
© 2017 Copyright - Haijai.com
ปัสสาวะเล็ด เมื่อเป็นก็รักษาได้
“ปัสสาวะเล็ด” ปัญหาที่พบบ่อยในผู้หญิง แม้ว่าอาการนี้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ได้สร้างความรำคาญใจแก่ผู้ที่เป็นด้วยกันทั้งนั้น บางรายถึงขึ้นเกิดความเครียดกังวล จนไม่เป็นอันทำอะไรเลยก็มี ภาวะอาการเช่นนี้ได้ทำร้ายคุณผู้หญิงจนต้องปลีกตัวออกจากสังคม เพราะความอับอายไม่กล้าไปทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ เพราะเกรงว่าจะเป็นตัวตลกให้ผู้คนนินทา แม้ว่าบางรายจะต้องใช้ผ้าอนามัย หรือแผ่นรองซับอื่นๆ แต่แน่นอนต้องเปลี่ยนบ่อยครั้ง เนื่องจากมีกลิ่นที่รุนแรง หลายท่านต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ
ขบวนการทำงานของกระเพาะปัสสาวะปกติ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายส้างน้ำปัสสาวะเกิดขึ้นและไหลเข้าไปเก็บกักไว้ในกระเพาะปัสสาวะ กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะจะคลายและยืดออกเพื่อรองรับน้ำปัสสาวะ จนเมื่อมีปริมาณน้ำปัสสาวะที่เก็บกักไว้มากระดับหนึ่ง จึงเริ่มรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะขึ้น และเมื่อความรู้สึกนี้เพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่เหมาะสม สมองจะส่งสัญญาณมาสั่งกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะให้หดตัว พร้อมๆ กับสั่งหูรูดท่อปัสสาวะให้คลายตัว เพื่อให้น้ำปัสสาวะไหลออกมา โดยปกติร่างกายต้องมีการขับถ่ายปัสสาวะประมาณ 4-7 ครั้งในตอนกลางวัน และ 1-2 ครั้งในตอนกลางคืน
ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะได้รับการพยุงโดยกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกราน ซึ่งจะหดตัวขณะไอ จาม และออกกำลังกาย เพื่อป้องกันปัสสาวะไหลออกมา
คำถามคือ ภาวะอาการนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร “ปัสสาวะเล็ด” หรือช้ำรั่วคือการที่ท่อปัสสาวะเป็นท่อที่ระบายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ ด้วยสภาพที่ตัวท่อปัสสาวะอาจจะหย่อนลงได้เช่นเดียวกับกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งลักษณะอาการปัสสาวะเล็ด สามารถแบ่งออกได้ 4 ประการ คือ
1.ปวดปัสสาวะแบบรุนแรงแล้วก็ไม่ยอมเข้าห้องน้ำ ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลาก็จะราดออกมาเลย สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาพบมาในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน
2.มีอาการปัสสาวะราดออกมาเลย เมื่อมีการเพิ่มความดันในช่องท้อง คือ ไอ หรือจาม คนที่พบในกลุ่มนี้จะเป็นผู้หญิงที่มีอายุ น้ำหนักมาก แล้วเคยมีประวัติการคลอดยา หรือเคยผ่าตัดบริเวณรอบท่อปัสสาวะมาก่อน หรือในกลุ่มคนที่เคยฉายรังสีในบริเวณนั้นมา กลุ่มนี้จะรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
3.กลุ่มนี้จะมีอาการทั้งสองประเภท คือ กลั้นปัสสาวะไว้นานอย่างรุนแรงและเคยมีการผ่าตัด
4.พบในกลุ่มผู้ชาย ที่มีอาการต่อมลูกหมากโต รุนแรง หากท่านผู้ชายใดที่มีอาการ ไอ จาม แล้วปัสสาวะเล็ด สามารถระบุได้เบื้องต้นว่าอาจมีภาวะต่อมลูกหมากโต ทั้งจากการศึกษาเกี่ยวกับภาวะอาการนี้ พบว่า เกิดจากการยืดหย่อนหรือมีการฉีกขาดของอวัยวะที่ช่วยยืดและพยุงท่อปัสสาวะส่วนต้น ส่งผลให้ท่อปัสสาวะส่วนนั้นหย่อนต่ำลงมา จนไม่สามารถจะต้านทานความดันในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีการเพิ่มความดันในช่องท้อง
ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการยืดหย่อนคือ
