Haijai.com


ลักษณะอาการของการขาดหรือพร่องวิตามิน


 
เปิดอ่าน 3510

ปรุงวิตามินตรงกับไลฟ์สไตล์ชะลอวัยไม่ให้เสื่อม

 

 

ความคัดแรกของคนที่นึกอยากจะดูแลตัวเองให้สวยใสจากข้างในคือ “ฉันต้องการวิตามินซักอย่างหนึ่งแล้วล่ะ” จากนั้นก็จะทำการค้นคว้าหาข้อมูลว่า “ฉันควรจะทานวิตามินอะไรดีน้า?” ใจหนึ่งก็อยากขาว “กลูต้า” ก็น่าสน ใจหนึ่งก็อยากผิวเต่งตึง “คอลลาเจน” ก็มาแรง อีกใจหนึ่งก็อยากจะ “ดีท็อกซ์” ล้างพิษลำไส้ ตับ ม้าม หัวใจ ปอด

 

 

ว้าทำไมอวัยวะของเรามันเยอะจัง อย่างไหนก็น่าดูแลเต็มไปหมด เลือกไม่ถูกเลยว่าจะเริ่มอย่างไรดี แถมยังไม่รู้ว่าตัวเองขาดวิตามินและแร่ธาตุอะไร ร่างกายมีปัญหาเรื่องไหนบ้าง งั้นเอา “วิตามินรวม” ละกัน เบสิกที่สุด แถมครอบคลุมทุกโรค (เอ๊ะ! เหมือนประกันยังไงยังงั้น) ว่าแล้วก็ตรงดิ่งเข้าร้านขายปรึกษาเภสัชและบรรลุภาระกิจแรกในการเริ่มดูแลตัวเองจากข้างใน เพื่อความสวยในเปล่งประกายสู่ภายนอก แต่สาวๆ คะ ความจริงแล้วมีทางเลือกที่ดีกว่านั้นค่ะ

 

 

ทางเลือกสำหรับการดูแลตัวเองที่ดีที่สุด คือ การป้องกันการเกิดโรคภัยต่างๆ ด้วยการดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานอย่างการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ การอกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การดูแลจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด แต่น้อยคนนักที่จะปฏิบัติได้อย่างจริงจัง

 

 

เนื่องด้วยหน้าที่การงาน พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ที่ส่งผลให้เรามีข้อจำกัดในการดูแลตัวเอง แต่ถึงแม้ว่าปัจจุบันมนุษย์เราจะกินดีอยู่ดี โดยเฉพาะอาหารที่มีให้เลือกทานอย่างมากมาย แตกต่างกับอดีตที่การหุงหาอาหารเป็นเพียงการประทังชีวิตให้อยู่รอดเท่านั้น กลับมีภาวะขาดสารอาหาร ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในแต่ละวันร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ไม่ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอาหารและยา (อย.) กำหนด หรือเรียกว่า Basic Requirement per Day

 

 

โดยองค์กรอนามัยโลกได้รับรายงานว่า ทั่วโลกมีการใช้อาหารเสริมถึง 65-80% และมีการเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย ดังนั้น การเรียนรู้ถึงการเสริมวิตามินให้ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการได้รับวิตามินเสริมนอกเหนือจากอาหารที่ได้รับ มีความจำเป็นในกรณีที่

 

 

1.ได้รับวิตามินและแร่ธาตุไม่เพียงพอ เนื่องจากวิถีชีวิตของคนยุคปัจจับที่ต้องเร่งรีบตลอดเวลา ทำให้ทานอาหารไม่ครบมื้อหรือได้รับสารอาหารไม่เพยงพอในแต่ละวัน การจำกัดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักและรูปร่างโดยเฉพาะสาวๆ การเลือกทานเฉพาะอาหารที่ชอบ การดื่มเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ เป็ประจำ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการพร่องวิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิด นอกจากนั้นกระบวนการแปรรูปอาหาร การประกอบอาหารโดยความร้อน ทำให้สูญเสียวิตามินบางชนิดในอาหารไปรวมทั้งการเก็บอาหารไว้เป็นระยะเวลานาน มักทำให้วิตามินค่อยๆ เสื่อมคุณภาพลงไปได้

 

 

2.ความต้องการในภาวะพิเศษของร่างกาย เช่น เมื่อเกิดอาการเป็นไข้ ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ซึ่งทำให้ร่างกายต้องการวิตามินและแร่ธาตุมากกว่าปกติ

 

 

3.มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการย่อยและการดูดซึมอาหาร เป็นโรคบางชนิด เช่น โรคระบบทางเดินอหาร โรคตับอ่อน ท่อน้ำดีอุดตัน มีการขับถ่ายเพิ่มขึ้น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

 

 

ไลฟ์สไตล์แบบไหน ทำให้ได้รับวิตามินไม่เพียงพอ?

