
© 2017 Copyright - Haijai.com
โรคไตกับคุณแม่ตั้งครรภ์
การเจ็บป่วยขณะตั้งครรภ์ ทำให้ว่าที่คุณแม่ในหลายๆ ครอบครัวต้องกังวลใจกันอยู่ไม่น้อย กับความปลอดภัยที่น่าเป็นห่วงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตัวคุณแม่เอง และก็ทารกตัวน้อยในครรภ์ ความกังวลใจ ความเครียด ต้องเกิดขึ้นอย่างมากมายกับตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์ จึงต้องเป็นหน้าที่ของทุกคนในครอบครัวที่ต้องคอยให้กำลังใจ พูดคุยกับคุณแม่ตั้งครรภ์อยู่ตลอดเวลา อย่าให้รู้สึกว่าตัวเองต้องอยู่คนเดียว ต้องเผชิญปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นอยู่คนเดียว โดยเฉพาะคุณสามียิ่งต้องให้ความดูแลเอาใจใส่ ให้กำลังใจ โอบกอด สัมผสเบาๆ ให้รู้ว่ารักทั้งแม่และลูก เพื่อที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะได้มีกำลังใจที่จะผ่านพ้นอุปสรรคที่เกิดขึ้นไปได้ด้วยแรงใจที่เข้มแข็ง
ทำอย่างไรเมื่อคุณรู้สึกปวดหลังมากจนผิดสังเกต ทั้งๆ ที่ก็ไม่ได้นั่งผิดท่า หรือก้มๆ เหงยๆ ในท่าที่ผิด หากมีอาการปวดหลังมากจนผิดสังเกต อย่าปล่อยไว้แล้วคิดว่าอาการปวดหลังจะหลายไปเองเพราะ อาการปวดหลังอาจนำมาซึ่ง โรคไต ได้คะ กรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือบริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
อาการของโรคไต
• ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะออกน้อย
• ปัสสาวะเป็นฟอง หรือเป็นสีขาวขุ่นจากการที่มีโปรตีนรั่วออกมา
• ปวดหลังพร้อมกับมีไข้ มักเกิดจากกรวยไตอักเสบ
• บวม โดยเฉพาะที่หนังตา หน้า หรือในบางคนก็อาจบวมทั้งตัว
• ความดันโลหิตสูง
• โลหิตจาง
• อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน
โรคไตมีผลกับการตั้งครรภ์อย่างไร
• ในคนที่เปลี่ยนไตและรับประทานยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยานั้นอาจมีผลทำให้ทารกพิการ
• โรคไตอาจทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความดันโลหิตสูง บวม ตับทำงานไม่ปกติ จนเกิดกลุ่มอาการ HELLP ซึ่งอาจรุนแรงจนทำให้มารดา และทารกในครรภ์เสียชีวิต
• ในคนหญิงตั้งครรภ์ที่ไตเสื่อม ค่าครีอะตินิน (Creatinine) ยิ่งสูงยิ่งเกิดปัญหากับมารดาและทารก
• ค่าครีอะตินินนี้วัดได้โดยการตรวจเลือด แสดงถึงการทำงานของไต โดยมีค่าปกติ 0.5-1 mg/dl ในผู้หญิง
• หากหญิงตั้งครรภ์ที่ไตเสื่อมมีค่าครีอะตินินมากกว่า 1.4 mg/dl จะมีโอกาสคลอดลูกก่อนกำหนด เป็นทารกน้ำหนักน้อย หรือทารกในครรภ์เติบโตช้า มากกว่าคนทั่วไปที่การทำงานของไตปกติถึง 6 เท่า
• หากหญิงตั้งครรภ์ที่ไตเสื่อมมีค่าครีอะตินินมากกว่า 3 mg/dl ทารกแทบไม่มีโอกาสรอดชีวิตเลย
(ผู้หญิงที่มีภาวะเป็นโรคไต และพบว่าไตเสื่อมไม่ควรเสี่ยงตั้งครรภ์)
เรื่องน่ารู้
ในผู้หญิงที่เตรียมตัวจะตั้งครรภ์ ก่อนอื่นควรที่จะไปพบคุณหมอ เพื่อให้ตรวจร่างกายก่อนว่ามีกลุ่มอาการของโรคใดแทรกซ้อนอยู่บ้างหรือเปล่า เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์ ส่วนในกรณีที่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นก่อนที่จะไปให้คุณหมอตรวจนั้น เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ในขั้นต้นก็ต้องรีบไปฝากครรภ์กับคุณหมอทันที เพื่อที่คุณหมอจะได้ตรวจความสมบูรณ์ของทารก และจัดวิตามินบำรุงครรภ์มาให้ทาน ที่สำคัญคุณหมอจะแนะนำวิธีดูแลครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรงทั้งตัวคุณแม่และก็ทารกในครรภ์ให้ด้วยค่ะ (คำแนะเกี่ยวกับการทานอาหารสำหรับผู้เป็นโรคไต
กินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลต่ำ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอล ในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม / วัน ด้วยการจำกัดอาหาร ที่มีคอเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น
พ.ญ.ชัญวลี ศรีสุโข
(Some images used under license from Shutterstock.com.)