
© 2017 Copyright - Haijai.com
Cell Heals Cell BIOMOLECULAR THERAPY
การแพทย์ชีวโมเลกุล ยื่นเวลาให้กับร่างกาย
นานหลายศตวรรษที่การแพทย์พยายามคิดค้นที่สุดแห่งวิธีการบริสุทธ์ที่ใช้ “ยืนเวลาให้กับร่างกายและสร้างโอกาสให้กับชีวิต” จนถึงปัจจุบันเมื่อเราค้นพบวิธีนั้น มนุษย์เองกลับติดอยู่ในกลุ่มที่ใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะกันอย่างงอมแงม ซึ่งผลลัพธ์ของการใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่นานนั้น ก็เป็นที่รู้อยู่แล้วว่าไม่มีผลดีกับร่างกายอย่างแน่นอน แต่เมื่อหลายคนอ้างถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ยา ผลลัพธ์ไม่ดีที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพคงต้องหักล้างกันไป
หลายๆ คนยังไม่รู้ว่าปัจจุบันมีการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ที่เข้ามาเสริมทัพในการรักษาและเยียวยาร่างกาย หนึ่งในนั้นคือการใช้ “เซลล์บำบัด” โดยทางการแพทย์เรียกว่า “ชีวโมเลกุล” ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าการแพทย์ทางเลือกแขนงนี้ได้พัฒนาและใช้รักษามาแล้วกว่า 70 ปี โดยที่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ ต่อร่างกาย “การใช้ยานั้นล้าสมัยเสียแล้ว โลกกำลังหันมาใช้เซลล์รักษาโรค” เป็นคำพูดที่กล่าว โดย ดร.นัยพินิจ คชภักดี ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและประสาท มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ถือเป็นสิ่งยืนยันได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจว่า การแพทย์ไทยในปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่เปิดกว้างให้กับการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ รวมถึงการแพทย์ชีวโมเลกุลด้วย
เซลล์ซ่อมเซลล์ ไม่ใช่สเต็มเซล์
ย้อนกลับมาที่คำว่า เซลล์บำบัด ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ยังคงยึดติดอยู่กับคำว่า สเต็มเซลล์ (Stem Cell) ทั้งนี้หากอธิบายกันอย่างชัดเจน ชีวโมเลกุล (เซลล์ซ่อมเซลล์) เป็นการใช้เปปไทด์ (Peptide) ของเซลล์ที่เป็นอวัยวะต่างๆ ของร่างกายแล้ว แต่สเต็มเซลล์เป็นเซลล์ต้นกำเนิดก่อนที่จะเจริญเติบโตกลายเป็นอวัยวะต่างๆ ซึ่งผลข้างเคียงและปัญหาของสเต็มเซลล์ มีดังนี้
• อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ เนื่องจากการใช้เซลล์ทั้งเซลล์
• สเต็มเซลล์ควบคุมไม่ได้ เนื่องจากสเต็มเซลล์ เมื่อไปเจริญเติบโตในร่างกายอาจกลายเป็นอวัยวะใดก็ได้ เช่น ฉีดที่ไต สเต็มเซลล์อาจกลายเป็นกระดูกในไต ซึ่งทำให้คนไข้เสียชีวิต
Cell Therapy
การบำบัดเซลล์คือการบำรุงและรักษาเซลล์ที่แก่ เสื่อมสภาพ และเซลล์ที่ไม่แข็งแรง ให้มีความแข็งแรงและมีการสร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์เก่า ให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ เพื่อให้ชีวิตโดยรวมดำรงอยู่ได้จนสิ้นอายุ เรื่องของ เซลล์เธอราปี หรือ ชีวโมเลกุล นั้น ในความเป็นจริงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แม้ว่านักวิจัยจากสหรัฐอเมริกาจะออกมากล่าวถึงงานวิจัยในเรื่องการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ เมื่อไม่นานมาก็ตาม ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น การแพทย์ชีวโมเลกุลและการรักษาด้วยสเต็มเซลล์น้นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของการแพทย์ชีวโมเลกุลนี้ ผู้เขียนพบว่าจุดเริ่มต้นของการแพทย์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นจากวิธีการที่เรียกว่า Fresh Cell หรือการใช้เซลล์สดในการซ่อมแซมเซลล์นั้นเอง คำว่า Fresh Cell นี้ ดูจะเป็นที่รู้จักและคุ้นหูกับคนไทยมากกว่าคำว่า การแพทย์ชีวโมเลกุล ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ต่อยอดขึ้นมาจาก Fresh Cell เป็นเวลากว่า 70 ปี