1.การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร โดยเฉพาะจำนวนครั้งของการคลอดบุตรจะมีความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าจะคลอดวิธีธรรมชาติ หรือการผ่าคลอดล้วนมีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น เพราะการตั้งครรภ์ก็ส่งผลให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานต้องรับน้ำหนักของเด็กตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
2.อายุ พบทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ จะเกิดทั้งภาวะไอ จาม ปัสสาวะเล็ด และมีปัสสาวะราด กลั้นไม่ได้เมื่อมีอาการปวดปัสสาวะ
3.ความอ้วน เนื่องจากเพิ่มน้ำหนักและแรงดันในช่องท้อง และแรงดันในกระเพาะปัสสาวะ
4.ในผู้หญิงที่ตัดมดลูกและหมดประจำเดือน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน มีผลทำให้เนื้อเยื่อที่พยุงระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะในอุ้งเชิงกรานฝ่อลง
5.ในรายที่มีเพศสัมพันธ์แบบพิศดา
ปัสสาวะเล็ด เมื่อเป็นแล้วสามารถแก้ไขได้
เมื่อเกิดภาวะปัสสาวะเล็ด สิ่งที่ควรทำคือรับการตรวจจากสูติแพทย์ เพื่อหาต้นเหตุของอาการที่แน่นอน เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ถ้าปล่อยไว้อาจกัดเนื้อเยื่อจนเป็นแผล มีกลิ่นเหม็ดและคัน และอาจมีการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ สำหรับวิธีการรักษา ในรายที่มีอาการไม่มากนัก สามารถแก้ไขด้วย
1.การขมิบช่องคลอด เพื่อให้กล้ามเนื้อช่องคลอดและท่อปัสสาวะแข็งแรงขึ้น ก็สามารถทำได้ แต่เห็นผลค่อนข้างช้าและต้องทำเป็นประจำ วิธีการ คือ สามารถขมิบช่องคลอดได้ในทุกอริยาบถ ซึ่งการขมิบที่ถูกต้องต้องขมิบ เฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานเท่านั้น คล้ายกับเวลากลั้นอุจจาระ หรือปัสสาวะ โดยไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องหรือต้นขาร่วมด้วย ขมิบแต่ละครั้งทำค้างไว้ 10-20 วินาที แล้วคลายออกในเวลาเท่ากัน แล้วจึงเริ่มขมิบใหม่สามารถทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ โดยระยะแรกอาจทำเพียงน้อยครั้งแล้วจึงเพิ่มขึ้นทั้งระยะเวลาและความถี่เมื่อชำนาญมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากท่านไม่แน่ใจว่าจะขมิบได้ถูกต้องหรือไม่ สามารถปรึกษาแพทย์ได้ แต่ทั้งนี้จากสถิติมีจำนวนคนไข้น้อยมากที่สามารถรักษาด้วยวิธีการนี้
2.การรับประทานยา เช่น ยายาแอนติโคลิเนอจิก ช่วยในการบีบตัวของกล้ามเนื้อบริเวณท่อปัสสาวะ ยาลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหูรูดที่ช่วยสนับสนุนกระเพาะปัสสาวะอยู่ โดยจะช่วยลดอาการปวดปัสสาวะและความถี่ในการถ่ายปัสสาวะ อย่างไรก็ดียาชนิดนี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้ปากแห้ง มองเห็นภาพเบลอ และมีอาการท้องผูกแต่ถ้าในรายที่มีอาการค่อนข้างมาก นอกจากนี้อาจรวมถึงการใช้ ยา Fesoterodine ยา Tolterodine และ ยา Oxybutynin
3.ฉีดโบท็อกซ์ จำนวนเล็กน้อยที่กระเพาะปัสสาวะ โดยโบท็อกซ์เข้าไปจะไปทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่หด บีบตัวมากเกินไป ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ต้องรีบถ่ายปัสสาวะทันที แต่อย่างไรก็ตาม รักษาโยการฉีดโบท็อกก็อาจก่อให้เกิดผลข้งเคียงอันไม่ถึงประสงค์ได้ เช่น ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้จะพบปัญหาปัสสาวะลำบาก จนต้องใส่สายสวนปัสสาวะ นอกจากนี้รวมถึงยังต้องเข้ารับการฉ๊ดอยู่เสมอเนื่องจากโบท๊อกซ์อยู่ได้เพียงประมาณแค่ 6 เดือนเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องฉีดใหม่ทุกๆ 6-12 เดือน
4.การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้ หรือทำได้แต่ไม่ดีพอ การใช้กระแสไฟฟ้าขนาดต่ำไปกระตุ้นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยตรงพบว่า สามารถทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวมีความแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับการให้ผู้ป่วยบริหารอุ้งเชิงกรานด้วยตัวเอง นอกจากนี้การกระตุ้นด้วยไฟฟ้ายังมีผลโดยตรงให้กระเพาะปัสสาวะมีการคลายตัวได้ด้วย
