

 

 

การตั้งครรภ์ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ในเวลาเดียวกันก็ไม่ใช่เรื่องยาก หากร่างกายของคุณมีความสมบูรณ์ คุณก็สามารถที่จะตั้งครรภ์ได้ทุกเวลา การตั้งครรภ์ที่ดีและมีคุณภาพนั้นจะต้องมาจากความร่วมมือกันทั้งฝ่ายนั่นคือ ความพร้อมของสามี(ร่างกายที่สมบูรณ์ และจิตใจที่พร้อมจะเป็นคุณพ่อ) และความพร้อมที่มาจากตัวคุณ ผู้หญิงจะต้องมีความพร้อมสมบูรณ์ของช่วงเวลาการตกไข่ที่แน่นอน เพราะจะเกี่ยวเนื่องไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณกับสามี หากกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนได้แล้ว ย่อมได้รับข่าวดีในเร็ววันอย่างแน่นอน

 

 

สิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงทุกคนต้องมีความพร้อมเพื่อเตรียมตัวตั้งครรภ์ได้นั่นก็คือ การมีความสมดุลของฮอร์โมนเอชซีจี (hCG : Human Chorionic Gonadotropin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดแรกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเมื่อมีการปฏิสนธิ ไข่ที่ถูกผสมและมาฝังตัวอยู่ที่มดลูก ฮอร์โมนเอชซีจีก็จะสร้างเซลล์ในไข่ที่ถูกผสม

 

 

ฮอร์โมนเอชซีจี มีหน้าที่ที่สำคัญคือ

 

 กระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนตัวอื่นๆ ที่สำคัญ คือ ฮอรโมนเอสโตรเจน(Estrogen) กับฮอร์โมนโปร เจสเตอโรน(Progesterone) ซึ่งหน้าที่ของฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้มีความสำคัญคือ

 

 

หน้าที่ของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คือ ลดความตึงตัวของเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้มดลูกยังไม่มีการ
หดรัดตัวมาก เพื่อให้ทารกมาฝังตัวที่มดลูกได้  ทั้งนี้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลงในช่วงใกล้คลอด เพื่อให้มดลูกสามารถหดรัดตัว และคุณแม่สามารถคลอดลูกออกมาได้อย่างปลอดภัย

 

 

หน้าที่ของฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ เสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ของคุณแม่ตั้งครรภ์ และช่วยเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อต่างๆ และไปกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น เพื่อให้ไข่ที่ได้รับการผสม แล้วมาฝังตัว ทำให้มดลูกของคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้น ผนังมดลูกหนามากขึ้น ฮอร์โมนเอสโตรเจนยังทำให้ผนังช่องคลอดหนาตัวและยืดขยายได้ดีขึ้นอีกด้วย

 

 

 ฮอร์โมนเอชซีจี จะให้ผลบวก ในการทดสอบการตั้งครรภ์ หากประจำเดือนของคุณขาดไปแค่ 1 วัน คุณก็สามารถที่จะไปซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาทดสอบได้แล้ว แต่การทดสอบจากปัสสาวะจะมีความแม่นยำมากขึ้น หากตรวจหลังจากการปฏิสนธิได้ 10-14 วัน

 

 

 ฮอร์โมนเอชซีจี มีผลทำให้คุณแม่เกิดอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียนในช่วงการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ในคุณแม่บางรายที่มีอาการแพ้ท้องมากๆ เพราะว่ามีฮอร์โมนเอสซีจีสูงกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ท่านอื่นๆ อาการแพ้ท้องมักที่จะค่อยไ หายไปจนเป็นปกติได้เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 2

 

 

ระดับของฮอร์โมนเอชซีจีในแต่ละช่วงอายุครรภ์

 

อายุครรภ์
ระดับฮอร์โมนเอชซีจี (ยูนิต)
สิ่งที่เห็นจากการอัลตราซาวนด์
3 – 4 สัปดาห์
500 – 6,000
ถุงน้ำคร่ำ
1 – 2 เดือน
5,000 – 200,000
ส่วนก้อนของลำตัวเด็ก
2 – 3 เดือน
10,000 – 100,000
เห็นหัวใจเด็กเต้น
ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์
3,000 – 50,000
เห็นอวัยวะเพศ
ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
1,000 – 50,000
อวัยวะครบถ้วน

 

(Some images used under license from Shutterstock.com.)