 

1.คนป่วย

 

 

2.หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ที่ร่างกายต้องการวิตามินแร่ธาตุมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้น จึงควรทราบว่าวิตามินที่ร่างกายต้องการระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรมีอะไรบ้าง

 

 

3.คนที่มีความผิดปกติบางอย่าง เช่น ระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารไม่ดี

 

 

4.การประกอบอาชีพและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำให้ได้รับวิตามินและอาหารเสริมไม่เพียงพอ เช่น พยาบาล ต้องทำงานและทานอาหารไม่เป็นเวลา เด็กๆ ที่ชอบรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นประจำ (Junk Food) ทำให้ได้รับวิตามินกลุ่มหนึ่ง แต่ขาดวิตามินอีกกลุ่มหนึ่ง กลุ่มบุคคลที่ทำงานเฉพาะ เช่น ออกไปทำงานกลางทะเล อยู่ในแท่นขุดเจาะ ทานอาหารชุดที่เตรียมไว้เป็นประจำ ทำให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ขาดสารอาหารบางอย่างไป ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และอาหารเสริมชนิดต่างๆ

 

 

ลักษณะอาการของการขาดหรือพร่องวิตามิน

 

ภาวะพร่องวิตามินหรือขาดวิตามินเพียงเล็กน้อย เรียกว่า Insufficiency หรือ Hypovitaminosis แต่หากเป็นภาวะขาดวิตามินโดยสิ้นเชิง เรียกว่า Deficiency หรือ Avitaminosis โดยทั่วไปหากขาดวิตามินเพียงเล็กน้อย อาจยังไม่แสงอาการใดๆ แต่สามารถตรวจพบได้จากการวิเคราะห์ทางชีวเคมี โดยมีการเปลี่ยนแปลงของระดับวิตามิน ถ้าเริ่มขาดมากขึ้น จะเริ่มมีอาการแสดงออกแต่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ผิวแห้ง ตาแห้ง ผมบาง ผมร่วง ปวยบ่อย นอนหลับยาก เป็นตะคริวหรือเหน็บชาบ่อยๆ หากเป็นมากอาการแสดงที่สามารถตรวจพบได้ เช่น ความผิดปกติของผิวหนัง เล็บ เส้นผม ตา กระดูก เป็นต้น

 

 

วิตามินมีกีชนิด?

 

วิตามินแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ วิตามินที่ละลายในน้ำมัน และวิตามินที่ละลายในน้ำ โดยวิตามินที่ละลายในน้ำมัน คือ วิตามิน A D E และ K วิตามินกลุ่มนี้จะมีปริมาณมาตรฐานที่ร่างกายต้องการอยู่แล้ว และไม่ควรทานในปริมาณมาก เพราะละลายในน้ำมันจึงขับออกจากร่างกายได้ยาก ดังนั้น จึงควรทานตามมาตรฐาน เช่น วิตามิน A ควรทานวันละประมาณ 25,000-50,000 ยูนิต วิตามิน E ควรทานวันละ 200-400 มิลลิกรัม สำรหับวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามิน B และ C วิตามินนี้ไม่เกิดการสะสมในร่างกาย จึงไม่เป็นอันตราย เพราะสามารถระบายออกได้ทางปัสสาวะหรือเหงื่อ เพราะฉะนั้นการทานมากไปจึงไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

 

 

นอกจากนั้นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) อื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เช่น CoQ10 อัลฟ่าไลโปอิค แอซิด กลูต้าไธโอนของเนื้อเยื่อ (Fish Oil) ที่มีประโยชน์ในการช่วยชะลอวัย ชะลอการทำงายของเนื้อเยื่อ หากได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงและแก่ช้าลง และปัจจุบันมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระชนิดใหม่ที่ชื่อว่า Astaxanthin เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในรำข้าว จมูกข้าว หาได้ค่อนข้างยากในธรรมชาติและมีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามิน C ในปริมาณ (มิลลิกรัม) ที่เท่ากัน 5,000-6,000 เท่าการทาน Astaxanthin 1-3 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับการทานวิตามิน C ประมาณ 5,000-10,000 มิลลิกรัม เพราะฉะนั้นในปริมาณที่เท่ากัน Astaxanthin สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามิน C ได้ประมาณพันเท่า

