Haijai.com


โรคหัวใจ คืออะไร


 
เปิดอ่าน 54763

โรคหัวใจ คืออะไร

 

 

องค์กรอนามัยโรค แจ้งว่า โรคหัวใจคร่าชีวิตคนทั่วโลกถึงปีละ 12,000,000 คนต่อปี และจากสถิติยังแสดงว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ หัวใจเป็นอวัยวะที่เป็นกล้ามเนื้อ ถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องจักรที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป มันก็คงทำงานเหมือนเครื่องปั้มน้ำ โดยมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย

 

 

หัวใจคนเรามี 4 ห้อง มีห้องซ้าย – ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และบน – ล่าง โดยลิ้นหัวใจ มันมีหน้าที่ในการฟอกโลหิต ซีกขวาของหัวใจจะประกอบไปด้วย หลอดเลือดที่จะสูบฉีดเลือดไปยังปอด เพื่อฟอกเลือดเสียให้ได้รับออกซิเจน หลังจากที่เลือดได้รับการฟอกแล้ว มันจะส่งกลับมายังหัวใจซีกซ้าย เพื่อสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆ ต่อไป

 

 

ในทุกๆ วัน ที่เรายังมีชีวิตอยู่ หัวใจของคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน

 

 

อาการผิดปกติเบื้องต้น ของหัวใจและร่างกาย ซึ่งอาจะเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้

 

1.มีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย หรือต้องใช้แรง นั่นก็เป็นเพราะว่าหัวใจทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำงานหนักมากขึ้นกว่าปกติ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

 

 

2.เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าว จะรู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายๆ มีของหนักทับอยู่ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก

 

 

3.มีอาการหอบจนตัวโยน หากไม่รีบพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการนี้ อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

 

 

4..ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นสม่ำเสมอประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง 150-250 ครั้ง/นาที

 

 

5.เป็นลมหมดสติอยู่บ่อยๆ เนื่องจากจังวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอจนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้

 

 

6.หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อนล่วงหน้าเลย

 

 

7.ขาหรือเท้าบวม โดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋ม ตามนิ้วที่กดลงไป

 

 

8.ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ แสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจ ห้องขวากับห้องซ้าย มีการเชื่อมต่ออย่างผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมปนเปของเลือดแดงกับเลือดดำ

 

 

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคหัวใจ

 

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด เมื่อหลอดเลือดอุดตัน มันก็ไม่สามารถที่จะสูบฉีดเลือด เพื่อส่งสารอาหารไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ และเมื่อกาลเวลาผ่านไป การอุดตันของเส้นเลือดก็ยิ่งเริ่มมีมากขึ้น และนานวันเข้าหลอดเลือดต่างๆ ของหัวใจก็จะเริ่มหนา และแข็งขึ้นจนเป็นสาเหตุ  ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ

 

 

ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ อย่างไม่ต้องสงสัย ภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจต้องรับภาระที่หนักหนาสาหัสมากขึ้น เนื่องจากหัวใจจำเป็นต้องใช้พลังมากมายในการสูบฉีดโลหิต นั่นจึงไม่แปลกเลยที่ผู้ป่วย ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายปี จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรค หัวใจมากกว่าคนปกติหลายเท่าตัว ความดันโลหิตของแต่ละบุคคล อาจจะแตกต่างกันไปตาม ส่วนสูง อายุ และสุขภาพของบุคคลนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตามควรจะอยู่ในประมาณ 120/80 มม.ปรอท

 

 

คอเลสเตอรอล คือ ไขมันที่อยู่ในหลอดเลือด และพบได้ทั่วๆ ไปตามเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เมื่อไรก็ตามที่ระดับคอเลสเตอรอลอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม คอเลสเตอรอลก็จะไม่มีอันตรายต่อร่างกาย และเซลล์บางตัว ก็จำเป็นต้องใช้คอเลสเตอรอล อาหารต่างๆ ที่มีไขมันอิ่มตัว เป็นอาหารที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง เมื่อร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูง สะสมอยู่ในระยะเวลานาน ก็จะเกิดการอุดตันของคลอดเลือด จนเป็นสาเหตุของการเป็นโรคหัวใจ

 

 