Fresh Cell Therapy or Live Cell Therapy
ความหวังของมนุษย์ในการฟื้นฟูเซลล์ มีหลักฐานความเป็นไปได้ ตั้งแต่เมื่อประมาณ 70 ปีมาแล้ว เมื่อปี ค.ศ. 1931 ศ.นพ. พอล นีฮาน ศัลยแพทย์ชาวสวิส ได้เอาน้ำที่ได้จากการบดเซลล์ต่อมพาราไทรอยด์จากสัตว์ ฉีดเข้าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง เนื่องจากถูกตัดต่อมพาราไทรอยด์โดยบังเอิญ ซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ครั้งก่อน ปรากฏว่าผู้ป่วยหายจากโรคชักเกร็งได้ และไม่มีการแพ้ใดๆ จากการติดตามผู้ป่วยไปอีก 25 ปี หลังจากนั้น เขาเรยกการรักษาชนิดนี้ว่า Live Cell Therapy หลังจากนั้น แพทย์ในยุโรปโดยเฉพาะเยอรมันก็ได้พัฒนา Live Cell Therapy ซึ่งเป็นวิธีการบำบัดทางชีภาพ โดยเป็นการนำเซลล์สดใหม่ หรือ Fresh Cell จากเนื้อเยื่อหรืออวัยวะของสัตว์ ซึ่งส่วนมากจะเป็นตัวอ่อนของแกะที่อยู่ในครรภ์ โดยนำเซลล์ฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการต้านกระบวนการชราภาพ โดยฉีดเซลล์ไปยังอวัยวะส่วนที่เป็นโรคหรือสู่ร่างกายผู้ที่เริ่มชราลง เพื่อเร่งปฏิกิริยาการปรับปรุงระบบสร้างภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นการฟื้นฟูตนเองและก่อเกิดพลังงานให้สดใสมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น การบำบัดวิธีนี้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า การรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ดีที่สุด ก็คือการใช้เนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิตอยู่ ในการเสริมสร้างและเพิ่มพลังชีวิตให้กับผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้น ซึ่งสาเหตุที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาการแพทย์ชีวโมเลกุลต่อยอดจาก Live Cell Therapy เนื่องจากด้วยวิธี Live Cell Therapy นับว่ายุ่งยากมากและต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมาก จนคนธรรมดาไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ เพราะเซลล์ทุกเซลล์ต้องผ่านการควบคุมคุณภาพจากรัฐบาลว่าปกติและปลอดภัยจากเชื้อ ตามาตรฐานของ Transplantation ทุกประการ อย่างไรก็ตามการรักษาด้วย Live Cell Therapy บางครั้งย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ หรือเกิดอาการแทรกซ้อน รวมทั้งเซลล์สดนั้น ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน อย่างมากเซลล์จะเสียในระยะเวลาเพียง 2 ชั่วโมง การควบคุมเวลาในการรักษาจึงเป็นไปได้ยาก
ทั้งนี้การรักษาด้วย Live Cell Therapy หรือ Fresh Cell นั้น มีข้อจำกัดดังนี้
• ผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง มีความผิดปกติในระบบการไหลเวียนโลหิต เป็นโรคไตระดับรุนแรงหรือมีอากรป่วยหนัก
• ผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่สามารถเข้ารับการบำบัด Fresh Cell Therapy
• ผู้ป่วยโรคอ้วนขั้นรุนแรง ก็ไม่สามารถรับการบำบัด Fresh Cell Therapy ได้ เนื่องจากมีเนื้อเยื่อไขมันมากเกินไป จนไม่สามารถฉีดเซลล์เข้าไปยังบริเวณกล้ามเนื้อได้
Biomolecular Therapy
