
© 2017 Copyright - Haijai.com
การเรียนรู้และเข้าใจโลกกว้าง
การเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้ของหนูน้อยวัย 3 ปีผ่าน “การเล่นอย่างสร้างสรรค์” มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา ผู้ใหญ่ควรสนับสนุนการเรียนรู้นี้โดยการสนับสนุนให้เด็กๆ ได้เล่นอิสระอย่างสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกันการได้รับการใส่ใจ และการชมเชยจะทำให้เพิ่มประสบการณ์มากขึ้น
การสนับสนุนการเล่นอย่างสร้างสรรค์
เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่เด็กเข้าใจได้ว่าเด็กๆ สามารถเล่นได้อย่างอิสระ ภายในกรอบของความเหมาะสม ในด้านความปลอดภัย ในเด็กวัยนี้ผู้ใหญ่ควรเปิดอิสระในความคิดสร้างสรรค์ โดยไม่ควรกำหนดกรอบ เนื่องจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะไม่มีข้อกำหนดตายตัว ไม่มีผิด ถูก เด็กๆ ควรจะสร้าง ประดิษฐ์ หรือแสดงได้ตามจินตนาการ เนื่องจาก ผลลัพธ์ไม่สำคัญเท่าขบวนการของการเรียนรู้
เด็กต้องการการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ในการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ทั้งเวลา สถานที่ อุปกรณ์ ความสามารถของเด็กวัยนี้จึงต้องการโอกาสในการลองผิดลองถูก โยปราศจากการกดดันทั้งด้านเวลา และสถานที่ การชมเชยมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กสามารถเล่นอย่างสร้างสรรค์ และไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร เช่น ในงานปั้นแป้งโดว์ รูปช้างของเด็ก อาจเหมือนยีราฟ แต่ในสายตาเด็ก “มันคือช้าง”
ตัวอย่างกิจกรรมเล่นอย่างสร้างสรรค์ ที่จะส่งเสริมการจินตนาการ การเล่นนอย่างสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องประกอบไปด้วยอุปกรณ์ราคาแพง สิ่งแวดล้อมของใช้ใกล้ตัว ก็สามารถทำให้หนูๆ มีความสุขพร้อมด้วยความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ รวมทั้งความสนุกสนาน
กิจกรรมครอบครัวเล่นสนุก
“กล่องบ้านมหัศจรรย์”
• หากล่อเปล่าที่ไม่ใช้แล้วมาทำความสะอาด
• ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษสีหุ้มกล่อง
• ใช้กระดาษเขียน “กล่องบ้านมหัศจรรย์” ติดที่ด้านข้างกล่อง
• ใช้แกนกระดาษทิชชูเป็นสมาชิกครอบครัว พ่อ แม่ ลูก
• พร้อมใช้ดินสอสีเขียนหน้าตา , ตัดกระดาษทำเป็นเสื้อผ้า
• ใช้สำลีทำเป็นผม เมื่อทำเสร็จ หนูน้อยวัย 3 ขวบนี้จะได้บ้านมหัศจรรย์
การมีส่วนร่วมในการเล่นนี้ จะเสริมสร้างประสบการณ์ ประตูเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ และการกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว
(Some images used under license from Shutterstock.com.)