 

 

และยังมีกลุ่มอาหารเสริมที่เป็นฮอร์โมน เช่น DHEA เมลาโทนินฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen: ฮอร์โมนเพศหญิง) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone: ฮอร์โมนเพศชาย) ปัจจุบันมีความจำเป็นมากขึ้น เนื่องจากร่างกายคนเราเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนเพศจะเริ่มลดน้อยลง แต่จะลดลงมากน้อยและช้าเร็วต่างกัน ซึ่งเรียกว่าเป็นระยะหมดประจำเดือนหรือเข้าสู่ “วัยทอง” ในผู้หญิงมักมีอาการร้อนๆ หนาวๆ ตามเนื้อตัวหงุดหงิดง่าย กระดูกพรุน ในผู้ชายวัยกลางคนฮอร์โมนเพศชายลดลงง่ายเช่นเดยวกับผู้หญิง ทั้งหญิงและชายวัยทองจะเริ่มไม่มีความมั่นใจในตัวเอง เบื่อโลก จนกระทั่งบางคนมีความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ขึ้นอยู่ความช้าเร็วของฮอร์โมนที่ลดลงด้วย ฉะนั้น ในการรักษาจึงให้ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และฮอร์โมน ไปพร้อมกัน

 

 

ปัจจุบันมีการตรวจวัดระดับวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกายว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ โดยการเจาะเลือดตรวจ หรือตรวจปัสสาวะเพื่อดูเมตาบอไลท์ (Metabolite) ของวิตามิน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโดยการจัด “วิตามินเฉพาะบุคคล” หรือที่เรียกว่า “Personalizes Supplements”

 

 

Personalizes Supplements วิตามินเฉพาะบุคคล

 

การดูแลตัวเองด้วยการทานวิตามินเฉพาะบุคคลนั้น เป็นการดูแลสุขภาพอีกรูปแบบหนึ่ง รูปแบบของ “วิตามินปรุงเฉพาะบุคคล” หรือ Custommized/Personalizes Supplements จะจัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย โดยสามารถเลือกทานวิตามินที่ขาดเพื่อการมีสุขภาพดี ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย

 

 

แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยคนไข้ จากการสอบถามประวัติ ประเมินและวิเคราะห์ร่วมกับอาการของคนไข้ เช่น อ่อนเพลีย ป่วยบ่อย หงุดหงิดง่าย ฯลฯ และไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิต ดูองค์ประกอบโดยรวม และตรวจวิเคราะห์ระดับวิตามิน เกลือแร่ Antioxidant จากเลือดเพ่อเป็นแนวทางให้แพทย์วินิจฉัยได้ว่าร่างกายขาดวิตามินแร่ธาตุ Antioxidant ตัวไหนบ้าง เพื่อที่จะได้ทราบถึงชนิดและปริมาณของวิตามินหรือแร่ธาตุที่แพทย์จะจ่ายให้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับแต่ละบุคคล

 

 

การเข้ารับการรักษาด้วยโปรแกรม Personalized Supplement

 

ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาด้วย Personalized Supplement แพทย์จะต้องมีการตรวจเลือดเพ่อทำการวิเคราะห์และประเมินอาการ ดังนั้น ต้องงดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนการเจาะเลือด เพื่อให้ได้ค่าตัวเลขที่ถูกต้องและควรมาพบแพทย์ในช่วงที่ร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ หากกำลังป่วยหรือมีไข้ จะทำให้ผลการตรวจออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร ในระหว่างการรักษาผู้ป่วยบางคนที่การประกอบอาชีพทำให้ต้องมีการขาดสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุอยู่เป็นประจำ ดังนั้น จึงต้องมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจติดตาม วิตามินและแร่ธาตุ รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระสามารถทานเป็นระยะเวลานานหลายปี โดยปลอดภัยในปริมาณตามที่กำหนด หากวิตามินและแร่ธาตุชนิดใดที่อยู่ในระดับมาตรฐานแล้ว แพทย์จะหยุดให้สารอาหารนั้นๆ เพราะร่างกายสามารถซ่อมแซมฟื้นฟูร่างกายในส่วนนั้นได้แล้ว

 

 

ดูแลร่งกายให้สวยใสอ่อนกว่าวัย ตามหลักเวชศาสตร์ชะลอวัย

 