การแพทย์ชีวโมเลกุล เป็นการใช้เซลล์จากอวัยวะของสัตว์ ช่วยส่งเสริมกระบวนการแบ่งตัว ชดเชยเซลล์ที่ตายไปแล้ว สามารถช่วยรักษาโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมทั้งหลาย ไม่มีผลข้างเคียง ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์และสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ใช้ร่วมกับยาอื่นๆ ได้โดยไม่อันตราย (No Contraindication) ไม่เกิดการสะสมในร่างกายหลักการของแพทย์ชีวโมเลกุล คือ การซ่อมแซมเซลล์ด้วย Xenogenic Peptide ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ภายใน ไซโตรพลาสซิม (Cytoplasm) ของเซลล์ (น้ำในเซลล์) กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า “เป็นการรักษาโรคที่ต้นเหตุ คือ การซ่อมแซมของเซลล์ที่เสื่อมสภาพด้วยการใช้สารชีวโมเลกุล ที่สกัดจากอวัยวะของสัตว์ นำมาซ่อมแซมเซลล์อวัยวะเดียวกันกับของมนุษย์ โดยทฤษฎีนี้เรียกว่า เซลล์ซ่อมเซลล์
Cell ต่างๆ ในร่างกายมนุษย์มีการแบ่งตัวเพื่อสร้าง Cell ใหม่ทดแทนอยู่ตลอดเวลา โดยอาศัย Cell เก่าเป็นต้นแบบ โครงสร้างโมเลกุลที่อยู๋ภายในเซลล์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ หากจะเปรียบเทียบการซ่อมแซมเซลล์กับการปั้มตรายาง คุณภาพของงานพิมพ์ตรายางจะขึ้นอยู่กับ 2 ส่วน คือ ตรายาง กับแป้นหมึก หากตรายากเสียหายไปจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือความชรา ก็ย่อทำให้งานพิมพ์ออกมามีความบกพร่อง หรือแม้ตรายางปกติดี แต่แป้นหมึกแห้งก็ย่อมจะทำให้งานพิมพ์ตรายางนั้นด้อยคุณภาพ
Biomolecular Therapy ได้รับการพิสูจน์จากห้องปฏิบัติการมาแล้วนับไม่ถ้วน ว่าช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอและเสียหายให้ดีขึ้น เปรียบเหมือนกับทำให้ตรายางและแป้นหมึกมีคุณภาพดีขึ้นใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่า ตามปกติวงจรชีวิตของเซลล์มนุษย์ทั่วไป มีการแบ่งตัวราว 50-60 ครั้ง Biomolecular therapy ช่วยเพิ่มการแบ่งตัวของ Human Cell มากเพิ่มขึ้นไปกว่าเดิมอีก 4-6 ครั้ง ซึ่งก็หมายความว่าทำให้อายุมนุษย์ยืนยาวขึ้นและแข็งแรงขึ้น
ขั้นตอนการทำงานของเซลล์บำบัด
ระยะการทำงานและผลของเซลล์บำบัดในแต่ละบุคคลจะแตกต่งกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านสุขภาพของแต่ละท่าน อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการบำบัดเซลล์ ได้แบ่งระยะการทำงานของเซลล์เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะขั้นที่ 1 ทันทีหลังจากการฉีดเซลล์ ส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์จะถูกดูดซึมและส่งต่อไปยังกระแสเลือด ผลลัพธ์ที่ได้จากากรฉีดเซลล์นี้จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ทำให้รู้สึกสดชื่น มีกำลังมากขึ้น กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล
ระยะขั้นที่ 2 ประมาณ 2 สัปดาห์หลังฉีดเซลล์ เป็นระยะของการแยกแยะกลุ่มเซลล์ โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะมีการปรับตัว ซึ่งระยะนี้อาจส่งผลให้บางคนมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีอารมณ์ ไม่คงที่ชั่วคราว
