Haijai.com


ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคมะเร็ง


 
เปิดอ่าน 2604

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคมะเร็ง

 

 

มะเร็ง เป็นโรคร้ายแรง ที่คร่าชีวิตคนไทยชนิดหนึ่ง โรคนี้เป็นได้ทั้งในสัตว์และมนุษย์ทุกชนทุกชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ ทุกวัย และทุกฐานะ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในป่า หรือในเมืองทุกประเทศ ทุกทวีปในส่วนต่างๆ ของโลกก็มีโอกาสเป็นมะเร็งได้เหมือนกัน ผิดกันแต่ตำแหน่งของอวัยวะที่เป็นเท่านั้น มีรายงานว่าได้พบมะเร็งที่กระดูกต้นขาของมัมมี่ ที่ฝังอยู่ในพีระมิดกิเซห์ (Gizeh Pyramid)  ในสมัยปัจจุบันโรคมะเร็งกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกๆ ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา โรคมะเร็งเป็นโรคที่น่ากลัว เนื่องจากหากเป็นแล้ว จะรักษาให้หายขาดได้ยาก และเมื่อเป็นแล้วส่วนใหญ่ จะต้องเสียชีวิตทุกราย ด้วยความทุกข์ทรมาน อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งส่วนใหญ่จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น

 

 

ดร.กิลเลียน รีฟส์ นักวิจัยชาวอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ศึกษาผู้หญิงวัยกลางคนในอังกฤษราว 6,000 คน แล้วพบว่า ผู้หญิงอังกฤษเป็นมะเร็งมากขึ้นทุกปีๆ ซึ่งมากจากสาเหตุแห่งความอ้วน อีกทั้งยังพบความเชื่อมโยงระหว่า น้ำหนักกับโอกาสเสี่ยงที่เป็นมะเร็งนั้น ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของผู้หญิงอีกด้วย ทางกองทุนวิจัยมะเร็งโลก ประกาศเตือนว่าความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งมดลูก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งที่ไต มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งทรวงอก มะเร็งไขกระดูก มะเร็งที่ตับอ่อน และมะเร็งรังไข่ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า อัตราการเป็นมะเร็งทรวงอก และมะเร็งต่อมลูกหมาก มากในกลุ่มคนที่ทำงานในช่วงตอนกลางคืน

 

 

มะเร็งเกิดขึ้นได้ โดยสารพันธุกรรมหรือยีนส์ ซึ่งควบคุมการทำงานของเซลล์ผิดปกติไป โดยที่ความผิดปกติดังกล่าวเกิดมาจากสารก่อมะเร็ง อาทิ เช่น ยาสูบ ควัน รังสี สารเคมี

 

 

สารก่อมะเร็ง หมายถึง สารวัตถุนิวไคลด์ กัมมันตรังสี หรือการแผ่รังสีใดๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ธาตุกัมมันตรังสีบางชนิด ก็ถูกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น รังสีแกมมา หรืออนุภาคแอลฟา

 

 

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง

 

ทางการแพทย์เชื่อว่าพฤติกรรมการดำรงชีวิต มีส่วนสัมพันธ์ต่อปัจจัยความเสี่ยงของโรคมะเร็งเป็นอย่างมาก การรับประทานอาหาร ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างมาก

 

 

มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการดำเนินของโรค ไม่เหมือนกันยกตัวอย่าง เช่น มะเร็งสมอง มะเร็งปอด จะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่า ผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง

 

 

การป้องกันมะเร็งทำได้ไม่ยาก เราสมควรที่จะปฏิบัติตัวดังนี้

 

1.เลือกอาหารที่มาจากพืช เนื่องจากสารอาหาร วิตามินในพืชสามารถทำให้ร่างกายซ่อมแซมเซลล์ได้ดี ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังทำลายสารที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง อีกทั้งให้รับประทานอาหารพวกผักสด ให้ใช้ถั่วในการปรุงอาหารบ้าง

 

 

2.ใช้เนื้อสัตว์เพียงแค่ปรุงรสเท่านั้น ไม่ใช่อาหารหลัก ขอให้ทานพืชผักเป็นอาหารหลัก

 

 

 

3.เลือกอาหารว่างที่ทำจากพืช เช่น น้ำผลไม้ ผลไม้ต่างๆ หากรับประทานผลไม้มากเท่าใด ท่านจะได้รับสารอาหาร วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะต่อสู้กับมะเร็ง

 

 

4.รักษาน้ำหนักที่เหมาะสม และออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ท่านแข็งแรง ลดความเครียดได้ ทำให้เจริญอาหาร และการขับถ่ายดีขึ้น

