© 2017 Copyright - Haijai.com
แก้ไข สายตาสูงอายุ
หลักจากอายุย่างเข้าเลขสี่ได้ไม่เท่าไหร่เพื่อนร่วมงานมักได้ยินคุณสมหมายบ่นอยู่บ่อยๆ ว่า “มึนไปหมดแล้วทำอย่างไรดี แว่นสายตาที่เคยใช้ประจำเดิมก็เห็นชัดดี แต่ตอนนี้ใส่อ่านหนังสือไม่ได้เลย ทั้งไม่ชัด ทั้งปวดตา” เกิดอะไรขึ้นกับคุณสมหมาย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ภาวะแบบนี้พบได้ในคนสายตาสั้นที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป เรียกว่าผู้นั้นมีสายตาสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่ออายุ 40 ปี กำลังเพ่งในการดูภาพระยะใกล้เสื่อมไป ทำให้มองใกล้ไม่เห็น คำว่าสายตายาวที่ใช้ในที่นี้ผิดความจริงไป ที่ถูกควรเรียกว่า “มีสายตาสูงอายุ” ต้องใช้เลนส์แว่นตาช่วยในการมองระยะใกล้ ด้วยเหตุที่เลนส์ที่ใช้เป็นเลนส์นูน หรือที่เรียกว่ามีกำลังบวกเหมือนคนสายตายาวจริงๆ กล่าวคือ สายตายาวพบได้ทุกอายุตั้งแต่เด็กเล็กเป็นต้นไป และต้องแก้ด้วยเลนส์บวกโดยต้องใช้แว่นตลอดเวลาทั้งมองไกลและมองใกล้ ส่วนสายตาสูงอายุต้องแก้ด้วยเลนส์บวกเช่นเดียวกัน แต่ใช้เฉพาะเวลามองใกล้ และพบในผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไปเท่านั้น แทบจะกล่าวได้เลยว่า หากเรามีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป บางคนอาจเร็วกว่านี้ คือ 37 ปี หรือบางคนอาจจะมากกว่านี้ คือ 40 กว่าปี จะต้องมีภาวะสายตาสูงอายุทั้งนั้น
ภาวะตาสูงอายุจำเป็นต้องแก้ไขหรือไม่
ความจำเป็นต้องแก้ไขหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าต้องใช้สายตาในการมองใกล้หรือไม่ หากไม่ใช้สายตามองวัตถุใกล้ๆ เช่น เย็บผ้าอ่านหนังสือ และอื่นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข ดังจะเห็นว่าผู้อายุบางท่านไม่เคยใช้แว่นสายตาเลย สำหรับผู้มีสายตาสูงอายุที่ต้องใช้สายตามองใกล้จะแก้ไขอย่างไร ขอแยกเป็น 3 ประเภท คือ
1.ผู้มีสายตาปกติหรือไม่เคยใส่แว่นสายตามาก่อน แก้ไขภาวาสยตาสูงอายุโดยวิธีการดังนี้
วิธีการ
|
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
ส่วนแว่นตาที่ใช้เลนส์ชั้นดียว (monofocus reading glass) ซึ่งเลนส์มีแค่โฟกัสเดียว สวมแว่นตานี้เฉพาะเวลามองใกล้
|
• ราคาถูก หาซื้อง่าย
• ไม่ต้องพิถีพิถันในการประกอบเลนส์ |
• ไม่สามารถมองไกลได้ เมื่อสวมแว่นที่ใช้เลนส์แบบนี้ จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้สายตาใกล้-ไกลในเวลาใกล้เคียงกัน เช่น ครูที่ต้องมองดูเด็กไปพลาง อ่านหนังสือไปพลาง
|
สวมแว่นตาที่ใช้เลนส์สองชั้น (bifocuslens) โดยด้านบนให้โฟกัสระยะไกล (กำลังต่ำ) ส่วนด้านล่างให้โฟกัสระยะใกล้ (กำลังสูง)
|
• เห็นชัดทั้งมองใกล้และไกล
|
• เป็นเลนส์ที่มีรอยต่อ ซึ่งบ่งบอกอายุผู้ใช้ว่าเป็นผู้สูงอายุ ทำให้บางคนไม่ชอบ
• การเปลี่ยนเวลามองไกลแล้วมามองใกล้ จะเห็นภาพเหมือนก้าวกระโดด ทำให้อาจก้าวพลาดเวลาลงบันใด • การประกอบเลนส์เข้ากับกรอบต้องใช้ความพิถีพิถัน ต้องให้จุดโฟกัสเลนส์ไกล-ใกล้ อยู่ในที่ถูกต้อง |
สวมแว่นตาที่ใช้เลนส์หลายชั้นไร้รอยต่อ (progressive lens) ซึ่งมีหลายโฟกัส โดยจะค่อยๆ เพิ่มกำลังจากบนมองไกล (กำลังต่ำ) 20 ฟุตขึ้นไป ลงมาเป็น 10 ฟุต 8 ฟุต จนถึง 1 ฟุต (กำลังสูง)
|
• ไร้รอยต่อ เหมือนเลนส์แว่นตาทั่วไป ไม่ใช่แว่นผู้สูงอายุ
