
© 2017 Copyright - Haijai.com
ภาษาและการสื่อสารของเด็กวัย 3 ขวบ
• เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว เด็กจะเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จากการที่ได้ยินจากผู้ใหญ่รอบข้าง จากการได้ฟังนิทาน เรื่องเล่าต่างๆ เช่น หนูน้ำฝนอุทานออกมาว่า “แม่อกอีแป้นจะแตก” พอคุณแม่ถามว่าหนูไปเอาคำนี้มาจากไหนจ๊ะหลังจากตกใจกับคำอุทานนี้ “คุณยาย พูดเมื่อเช้านี้คะ”
• เรียนรู้คำเชื่อมต่อประโยคต่างๆ เช่น เพราะ / ถ้า เด็กวัยนี้ยังเรียนรู้ ตัวเลข คำศัพท์ที่เกี่ยวกับอารมณ์ คำเรียกสิ่งของ สัตว์ เป็นต้น เด็กเรียนรู้เรื่องสี ความสัมพันธ์ด้านขนาด รูปร่าง เช่น อันนี้ยาวกว่า เล็กกว่า
• เริ่มเรียนรู้ประโยคที่ยาวและลึกซึ้งมากขึ้น และสามารถสื่อสารความคิดเห็นส่วนตัวได้มากขึ้นเช่น “หนูไม่ชอบเสื้อตัวนี้เพราะแขนมันสั้น”
• ตั้งประโยคคำถาม มักมีคำถามต่างๆ เช่น ทำไม อย่างไร หนูน้อยจำมัยนี้ ต้องการข้อมูล คำตอบเพื่อให้หายคลายข้อข้องใจ ฉะนั้นคุณพ่อ คุณแม่ และผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กวัยนี้ ต้องเตรียมตัวกันให้ดีนะคะ จะได้เตรียมตอบคำถามเพื่อให้หนูน้อยได้หายสงสัย ในกรณีที่คุณอาจจนมุมต่อคำถาม ที่คุณเองอาจไม่รู้ หรือลืมเลือนไปบ้าง แทนที่จะตอบว่าไม่รู้ อาจตอบลูกว่า “ตอบนี้คุณแม่ไม่มีคำตอบ ขอเวลาแม่ไปหาข้อมูลมาให้นะคะ” เพื่อให้คุณมีเวลาในการค้นคว้า เพื่อจะสามารถกลับมาพร้อมคำตอบและตั้งรับกับคำถามต่อไป ในเด็กบางคน อาจมีข้อมูลอยู่แล้วกับคำถามต่างๆ เพียงแต่อาจต้องการข้อมูลเพื่อความแน่ใจของตนเอง คุณอาจตั้งคำถามกลับเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้แสดงความคิดเห็นเช่น “ลูกคิดว่าอย่างไรละจ๊ะ” อีกทั้งยังเปิดโอกาสและเวลาให้คุณได้คิด หา คำตอบให้แก่ลูกได้ค่ะ
• นักต่อรองตัวยง หนูน้อยวัยนี้ เริ่มมีความสามารถในการเจรจาต่อรองกิจกรรมต่างๆ กับผู้ใหญ่ และเพื่อนวัยเดียวกัน เช่น สามารถต่อรองกันเองได้ว่า ใครจะเป็นคนได้เล่นก่อน
เมื่อลูกตั้งคำถามที่ยาก แปลกใหม่ การที่ผู้ใหญ่ถามกลับไปยังลูก ถึงสาเหตุของการตั้งคำถามนั้นๆ หรือที่มาของคำถามนั้นเช่น “ทำให้หนูถึงอยากรู้เรื่องนี้จ๊ะ” เป็นโอกาสในการที่ผู้ใหญ่สามารถที่จะรับรู้ได้ว่า เด็กมีความสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ ซึ่งทำให้สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือสนับสนุนเพื่อให้ลูกได้เรียนรู้มายิ่งขึ้น
(Some images used under license from Shutterstock.com.)