ระยะขั้นที่ 3 ระยะการเกิดใหม่ของเซลล์ ซึ่งจะเริ่มในระหว่างสัปดาห์ที่ 3 และ 4 และต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง 4-6 เดือน ระยะนี้จะเกิดการสร้างเซลล์ใหม่และการซ่อมแซมเซลล์ ทำให้อวัยวะในร่างกายได้รับการกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมด้วยตัวเอง ส่งผลให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรงขึ้น ระบบการไหลเวียนโลหิตดี ผิวพรรณสดใส โดยเฉพาะในบุคคลที่ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยของร่างกาย แต่เข้ารับการบำบัดเพื่อจุดประสงค์ในการฟื้นฟู บำรุงสุขภาพ จะทำให้มีความเป็นหนุ่มเป็นสาว กระฉับกระเฉงมากขึ้น ในบุคคลที่มีความเจ็บป่วย และได้รับการบำบัดอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ระยะนี้ก็จะเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น ระบบการทำงานของร่งกายจะดีขึ้น ซึ่งในระยะนี้ควรได้รับประทานอาหาร และอาหารเสริมบำรุงสุขภาพอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด เพื่อช่วยในการซ่อมแซมและบำรุงเซลล์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลลัพธ์ที่ได้
ผู้เข้ารับการรักษาจะเห็นผลที่ชัดเจนได้ภายในสัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 หลังจากได้รับเซลล์เข้าสู่ร่างกายเริ่มจากความรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้น สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ระบบเผาผลาญและระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ผิวพรรณดูเปล่งปลั่ง และริ้วรอยแลดูลดเลือนลง ทั้งยังช่วยเสริมสร้างพลังให้กับจิตใจและรู้สึกมีกำลังใจเข้มแข็งยิ่งขึ้น ในกรณีที่ใช้การบำบัดเพื่อการรักษาโรคจะพบว่าอวัยวะที่เกิดรคนั้นมีการทำงานในแง่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ผลที่ได้จากการบำบัด นั้นจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ และระยะเวลาการคงอยู่ ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของคนไข้การรับประทานอาหาร วิตามินและอาหารเสริม สภาพแวดล้อมและการดูแลร่างกายอย่างต่อเนื่องด้วย
การรักษาโดยเซลล์บำบัดนี้ถือว่าเป็นการรักษาที่ต้นเหตุอย่างตรงจุด การซ่อมแซม ส่งเสริม รวมถึงเสริมสร้างเซลล์ในร่างกายให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ถือเป็นการย้อนคืนช่วงเวลาในชีวิตแบบองค์รวม กล่าวคือ เมื่อระบบภายในทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายนอกเองก็ย่อมดีขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ในการรักษาด้วยเซลล์บำบัดอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีจุดประสงค์เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสได้เข้าถึงแพทย์ทางเลือกวิธีนี้ ก็อาจเป็นไปได้ว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาจะลดลง
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกลไกในร่างกายที่น่าอัศจรรย์ กลไกนี้ประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ และในแต่ละอวัยวะก็ประกอบไปด้วยเซลล์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เล็กที่สุด ทั้งนิ้เมื่อเซลล์เสื่อมสภาพลง อวัยวะนั้นๆ ก็เสื่อมสภาพลงตามไปด้วย ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้จนก่อให้เกิดเป็นโรคขึ้น การแพทย์ชีวโมเลกุล จึงมีหน้าที่ช่วยฟื้นฟูเซลล์อวัยวะเดียวกันของมนุษย์ตามหลักทฤษฎี “เซลล์ซ่อมเซลล์” โดยเป็นการรักษาที่ต้นเหตุและเป็นการรักษาโดยฟื้นฟูร่างกายทั้งระบบ นับว่าเป็นการแพทย์ที่สามารถช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง
อ.พรรณทิพา วัชโรบล
ประธานศูนย์ชีวโมเลกุลแห่งเอเชีย
(Some images used under license from Shutterstock.com.)