• ภาพที่เห็นไม่กระโดดเหมือเลนส์สองชั้น เนื่องจากกำลังเลนส์ที่ลดหลั่นกันลงมา • เห็นได้ชัดทุกระยะ เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้สายตาหลายระยะ เช่น มองไกล มองบนหิ้ง มองจอ คอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ เป็นต้น |
• ราคาแพง
• ต้องใช้เวลาปรับเข้ากับแว่น • ภาพด้านข้างมักจะบิดเบี้ยว • กระบวนการประกอบต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญ และคำนึงถึงขนาด รูปร่างของกรอบ ระยะของเลนส์ต่างๆ |
2.ผู้ที่มีแว่นสายตาสั้น หรือสายตาสั้น เอียงอยู่เก่า เป็นผู้ที่ใช้แว่นสายตามองไกลประจำ เมื่อายุมากขึ้น การเป็นผู้ที่ใช้แว่นสายตามองไกลประจำ เมื่ออายุมากขึ้น การเพ่งทำได้ไม่ดี มองใกล้จึงไม่ชัด อาจแก้ไขโดย
• ใช้วิธีถอดแว่นเวลามองใกล้ ในกรณีที่กำลังสายตาสั้นที่มีอยู่เดิม กับกำลังสายตาสูงอายุที่เกิดใหม่มีขนาดเท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน เช่น หากมีสายตาสั้นเดิม 100 เรียกว่า ลบ 100 และถ้ามีสายตายาว บวก 100 จะพบว่า เวลามองใกล้ควรใส่แว่น 0 พอดี (ผลรวมของ -100 และ +100) นั่นคือเวลามองใกล้ไม่ต้องใช้แว่นเลย ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจใช้วิธีถอดแว่นออกเวลามองใกล้
• ทำแว่นตามองไกลอันหนึ่ง มองใกล้อันหนึ่ง สำหรับผู้มีสายตาสั้นที่เมื่อบวกลบกับขนาดสายตายาวแล้วไม่เป็น 0 อาจทำแว่นตามองไกลอันหนึ่ง มองใกล้อันหนึ่ง แต่อาจจะไม่สะดวกเมื่อต้องเปลี่ยนแว่นสลับไปมาเวลามองไกล และมองใกล้
• ทำแว่นมองไกล-ใกล้ในอันเดียวกัน สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเมื่อต้องเปลี่ยนแว่นเวลาจะอ่านหนังสือ สามารถทำเป็นเลนส์สองชั้นหรือเลนส์หลายชั้นไร้รอยต่อเช่นเดียวกับผู้ป่วยในกลุ่มแรก
3.ผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์เป็นประจำ สำหรับผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์ แก้ไขสายตาสั้นเป็นประจำอยู่แล้ว หากมีสายตาสูงอายุขึ้นมา อาจแก้ไขโดย
• ใช้แว่นผู้สูงอายุเวลามองใกล้ คือยังคงใช้คอนแทคเลนส์ตามปกติ เวลาจะมองจึงนำแว่นมาใช้ ซึ่งจะเป็นแว่นแบบเดียวกับผู้ป่วยในกลุ่มที่ใช้เลนส์ชั้นเดียว เวลามองไกลต้องเอาแว่นออก ใช้แต่คอนแทคเลนส์
• ใช้คอนแทคเลนส์ชนิดสองชั้น ปัจจุบันไม่ค่อยนิยม เพราะมีกำลังค่อนข้างจำกัด (ไม่ได้มีทุกขนาด และภาพที่ได้ไม่สู้จะคมชัดนัก)
• ใช้แว่นตาเลนส์สองชั้น
• งดใช้คอนแทคเลนส์ หันมาใช้แว่นตาเลนส์สองชั้นหรือเลนส์หลายชั้นไรรอยต่อ เช่น ในผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้แว่นมองไกล-ใกล้ ในอันเดียวกัน
• ใช้ monovision ผู้ป่วยบางรายอาจพิจารณาการใช้ monovision คือใช้คอนแทคเลนส์มองไกลในตาที่ดีกว่า และลดกำลังคอนแทคเลนส์ ในตาอีกข้าง คือ เลือกกำลังคอนแทคเลนส์ที่ใช้ดูใกล้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มองไกลใช้ตาข้างเด่นมากกว่า มองใกล้ใช้ตาด้อยมากกว่า วิธีนี้เหมาะสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ใช้สายตาละเอียดมาก และอาจใช้ไม่ได้ในบางคน
ทั้งหมดที่กล่าวเป็นการใช้แว่นแก้ไขสายตาสูงอายุ ปัจจันยังมีการผ่าตัดเพื่อรักษาสายตาสูงอายุด้วยวิธีต่างๆ อีกหลายวิธี ซึ่งคงต้องมีปัจจัยเสี่ยงของการทำอยู่บ้าง และยังไม่ค่อยนิยมในบ้านเรา
ศ.พญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
จักษุแพทย์
(Some images used under license from Shutterstock.com.)