5.การผ่าตัดแก้ไขปัสสาวะเล็ดด้วยสายคล้อง (Incontinece Sling) ก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่ของการรักษาภาวะปัสสาวะเล็ด มักเป็นการผ่าตัดใหญ่ผ่านแผลเปิดหน้าท้อง แต่ปัจจุบันรักษาด้วยการผ่าตัดที่เรียกว่า Sling procedure เป็นการผ่าตัดที่ใช้รักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence ในผู้หญิง โดยใช้เชือก (Sling) ที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่อยู่ในรูปของโบว์เส้นเล็ก หรือจากเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ท่อปัสสาวะของผู้ป่วยเอง โดยมีวัตถุประงค์ เพื่อมาใช้ทดแทนกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่เสื่อมไปและช่วยพยุงท่อปัสสาวะ
การผ่าตัดใส่สายเชือกคล้องใต้ท่อปัสสาวะส่วนกลางอย่างถาวร โดยสายเชือกนี้จะทำหน้าที่พยุงท่อปัสสาวะไว้ขณะที่ผู้ป่วยไอ จามหรือออกกำลังกาย เป็นการผ่าตัดทางช่องคลอดโดยการกรีดแผลเล็กๆ ที่ผิวช่องคลอดแล้วสอดสายเชือกเข้าไปคล้องใต้ท่อปัสสาวะในตำแหน่งที่เหมาะสมซึ่งมีหลายวิธี ดังนี้
1.สายคล้องสอดหลังกระดูกหัวหน่าว (Retropublic slings) วิธีนี้สายเชือกวิ่งอยู่ด้านหลังของกระดูกหัวหน่าวและทะลุผิวหนัง 2 ตำแหน่ง เหนือกระดูกหัวหน่าว
2.สายคล้องสอดผ่านขาหนีบ (Transobturator slings) วิธีนี้สายเชือกจะผ่านออกทางผิวหนัง 2 ตำแหน่งบริเวณขาหนีบ
3.สายคล้องสอดแผลเดียว (Single incision sling) วิธีนี้สยเชือกฝังอยู่ภายในเนื้อเยื่อ โดยไม่ผ่านออกมาที่ผิวหนัง
ในสตรีที่ได้รับการผ่าตัดใส่สายคล้องใต้ท่อปัสสาวะส่วนกลางแบบสอดอยู่หลังกระดูกหัวหน่าว หรือแบบสอดผ่านขาหนีบ พบว่าร้อยละ 80-90 จะมีอาการปัสสาวะเล็ดขณะออกแรงหายขาดหรือดีขึ้นหลังผ่าตัด ส่วนใหญ่ของสตรีที่ได้รับการผ่าตัดใส่สายคล้องใต้ท่อปัสสาวะส่วนกลางจะฟื้นตัวกลับเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์หลังการผ่าตัด บางรายอาจมีอาการเจ็บหรือเคืองๆ ที่บริเวณขาหนีบในระยะ 2 สัปดาห์แรก มีน้อยรายที่อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดได้ในระยะ 7-10 วันหลังผ่าตัดได้
“อันตรายของโรคนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดอาการปัสสาวะเล็ดในบางรายเกิดจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวผิดปกติ โดยไม่พบสาเหตุชัดเจน แต่บางรายอาการปัสสาวะเล็ด ในที่พบอาจเกิดจากมีนิ่ว หรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ ที่ไม่ได้รับการตรวจรักษาก็เป็นได้ จึงจำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบท่อปัสสาวะโดยตรงในส่วนวิธีการป้องกัน ปัสสาวะเล็ด ไม่มีการป้องกันโดยตรงแต่จะเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดมากกว่า เช่น การควบคุมน้ำหนัก การเตรียมการคลอดที่ดี และหากอาการช้ำรั่วที่เกิดขึ้น ยังมีอาการไม่มากนัก การหัดฝึกขมิบอย่างถูกวิธี และสม่ำเสมอก็จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดในส่วนของวิธีการรักษาปัสสาวะเล็ดนั้นมีอยู่หลายวิธี ซึ่งผู้ป่วยสามารถพิจารณาเลือกรักษาตามความเหมาะสม อย่างไรก็ดีวิธีรักษาที่ดีที่สุดก็คือการป้องกัน โดยไม่กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ หรือนานเกินไป และออกกำลังอุ้งเชิงกรานเป็นประจำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงเพียงเท่านี้ อาการปัสสาวะเล็ดก็จะไม่มากวนใจคุณผู้หญิงทั้งหลายแล้ว”
พญ.อุมาพร นวลไธสง
ศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปัสสาวะ
(Some images used under license from Shutterstock.com.)