 

 

5.ลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ หากไม่เคยดื่มสุราก็ไม่มีความจำเป็นต้องเริ่มดื่ม การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดมะเร็งได้หลายระบบ การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้ลดการเกิดมะเร็งได้ร้อยละ 30

 

 

6.ล้างมือ ถ้วยชาม โต๊ะ ให้สะอาดและเปลี่ยนฟองน้ำบ่อยๆ

 

 

7.อาหารบางประเภท มีสารที่ต้านอนุมูลอิสระได้สูง และป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดี เราเรียกอาหารประเภทนี้ว่า อาหารต้านมะเร็ง เช่น บร็อคโคลี่, อโวคาโด, แครอท, และกระเทียม เป็นหนึ่งในอาหารต้านมะเร็งที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป

 

 

การรักษาโรคมะเร็ง

 

ในขณะนี้ มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิดแล้ว มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่าง เช่น มะเร็งสมอง มะเร็งปอด จะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่า ผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพความอ่อนแอของร่างกาย ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้น ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง และความร้ายแรงของโรคมะเร็งอีกด้วย

 

 

สำหรับด้านการรักษาโรคมะเร็ง ได้แบ่งความรุนแรงของมะเร็ง ตามระยะของโรค โดยอาศัยการลุกลามของโรคไปเป็นระยะๆ ดังนี้

 

 

ระยะที่ 1 มะเร็งที่ยังจำกัดอยู่ เฉพาะในที่เริ่มเป็น

 

ระยะที่ 2 มะเร็งลุกลามถึงเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือลุกลามทะลุผ่านอวัยวะที่เป็นโพรง

 

ระยะที่ 3 มะเร็งได้ลุกลาม ถึงต่อมน้ำเหลือง

 

ระยะที่ 4 มะเร็งได้แพร่กระจาย ไปยังอวัยวะข้างเคียงอื่นๆ

 

 

 การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาที่ได้ทั้งการมุ่งหวังให้โรคหายขาด ในกรณีที่โรคยังเป็นน้อย และเพื่อเป็นการบรรเทาอาการชั่วคราว ในกรณีที่โรคเป็นมากแล้ว ในการผ่าตัดอาจจะตัดเอาเฉพาะก้อนมะเร็งออกเท่านั้น หรือเลาะเอาต่อมน้ำเหลือง และเนื้อเยื่อที่ดีบริเวณใกล้เคียงออกไปด้วย นอกจากจะผ่าตัด โดยใช้มีดผ่าธรรมดาแล้วในปัจจุบัน ยังได้มีการผ่าตัดด้วยมีดไฟฟ้า การผ่าตัดนอกจากจะมีบทบาทในด้านการรักษาแล้ว ยังมีบทบาทในด้านการวินิจฉัย โดยเอาชิ้นเนื้อมาตรวจอีกด้วย

 

 

 รังสีรักษา เป็นวิธีการรักษาที่ใช้ได้ทั้งการมุ่งหวังให้โรคหายขาด และเพื่อการบรรเทาอาการชั่วคราว ผู้ป่วยชาวไทยส่วนใหญ่ประมาณ 80% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด มักจะได้รับการรักษาด้วยรังสี เพราะอยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว

 

 

 การใช้สารเคมีบำบัด เป็นการรักษาในรูปของการใช้ยารักษามะเร็ง กำลังเป็นที่สนใจและมีบทบาทสำคัญ ในปัจจุบันนี้ มีมะเร็งหลายชนิดที่อาจรักษาให้หายขาดด้วยยา

 

 

 การใช้การรักษาทั้ง 3 วิธี ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นร่วมกัน

 

 

 การรักษาทางด้านจิตวิทยา การรักษาแบบนี้ เริ่มมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ป่วยมะเร็งมาก เนื่องจากเพียงแค่เรารู้ว่าเป็นมะเร็งเท่านั้น เราก็จะหมดกำลังใจเสียแล้ว ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่ ก่อนจะมารับการรักษาที่ถูกต้องนั้น มักจะหมดทั้งกำลังกาย และกำลังใจ รู้สึกอ้างว้าง รู้สึกถูกทอดทิ้ง หรือเป็นที่รังเกียจ ฉะนั้น การให้การรักษาในด้านจิตวิทยา และการกระทำใดๆ ก็ตาม ที่ทำให้ผู้ป่วยมีจิตใจสบายขึ้น ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

(Some images used under license from Shutterstock.com.)