โรคอ้วน มีความสัมพันธ์ โดยตรงกับความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอลสูง ผู้ป่าวยที่เป็นโรคอ้วน จะมีหัวใจที่ต้องรับภาระหนักขึ้น ในการสูบฉีดโลหิตมากกว่าคนธรรมดาหลายเท่า

 

 

โรคเบาหวาน ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจด้วย จากสถิติแสดงให้เห็นว่า 30% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มักจะตายด้วยโรคที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจ

 

 

การสูบบุหรี่ เป็นอันตรายต่อหัวใจ เนื่องจากทำให้หลอดเลือดตีบตัน รายงานทางการแพทย์ ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ควันบุหรี่ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำงานหนักขึ้น และอุดตันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

 

หากคนในครอบครัว มีประวัติการเสียชีวิตจากการป่วยด้วย โรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี นั่นก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนปกติ

 

 

ความเครียด ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ เคยสังเกตหรือไม่ว่า เวลาที่รู้สึกเครียด หัวใจของเราก็จะเต้นแรงขึ้น

 

 

คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยเผาพลาญระดับคอเลสเตอรอลแล้ว มันยังทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

 

 

ดูแลสุขภาพจิตใจ ให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามอย่าเครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ความเครียด และความโกรธเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น

 

 

การป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

 

การไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ เช่น การตรวจเลือดแล้วพบว่า เป็นเบาหวานหรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน นอกจากนี้ หากเราไปเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ มันก็อาจจะเป็นข้อตระหนักได้ว่า เราอาจจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจรั่ว หรือไม่ก็โรคกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทั้งนี้ทั้งนั้น ในกรณีที่ตรวจพบว่า มีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ เราควรรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน

 

 

สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจก่อนที่จะสายเกินไปดังนี้

 

 ดูแลสุขภาพจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามอย่าเครียดกับการงาน หรือการเรียนจนมากเกินไป รู้จักควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์โกรธ เพราะความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น

 

 ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว สุขภาพจิต ก็ยังสดชื่อแจ่มใสแล้วอีกด้วย

 

 หมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตรราการเต้นของหัวใจปกติ ดีหรือไม่ เจ็บหน้าอกหรือไม่ ใจสั่นบ่อยๆ หรือไม่ เหนื่อยง่ายกว่าแต่ก่อนหรือไม่ เป็นต้น

 

 รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง แต่หันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น ข้อสัญควรงดบุหรี่และสุรา

 

 ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกัน และรักษาโรคร้ายตั้งแต่เนิ่นๆ

 

 

การรักษาโรคหัวใจ

 

หลังจากได้รับการวินิจฉัย ว่าเป็นโรคหัวใจ แพทย์จะให้คำแนะนำในการรักษาตามอาการของผู้ป่วย โดยที่แนวทางการรักษาจะประกอบด้วย 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ การรักษาด้วยยา เครื่องมือพิเศษ และการผ่าตัด

 

 

ในส่วนของการรักษาทางยา และอุปกรณ์พิเศษแพทย์จะให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย รวมทั้งให้ยารักษาตามอาการ และในบางกรณีอาจใช้วิธีการฝังหรือใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆ เพื่อรักษาอาการศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ก็อาจมีความจำเป็นต้องทำการผ่าตัด

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ยกกระชับช่องคลอด Vaginal Lift Vaginal Morpheus Pro Morpheus ยกกระชับ Oligio Body Oligio IV Drip ดริปวิตามิน Emsella รีแพร์ เลเซอร์นอนกรน นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก ลดน้ำหนัก Emsculpt สลายไขมัน สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting romrawin รมย์รวินท์ Belotero ผิวฉ่ำ Glassy Skin Juvederm Coolsculpting เลเซอร์รอยสิว Meso Hair Skinvive ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฉีดฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย โบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime Ulthera Ulthera Thermage FLX Thermage Oligio Oligio ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร กำจัดขน เลเซอร์ขน เลเซอร์ขน Pico Laser Pico Majesty Reepot Laser Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Sculptra Sculptra Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse UltraClear AviClear Accure Laser Fit Firm Emsculpt Coolsculpting Elite NAD+ ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP Vaginal P-SHOT O-Shot LLLT ปลูกผม รักษาผมร่วง ผมร่วง ผมบาง ปลูกผม ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม ดูดไขมัน ดึงหน้า ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก วีเนียร์ Apex