1.ทานอาหารครบ 5 หมู่ ให้เหมาะสมกับเพศและวัย เช่น คนที่มีอายุน้อยยังสามารถทานอาหารได้หลากหลาย และในปริมาณมาก ในผู้หญิงตั้งครรภ์/ให้นมบุตร ควรทานเครื่องในและหมูเนื้อแดงในปริมาณที่พอดี เนื่องจากมีกรดยูริคที่ทำให้เป็นโรคเก๊าท์

 

 

2.ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควรออกกำลังกายวันละ 30-45 นาที อาทิตย์หนึ่งอย่างน้อย 3 ครั้ง และมีการลงน้ำหนัก (Weight Barging) อย่างเหมาะสมกับอายุและสภาพร่างกาย

 

 

3.ดื่มน้ำเยอะๆ วันละ 2 ลิตร

 

 

4.ลดความเครียด ด้วยการใช้ดนตรี อ่านหนังสือ ด้วยการใช้ศาสนาของแต่ละบุคคลเข้ามาทำให้จิตใจผ่องใส

 

 

5.หางานอดิเรกทำ ปัจจุบันควรมีงานอดิเรกที่ทำเป็นประจำเช่น ทำครัว ทำสวน เล่นกีฬา อย่างตีกอล์ฟ ดำน้ำ เดินป่า แต่สำหรับการเล่นคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเรียกได้ว่าไม่ใช่งานอดิเรก กลายเป็นชีวิตประจำวัน ทุกคนต้องมี Social Media และหลายครั้งที่ทำให้เกิดความเครียด ดังนั้น หากใช้เวลากับคอมพิวเตอร์มากไปควรปรับให้เหมาะสม

 

 

6.ทานวิตามินหรืออาหารเสริม โดยควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับวิตามินและอาหารเสริมที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล

 

 

การดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิธีใดก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการเจาะเลือดเพื่อดูระดับวิตามิน เกลือแร่ Antioxidant ค่อนข้างมราคาสูง ส่วนการรักษาด้วยโปรแกรม Personalized Supplement นี้ ขึ้นอยู๋กับจำนวนชนิดและปริมาณของวิตามินและแร่ธาตุที่ขาด รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระและฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งผู้ป่วยต้องคำนวณค่าใช้จ่ายให้เพียงพอกับปริมาณที่เหมาะสมของสารอาหารที่ควรจะได้รับ หากวิตามินชนิดไหนที่ไม่จำเป็นก็สามารถลเว้นได้

 

 

ทั้งนี้การเสริมวิตามิน เกลือแร่ Antioxidant Hormone ต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย ซึ่งแพทย์จะให้ความรู้และการเสริมวิตามินที่ถูกต้องแก่ท่าน อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ยังเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต และการดูแลตัวเองไม่ควรรอให้อายุมากหรือเกิดการเจ็บป่วย เพราะการดูแลตัวเองเนิ่นๆ ตั้งแต่วันนี้เป็นการป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส ส่งผลต่อากรทำงาน การเข้าสังคม มีความสุขในการดำรงชีวิต

 

 

“ปัจจุบันเรามีแพทย์ทางเลือกมากขึ้น ประชาชนจึงมีการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น คนส่วนใหญ่จึงไม่รอจนกระทั่งเกิดเป็นโรค อย่างเช่น โรคมะเร็ง เราพบว่าการทานสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ การทาน Hi Vitamin C ช่วยป้องกันการเป็นหวัดได้ ซึ่งหลักของเวชศาสตร์ชะลอวัยเป็นการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งเรื่องการออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับ การรับประทานอาหาร และการได้รับอาหารเสริมที่เหมาะสมควบคู่กันไปด้วย

 

 

การเลือกซื้อวิตามินทานอเองตามท้องตลาดควรซื้อจากร้านที่น่าเชื่อถือ อ่านฉลากด้านข้างบรรจุภัณฑ์ อย่าทานเกินกว่าปริมาณที่แนะนำจากข้างบรรจุภัณฑ์ อย่าทานเกินกว่าปริมาณที่แนะนำจากข้างบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่เจือสารพิษ ไม่ใช่ของปลอม เป็นอาหารเสริมที่ได้มาตรฐานและมีปริมาณตามที่กำหนด การทานวิตามินเสริมจำเนที่จะต้องทานเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ จึงจะเห็นผลการรักษาได้ชัดเจน และควรปรึกษาแพทย์ทางเวชศาสตร์ชะลอวัย เพื่อให้ความรู้และคำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง”

 

 

นพ.ไพศาล รัมณีย์ธร

ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและเลเซอร์

(Some images used under license from Shutterstock.com.)